X

จังหวัดแพร่ ผลักดันเกษตรอินทรีย์ ก้าวสู่เมืองอาหารสะอาดปลอดเคมี

เปิดสินค้าติดตลาด ห้อมต้นไม้ย้อมสียาท้องถิ่น ส้มเขียวหวาน ผัก ใช้อำเภอวังชิ้นสร้างพื้นที่อินทรีย์ทั้งพืชและสัตว์เลี้ยงตัวแบบ ก่อนพัฒนาครอบคลุม 8 อำเภอในปี พ.ศ. 2564- 2565


นางกานต์เปรมปรีย์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เข้าเยี่ยมชมพื้นที่อาสาสมัครภาคประชาชนพัฒนาพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ที่วัดสัมฤทธิ์บุญ ต.แม่ป้าก อ.วังชิ้น จ.แพร่ แปลงเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรต้นแบบปลูกส้มอินทรีย์ในอำเภอวังชิ้น พร้อมทั้งศูนย์เรียนรู้แปรรูปผลิตภัณฑ์จาก “ต้นห้อม” ที่บ้านวังกวาง ต.แม่พุง อ.วังชิ้น จ.แพร่ เพื่อดูความพร้อมการทำงานของคณะทำงานพัฒนาพื้นที่เกษตรอินทรีย์จังหวัดแพร่ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทุกหน่วยในจังหวัด พาณิชย์จังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ป่าไม้ โดยมีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เป็นหน่วยงานทางวิชาการจัดระบบกำกับการทำงานเพื่อให้งานพัฒนาพื้นที่เกษตรอินทรีย์จังหวัดแพร่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


กลุ่มเกษตรกรในอำเภอเมือง นำผู้นำเกษตรกรในต.ช่อแฮ ต.ป่าแดง อ.เมือง จ.แพร่ อบรมทำปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมัก และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับพืชที่พัฒนาจากวัสดุอินทรีย์เสริมทักษะให้กับเกษตรกรรอการพัฒนาที่จะเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2564


นางอัมราพร มุ้งทอง ประธานสตรีจังหวัดแพร่ กล่าวว่า กิจกรรมพัฒนาเกษตรกรเข้าสู่การทำการเกษตรแบบอินทรีย์ถือเป็นสิ่งสำคัญ ในจังหวัดแพร่มีการวางแผนทำงานทุกอำเภอโดยมีอำเภอวังชิ้นเป็นพื้นที่นำร่อง ตัวแบบการพัฒนา ในส่วนของอำเภอเมืองได้มีการสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย และพัฒนาศูนย์เรียนรู้ที่ตำบลป่าแดง เป็นจุดพัฒนาความรู้เกษตรอินทรีย์ที่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ มาร่วมกันพัฒนาตัวเกษตรกรเตรียมความพร้อมรองรับนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ต่อไป
นางกานต์เปรมปรีย์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ กล่าวว่า พื้นที่จังหวัดแพร่ กำลังเข้าสู่เมืองผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ สิ่งที่สำคัญคืออาหาร รวมไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจตามยุทธศาสตร์จังหวัด ถือเป็นประเด็นสำคัญที่มีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ภายใต้เมืองสุขภาพวะผู้สูงวัย โดยมีการจัดการที่ดินเกษตรกรที่ต้องการปรับเปลี่ยนให้ได้มาตรฐานอินทรีย์ ซึ่งจะมีการแบ่งพื้นที่แพร่ออกเป็น 4 โซน คือ1. กลุ่มลุ่มน้ำยมตอนบน คือ อ.สอง อ.หนองม่วงไข่ และ อ.ร้องกวาง 2.กลุ่มลุ่มน้ำยมตะวันออก คือ อ.เมือง อ.สูงเม่น และ อ.เด่นชัย 3.กลุ่มลุ่มน้ำยมตะวันตกคือ อ.ลอง และ 4.กลุ่มลุ่มน้ำยมตอนใต้ของจังหวัดคือ อ.วังชิ้น โดยได้กำหนดให้พื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนใต้คืออ.วังชิ้น เป็นพื้นที่ตัวแบบพัฒนาก่อนขยายผลออกไปตามพื้นที่เป้าหมาย มีการพัฒนาแนวคิดเกษตรกร ชนิดของพืชและสัตว์ที่เหมาะสมและเป็นที่ต้องการของตลาด โดยจะใช้ภูมิปัญญาและนิเวศน์วัฒนธรรมเป็นจุดขายนำร่อง คือ การขยายการปลูกห้อม ซึ่งเป็นทั้งพืชย้อมสี อาหาร และ ยาที่รู้จักกันทั่วประเทศและมีชื่อเสียงไปในต่างประเทศแล้วคือ ต้นห้อม ที่นำมาทำผลิตภัณฑ์ห้อมห้อมเมืองแพร่ ห้อมจะเป็นตัวชี้วัดความชุ่มชื้น ความสะอาดและปลอดสารเคมี โดยมีผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในพื้นที่เกษตรอินทรีย์ คือ ส้มเขียวหวาน กาแฟ ผัก ผลไม้อื่นๆ ข้าว ปลา โค กระบือ สุกรพื้นเมืองและสมุนไพรพัฒนายาด้วยระบบชีวภัณฑ์สำหรับพืชและสัตว์ไปพร้อมๆ กัน สิ่งสำคัญที่จะทำให้พัฒนาโครงการไปได้คือการพัฒนาองค์กรเกษตรกรให้เกิดความเข้มแข็งและสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าอินทรีย์

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน