กรุงเทพฯ – นายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมติดตามความพร้อม การป้องกันและรับมือน้ำท่วม กทม. กำชับเตรียมการ-วางแผนการแก้ไขปัญหาพื้นที่ชุมชนแออัด พร้อมหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
วันที่ 1 สิงหาคม 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อม การป้องกันและรับมือน้ำท่วม ณ อาคารสำนักการระบายน้ำ ชั้น 6 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง
โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา ประธานสภากรุงเทพมหานคร, นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, นางวันทนีย์ วัฒนะ ปลัดกรุงเทพมหานคร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม
นายกรัฐมนตรีรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำ และแผนการรับมือน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งปริมาณน้ำฝนสะสมตั้งแต่ 1 มกราคม-31 กรกฎาคม 2567 มี 634.0 มิลลิเมตร น้อยกว่าค่าเฉลี่ย ร้อยละ 21.8
การเตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วม บริเวณจุดเสี่ยงน้ำท่วม 737 แห่ง ประกอบด้วย
1.การล้างท่อระบายน้ำ 4,260 กิโลเมตร
2.การล้างคลอง 1,956 กิโลเมตร
3.การขุดลอกคลอง 217 กิโลเมตร
ข่าวน่าสนใจ:
- ชนวินาศเวลาพัก พ่วงขนขยะจาก กทม. กวาดเก๋งกระบะ จยย ริมทางเรียบ 7 คัน
- BookExpo24 มีปรากฏการณ์ จงสว่าง X อะแดปครีเอชั่น
- นนทบุรี กู้ชีพ-กู้ภัยเร่งช่วยหญิงวัย 56 ปีขี่รถ จยย.ชนขอบสะพานร่างตกกระแทกพื้นสาหัส
- สมาคมพืชไร่ฯเพชรบูรณ์ ประกาศหยุดซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หลังโรงงานกดราคารับซื้อ เกษตรกรนัดชุมนุมจี้รัฐบาลเร่งแก้ไข
ส่วนระบบระบายน้ำ
1.สถานีสูบน้ำ 195 แห่ง
2.บ่อสูบน้ำ 376 แห่ง
3.ประตูระบายน้ำ 248 แห่ง
ขณะที่ภาพรวมการดำเนินการเตรียมความพร้อมรับมือน้ำเหนือหลากและน้ำหนุนทะเล ดำเนินการแล้วเสร็จ 64 แห่ง จากทั้งหมด 120 แห่ง
สำหรับชุมชนที่อยู่นอกแนวป้องกันน้ำท่วม ให้ติดตามสถานการณ์น้ำเหนือ และเวลาน้ำขึ้นเต็มที่ในแต่ละวันอย่างใกล้ชิด ผ่านช่องทางเว็บไซต์ http://dds.bangkok.go.th/, https://pr-bangkok.com/, Facebook : @BKK.BEST, X : @BKK_BEST, สำนักงานประชาสัมพันธ์ รวมถึงรับแจ้งเหตุปัญหาที่ ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม โทร. 0 2248 5115 หรือแจ้งปัญหาทาง Traffy Fondue ตลอด 24 ชั่วโมง
รัฐบาล-กทม.ผนึกกำลัง เตรียมความพร้อมรับมือ
ภายหลังรับฟังบรรยายสรุป นายกรัฐมนตรีกล่าวมอบนโยบายว่า เนื่องจากปีนี้มีปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้ปริมาณฝนตกมากกว่าปกติ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและภาคอีสาน ทำให้ปริมาณน้ำที่จะไหลลงสู่กรุงเทพมหานคร ในช่วงเดือนนี้ไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน ดังนั้น รัฐบาลและกรุงเทพมหานคร จึงต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์น้ำที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนและพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ
นายกรัฐมนตรี ยังให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ กทม. และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง กทม. เฝ้าระวังและประกาศเตือนพี่น้องประชาชนในพื้นที่เสี่ยง เตรียมช่วยเหลือประชาชนในเหตุการณ์เฉพาะหน้าทั้งกรณีน้ำท่วมและการระบายน้ำ จัดหาพื้นที่แก้มลิงเพื่อรองรับน้ำที่รอการระบาย พร้อมรับมือน้ำเหนือหลากและน้ำทะเลหนุน รวมถึงการควบคุมปริมาณน้ำในคลองต่าง ๆ ให้เกิดความเหมาะสม เช่น การเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง การขุดลอกท่อระบายน้ำ และทางน้ำไหล การขจัดขยะและวัชพืชตามท่อระบายน้ำต่าง ๆ เพื่อให้ไม่เกิดปัญหาติดขัดกรณีที่มีฝนตกในพื้นที่ในจำนวนมาก
พร้อมเน้นย้ำให้ กทม. ต้องร่วมมือกับ หน่วยงานปกครอง (ปภ.) กรมชลประทาน และกรมทรัพยากรณ์น้ำ ตลอดจนหน่วยงานความมั่นคง สนับสนุนการทำงานอย่างเต็มที่ในทุกมิติ โดยเฉพาะในพื้นที่สุ่มเสี่ยง และชุมชนแออัด ซึ่งคาดว่าจะเกิดน้ำท่วมอย่างแน่นอน ขอให้ กทม.กำหนดจุด วางแผน เตรียมมาตรการให้ความช่วยเหลือ พร้อมเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนให้ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว
จากนั้น นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมห้องนิทรรศการโครงการตามแนวพระราชดำริ ด้านการป้องกันและแก้ไขน้ำท่วมเขตกรุงเทพมหานคร และตรวจเยี่ยมศูนย์ควบคุมระบบน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร แบบ Real Time
ใช้เทคโนฯ-การสื่อสารทันสมัย วางแผนรับมือ
ศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารที่ทันสมัย ประกอบด้วย สถานีแม่ข่าย (Master Station) และสถานีเครือข่าย (Monitoring Station) กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งมีระบบจัดการและควบคุมโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าระบบ SCADA (Supervisory Control And Data Acquisition) ประกอบด้วย
1.ระบบตรวจวัดข้อมูลต่าง ๆ เช่น เรดาร์ตรวจอากาศ (หนองจอก หนองแขม)
2.ระบบตรวจวัดปริมาณฝน 130 แห่ง
3.ระบบตรวจวัดน้ำท่วมถนน 100 แห่ง และระบบตรวจวัดน้ำท่วมอุโมงค์ทางลอด 8 แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการเพิ่ม 140 แห่ง คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนธันวาคม 2567 เมื่อแล้วเสร็จจะมีรวม 248 แห่ง
4.ระบบตรวจวัดระดับน้ำ 255 แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการเพิ่ม 25 แห่ง คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนกันยายน 2567 เมื่อแล้วเสร็จจะมีจำนวน 280 แห่ง
5.ระบบตรวจวัดอัตราการไหลของน้ำ จำนวน 30 แห่ง
6.ระบบตรวจสอบการทำงานของประตูระบายน้ำ 46 แห่ง 7.ระบบการตรวจสอบการทำงานของเครื่องสูบน้ำ 32 แห่ง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: