X

เช็กที่นี่! ’36 คลัสเตอร์’ โควิด ใน 25 เขต กทม. ศบค.เสนอตั้ง ‘Camp Quarantine’ คุมต่างด้าว

กรุงเทพฯ – ศบค. เปิดคลัสเตอร์โควิด-19 กรุงเทพมหานคร เพิ่มเป็น 36 คลัสเตอร์ กระจายอยู่ใน 25 เขต ศบค. สั่งเข้มแคมป์คนงาน เสนอใช้ ‘โมเดลสมุทรสาคร’ คุมคนต่างด้าวติดโควิด ใน กทม.และปริมณฑล พร้อมหาพื้นที่ตั้งเป็น ‘Camp Quarantine’  

วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 พื้นที่กรุงเทพมหานคร พบผู้ติดเชื้อโควิด -19 รายใหม่มากถึง 1,001 คน สะสม 30,535 คน เสียชีวิต 11 คน (น้อยกว่าเมื่อวาน 3 คน)

โดยมีคลัสเตอร์ระบาดเพิ่มเป็น 36 คลัสเตอร์ กระจายใน 25 เขต คลัสเตอร์ที่พบใหม่ คือ ‘แคมป์คนงานเขตบางพลัด’ แบ่งคลัสเตอร์การแพร่ระบาด ออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มเฝ้าระวังสูงสุด 23 คลัสเตอร์
เขตดินแดง
1.ตลาดห้วยขวาง 2.แฟลตดินแดง
เขตราชเทวี
3.ประตูน้ำ 4.ชุมชนริมคลอง 5.แฟลตรถไฟมักกะสัน
เขตหลักสี่
6.แคมป์ก่อสร้าง
เขตดุสิต
7.สี่แยกมหานคร / สะพานขาว / ตลาดผลไม้
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
8.คลองถมเซ็นเตอร์ / เสือป่า / วงเวียน 22 / วรจักร / โบ๊เบ๊
เขตคลองเตย
9.ที่พักคนงานก่อสร้าง 10.ตลาดคลองเตย 11.ชุมชนแออัดคลองเตย
เขตบางรัก
12.สีลม
เขตสาทร
13.ชาวกินี
เขตพระนคร
14.ปากคลองตลาด
เขตประเวศ
15.ตลาดบุญเรือง
เขตบางกอกน้อย
16.ตลาดศาลาน้ำร้อน
เขตห้วยขวาง
17.ชุมชนโรงปูน
เขตบางเขน
18.ตลาดยิ่งเจริญ
เขตบางคอแหลม
19.แคมป์ก่อสร้าง
เขตจตุจักร
20.โรงงานน้ำแข็ง
เขตดอนเมือง
21.แคมป์ก่อสร้าง
เขตบางซื่อ
22.โกดังสินค้าให้เช่า
เขตบางกะปิ
23.ตลาดบางกะปิ

กลุ่มเฝ้าระวัง 4 คลัสเตอร์
เขตวัฒนา
24.แคมป์คนงานก่อสร้าง
เขตสวนหลวง
25.ร้านเฟอร์นิเจอร์
เขตจตุจักร
26.ราชทัณฑ์
เขตราชเทวี
27.บริษัทไฟแนนซ์

กลุ่มที่พบใหม่ 1 คลัสเตอร์
เขตบางพลัด
28.แคมป์ก่อสร้าง

กลุ่มที่สามารถควบคุมการระบาดได้ 8 คลัสเตอร์
เขตทวีวัฒนา
29.ชุมชนแออัด ซอยสุพจน์อุทิศ
เขตปทุมวัน
30.ชุมชนบ่อนไก่
เขตสาทร
31.บริษัทขายตรงตึกเอ็มไพร์
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
32.ชุมชนวัดโสมนัส
เขตสัมพันธวงศ์
33.สำเพ็ง
เขตจตุจักร
34.บริษัทรถทัวร์
เขตลาดพร้าว
35.บริษัทประกันลาดปลาเค้า
เขตสวนหลวง
36.ชุมชนโมราวรรณ

ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการระบาด เช่น
ปากคลองตลาด ผู้ค้าและแรงงานต่างด้าวในตลาดติดเชื้อเป็นกลุ่ม แผงตลาดติด ๆ กัน เป็นกลุ่มก้อน ที่อยู่อาศัยแรงงานต่างด้างมีลักษณะแออัด
สีลม บางรัก ผู้ค้าในตลาดพลอยบางรัก เชื่อมโยงคลัสเตอร์จันทบุรี มีชาวแอฟริกันหลายราย มีการสัมผัสในร้านขายพลอย ร้านขายอาหาร มีที่พักอาศัยในห้องเช่าคอนโดมิเนียมหลายแห่ง ย่านบางรัก สาทร และใกล้เคียง มีการเดินทางเชื่อมโยงกันเพื่อค้าขาย
ตลาดห้วยขวาง ดินแดง สุขาภิบาลตลาดไม่ดี อากาศไม่ถ่ายเท ตลาดแบ่งเป็นโซนนอกอาคารกับในอาคาร ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในอาคาร
ตลาดบางกะปิ มีความแออัด หลังตลาดเดินเชื่อม 5 ตลาดย่อยถึงกันได้
แคมป์คนงานก่อสร้าง มีความแออัด คนงานใช้ห้องน้ำร่วมกัน อยู่รวมกัน และทำกิจรรมร่วมกัน

นายแพทย์ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า สำหรับมาตรการที่จะดำเนินการ แบ่งเป็น

กลุ่มเฝ้าระวังสูงสุดและกลุ่มเฝ้าระวัง คือ ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. ลงไปสอบสวนโรคเพิ่ม และติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงมากักกัน ติดตามคนงานก่อสร้างที่พักอยู่นอกแคมป์ ฉีดวัคซีนให้ประชาชน ปิดตลาดทำความสะอาดสถานที่ ปิดสถานที่ที่พบผู้ป่วย เช่น แคมป์ โรงานน้ำแข็ง โกดัง ลงตรวจกลุ่มเสี่ยงแรงงานต่างด้าว

คลัสเตอร์ที่พบใหม่ จะปิดสถานที่และสอบสวนโรค ค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ปัจจัยเสี่ยง เพื่อวางแผนกำหนดขอบเขตตรวจเชิงรุก

มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดในตลาด
ผู้ประกอบการต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อม ให้มีการระบายอากาศที่เพียงพอ จัดทำทะเบียนผู้ค้าและลูกจ้าง ทำความสะอาดพื้นที่ ให้ผู้ประกอบการ ผู้ค้า ลูกจ้าง ผู้ใช้บริการ สวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าตลอดเวลา มีจุดบริการล้างมือ เว้นระยะห่าง คัดกรอง ใช้แอปพลิเคชันติดตามตัว เป็นต้น

♦ มาตรการจัดการแคมป์คนงานก่อสร้าง
1.การจัดการที่พักอาศัย
2.สถานที่ทำงาน/ก่อสร้าง
3.การเดินทางระหว่างที่พัก กับที่ทำงาน
4.การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และการกำกับติดตาม

 มาตรการสำหรับสถานประกอบการ call center

โฆษก ศบค. กล่าวอีกว่า จากการประมาณการ พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีคนต่างด้าวอาศัยอยู่ประมาณ 1,318,641 คน เฉพาะที่ถูกต้องตามกฎหมาย กระจายอยู่ใน 6 จังหวัด แยกเป็น กทม.มีประมาณ 5.8 แสนคน สมุทรสาคร 2.3 แสนคน สมุทรปราการ 1.6 แสนคน ปทุมธานี 1.3 แสนคน นนทบุรี 99,000 คน และนครปฐม 93,000 คน นอกจากนี้ ยังมีที่ไม่ถูกกฎหมายอีกจำนวนหนึ่ง

ที่ประชุม ศบค. สั่งการให้ผู้อำนวยการเขตทั้ง 50 เขต เข้าไปดูแลแคมป์ต่าง ๆ และขอให้ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือ โดยมีแคมป์คนงานใน กทม. 409 แคมป์ กระจายอยู่ในทุกเขต มีคนงาน 62,169 คน เป็นคนไทย 26,134 คน ต่างด้าว 36,035 คน

คณะที่ปรึกษา ศบค. เสนอให้มีศูนย์คัดแยกผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานต่างด้าว ซึ่งเราได้เรียนรู้มาจาก จ.สมุทรสาครแล้ว ควรจะจัดพื้นที่ที่เหมาะสม ตั้งเป็น Camp Quarantine หรือ Camp Isolation แยกออกมาต่างหาก โมเดลอย่างนี้ กทม.ควรจะต้องรีบทำ เพราะวันหนึ่งมีผู้ป่วยเพิ่มกันมา 300-400 คน และในเชิงกฎหมาย ให้มีมาตรการขยายนิรโทษกรรม ให้ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้เข้าสู่ระบบบการจ้างงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

ลักขณา สุริยงค์

ลักขณา สุริยงค์

ทำหน้าที่สื่อมวลชนมาเกือบ 30 ปี ทั้งงานสายข่าวและจัดรายการทีวี-วิทยุมานับไม่ถ้วน "ไม่เป็นกลาง แต่เป็นธรรม พร้อมนำเสนอความจริง"