X
ทุจริต

พบแล้ว 30 ราย หลัง ป.ป.ท.ตรวจสอบการทุจริตเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้

วันที่ 19 ก.พ. เวลา 11.00 น. จากกรณี ป.ป.ท.เขต 4 ขอนแก่น เผยที่บึงกาฬก็มีทุจริตเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้ ชาวบ้านหลายคนมีชื่อแต่ไม่ได้รับเงินนั้น  ขณะนี้ชุดสืบสวนสอบสวน จาก ป.ป.ท.กลาง และ ป.ป.ท.เขต 4 ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบการทุจริตเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ พม. อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้ลงพื้นที่ตรวจสอบศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่ จ.บึงกาฬ เบื้องต้นพบรายชื่อชาวบ้าน อยู่ในทุกกลุ่ม ที่มีชื่อรับเงินสงเคราะห์ผู้ยากไร้รายละ 2000 – 3,000 บาท โดยรายละเอียดเบื้องต้นมีการตรวจสอบชัดเจนแล้วว่ามีหลายคนที่ไม่ได้รับเงินเลยแม้แต่บาทเดียว

 

เงินผู้ยากไร้
พันโท กรทิพย์ ดาโรจน์ รองเลขาธิการฯ รักษาราชการแทนเลขาธิการ คณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)สอบปากคำชาวบ้านด้วยตัวเองและในวันนี้ พันโท กรทิพย์ ดาโรจน์ รองเลขาธิการฯ รักษาราชการแทนเลขาธิการ คณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กองปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 4 ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของชุดปฏิบัติการฯ ตรวจสอบการทุจริตเงินของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจำนวน 2 จุดได้แก่ 1 จังหวัดบึงกาฬ และ 2.จังหวัดหนองคาย สำหรับจังหวัดบึงกาฬนั้นเจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่บ้านท่าสะอาด บริเวณศาลาประชาคมของหมู่บ้านหมู่ที่ 1 ต.ท่าสะอาด อ.เซกา จ.บึงกาฬ ซึ่งจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ ป.ป.ท.เขต 4 พบว่ามีการทุจริตจริง โดยเจ้าหน้าที่ ปปท. ได้ตั้งโต๊ะสอบสวนประชาชนที่ถูกศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดบึงกาฬ นำรายชื่อพร้อมหลักฐานไปปลอมลายมือชื่อ พร้อมทำบันทึกคำให้การต่อหน้าพนักงานสอบสวนของเจ้าหน้าที่ ปปท.พันโท กรทิพย์ ดาโรจน์ รองเลขาธิการฯ รักษาราชการแทนเลขาธิการ ป.ป.ท. ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า การลงพื้นที่ตรวจสอบการทุจริตเงินของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดบึงกาฬ โดยชุดปฏิบัติการจากกองกำลังการภาครัฐที่ 4 ลงพื้นที่ตั้งแต่วันศุกร์ที่แล้ว ได้มีการตรวจสอบพบว่าที่ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งบึงกาฬ ได้รับงบประมาณในปี 2560 ประมาณ 1.8 ล้านบาท มีผู้ยากไร้จำนวน 1,176 คน แยกเป็นสงเคราะห์รายละ 1,000 บาท จำนวน 500 กว่าคน รายละ 2,000 บาท จำนวน 500 กว่าคน รายละ 3,000 บาท จำนวน 46 คน ทั้งหมดนี้มีการกระจายพื้นที่กันไปในจังหวัดบึงกาฬ แต่จำนวนคนที่เราตรวจสอบมีมากที่สุด ก็คือในพื้นที่ตำบลท่าสะอาด อ.เซกา ในหมู่ที่ 1 , 2 , 6 , 7 โดยเฉพาะหมู่ที่ 1 ซึ่งในขณะนี้มีประชาชนประมาณ 30 กว่าคน ที่ไม่ได้รับเงิน ในเบื้องต้นที่เราตรวจสอบไม่รู้เรื่อง ไม่ทราบว่ามีการดำเนินการ และทุกคนยินดีให้ถ้อยคำ จากการที่เราตรวจสอบมีการมาจัดอบรมในพื้นที่ต่างๆ มีประชาชนเข้ารับการอบรม แล้วก็มีการขอถ่ายบัตรประชาชนแล้วไปดำเนินการต่างๆ ชาวบ้านไม่รู้ อันนี้คือพฤติกรรมที่ตรวจพบในพื้นที่หมู่ที่ 1 และกำลังตรวจสอบว่าแต่ละแห่ง แต่ละอำเภอ แต่ละจังหวัด มีคล้ายคลึง หรือมีแตกต่างกันอย่างไร ในการตรวจสอบจะต้องตรวจสอบเป็นรายบุคคลเพราะทุกคนจะยืนยันเองว่า ได้รับหรือไม่ได้รับ และมีลายเซ็นรับเป็นของเขา จะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ
ป.ป.ท.เขต 4
เจ้าหน้าที่กองปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 4 ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของชุดปฏิบัติการฯ ตรวจสอบการทุจริตเงินของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งบึงกาฬ พื้นที่บ้านท่าสะอาด บริเวณศาลาประชาคมของหมู่บ้านหมู่ที่ 1 ต.ท่าสะอาด อ.เซกา จ.บึงกาฬ

กองกำลังปฏิบัติการภาครัฐที่ 4 ได้ตรวจสอบไปที่หนองคาย ได้เจอในลักษณะเดียวกัน เขาจะทำการตรวจสอบทั้ง 2 จังหวัดควบคู่กันไป และในวันนี้สำนักงาน ปปท. โดยท่านผู้ช่วยเลขาธิการ ปปท. ได้ลงพื้นที่ ที่จังหวัดสุราษฎรธานีไปตรวจสอบก็พบ เช่นกัน ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ มีแบบนี้เช่นกัน ตอนนี้ที่ตรวจสอบมีปรากฏชัด ขอนแก่น เชียงใหม่ บึงกาฬ หนองคาย สุราษฎร์ธานี เราจะทำการตรวจสอบอย่างนี้ตลอดไป โดยสำนักงาน ปปท. วางแผนการดำเนินการว่าจะมีการตรวจสอบดำเนินการขยายผลให้ปรากฏข้อเท็จจริงภายใน 3 เดือน ภายใน 31 พฤษภาคม 2561 จะให้รู้ว่าทั้ง 76 ศูนย์มีการดำเนินการเป็นอย่างไรโดยวางไว้ว่าในการตรวจสอบจะตรวจสอบการสงเคราะห์คนยากไร้ปีงบประมาณ 2560 ซึ่งขณะนี้ ป.ป.ท.ได้มีหนังสือแจ้งไปยัง  ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ทั้งหมดเพื่อขอความร่วมมือในการตรวจสอบ การใช้งบประมาณ และการดำเนินการจ่ายเงินสงเคราะห์ให้กับชาวบ้านกลุ่มใดบ้าง แต่ละกลุ่มใช้เงินงบประมาณไปเท่าใด รวมทั้งตรวจสอบกับชาวบ้าน ตามรายชื่อที่ระบุในการเบิกจ่าย โดยผู้อำนวยการศูนย์ฯทุกศูนย์ต้องให้ความร่วมมือ เพื่อแสดงถึงการทำงานที่โปร่งใส

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน