X

ขอคืนพื้นที่อีกระลอก ยึดได้ส่งให้ป่าชุมชน

จังหวัดแพร่สนธิกำลังทวงคืนผืนป่าระลอกใหม่ใน จ.แพร่

เปิดยุทธการทวงคืนพื้นป่าของจังหวัดแพร่ คำสั่งบูรณาการ ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ตำรวจสืบสวน จ.แพร่ กำนันผู้ใหญ่บ้าน ยึดพื้นที่เพื่อมอบเป็นป่าชุมชน หวังชาวบ้านดูแล

เวลา 10.00 น. ของวันที่ 8 สิงหาคม 2561 จังหวัดแพร่เปิดยุทธการทวงคืนผืนป่า อำนวยการโดยนายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่/นายโชคดี อมรวัฒน์,นายนิพันธ์ บุญหลวง รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่,พ.อ.ชินทัศ หมวกละมัย รอง ผอ.รมน.จ.แพร่ (ท.),นายวิเชียร อนุสาสนนันท์ ปลัดจังหวัดแพร่,นายทรงฤทธิ์ แก้วสุทธิ นายอำเภอเมืองแพร่ มอบหมายให้นายนิกร ยะกะจาย ป้องกันจังหวัดแพร่ จัดชุดศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดแพร่/ชุดปฏิบัติการพิเศษฝ่ายปกครองจังหวัดแพร่ นำโดยสิบเอกพนม สมนึก ผู้ช่วยป้องกันจังหวัดแพร่/จนท.กอ.รมน.จ.แพร่,นายดำรงค์ เจริญจิตต์ ปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคงอำเภอเมืองแพร่,สมาชิก อส.ร้อย.บก.บร.อส.จ.แพร่/สมาชิก อส.อ.เมืองแพร่ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้,เจ้าหน้าที่ตำรวจ,เจ้าหน้าที่ทหาร,เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวน จ.แพร่ นายภาสกร หม้อกรอง กำนันตำบลบ้านถิ่น/ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ต.บ้านถิ่น อ.เมืองแพร่ เข้าตรวจสอบข้อร้องเรียนกรณีการบุกรุกแผ้วถางตัดไม้บริเวณป่าห้วยร่องฮ่าง ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่เติ๊ก ป่าแม่ถาง และป่าแม่กำปอง หมู่ที่ 2 ต.บ้านถิ่น อ.เมืองแพร่ จ.แพร่

กรณีดังกล่าวได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่ว่า มีการบุกรุกแผ้วถางตัดไม้บริเวณป่าห้วยร่องฮ่าง ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่เติ๊ก ป่าแม่ถาง และป่าแม่กำปอง หมู่ที่ 2 ต.บ้านถิ่น อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ ทางจังหวัดแพร่ให้บูรณาการกำลังทุกภาคส่วน เข้าตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าว พื้นที่ถูกบุกรุกแผ้วถางป่า พบมีการตัดฟันไม้ออกไปเพื่อทำเป็นพื้นที่เกษตรกรรมจำนวน 10 ไร่ 2 งาน 67 ตารางวา คิดค่าเสียหายของรัฐ 727,483.38 บาท มีไม้กระยาเลย (ไม้เต็ง) จำนวน 30 ท่อน ปริมาตร 0.91 ลบ.ม. ค่าเสียหายของรัฐ 15,925 บาท

ขณะเจ้าหน้าที่ฯ เข้าทำการตรวจยึดไม่พบผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการตัดไม้แผ้วถางแต่อย่างใด จึงได้นำของกลางไม้กระยาเลย(ไม้เต็ง)เก็บรักษาไว้ที่หน่วยป้องกันรักษาป่า ที่ พร.9(ช่อแฮ) พร้อมกับส่งพนักงานสอบสวน สภ.ห้วยม้า เพื่อดำเนินสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจับกุมยึดพื้นที่ป่าในครั้งนี้ ทางราชการมีแนวทางใหม่ โดยการ รังวัดกำหนดจุดพิกัด พื้นที่ทำลายป่า แล้วส่งมอบ ให้กับ คณะกรรมการ ป่าชุมชน ในพื้นที่ เพื่อจัดการฟื้นฟูให้เป็นป่าชุมชนต่อไป ซึ่งที่ผ่านมา การยึดพื้นที่เจ้าหน้าที่ ไม่สามารถควบคุม ได้ตลอด อาจมีการบุกรุกซ้ำ หรือการเข้าครอบครอง ทำการเกษตรใหม่ในภายหลังเนื่องจากเจ้าหน้าที่ ขาดกำลัง คนในการเข้าดูแลอย่างต่อเนื่อง การส่งมอบให้กับ คณะกรรมการป่าชุมชนในหมู่บ้านทำให้ มีความสะดวกในการ บริหารจัดการและ สามารถ ฟื้นฟูป่า ได้ ภายใต้การจัดการของคณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งทำให้ ผู้บุกรุก ไม่สามารถ กลับมาเอาพื้นที่ คืนได้อีกต่อไป

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน