วันที่ 24 กรกฎาคม 2563 นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะสมาชิกรัฐสภา ขึ้นอภิปรายในวาระการพิจารณา หนังสือสัญญา ว่าด้วย พิธีสาร 1996 ของอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันมลภาวะทางทะเลเนื่องจากการทิ้งวัสดุเหลือใช้และวัสดุอย่างอื่น (London Convention 1996)
โดยอธิบายสรุปสาระสำคัญว่า พิธีสารนี้ วางหลักพื้นฐานให้ประชาคมกฏหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่สำคัญ สองหลักคือ
♦ หลักป้องกันล่วงหน้า (Precautionary PrincipalหรือPP)
♦ หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย ( Polluter pays Principle หรือ PPP)
ดังนั้น การเข้าไปเป็นภาคีพิธีสารนี้ของประเทศไทย จึงช่วยวางแนวให้การออกกฏหมายภายในของไทยที่จะต้องตราขึ้น เป็นพระราชบัญญัติต่อไปจะได้บรรจุหลักทั้งสองนี้เข้าไปให้มั่นคง
ข่าวน่าสนใจ:
- ศาลฏีกาพิพากษายืน!! คดีผอ.ตุ๊ก่อเหตุฆ่า"น้องหลิว"ทิ้งศพนิรนามป่าอ้อย 12 ปี จำคุกตลอดชีวิตและชดใช้เงิน 1.7 ล้านบาท
- ประกวดแต่งผีรับวันฮาโลวีน สุดคึกคัก ในงานสตรีทฟู้ด@หาดพยูน กระตุ้นท่องเที่ยว
- สหายแสง และพวก แห่จองกฐิน ทนายตั้มฟ้องหมิ่นฯ เรียกค่าเสียหาย 30 ล้าน ยันจะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด
- (มีคลิป) 6 ประเทศร่วมเทศกาลวัฒนธรรมกวนอูนานาชาติ'67 ที่เพชรบูรณ์ ปชช.ตื่นเต้นกองทัพช้างร่วมสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง
โดยนายวีระศักดิ์อภิปรายชี้ว่า หลักกำหนดของพิธีสาร London Protocal 1996นี้ กำหนดห้ามกิจกรรม ทิ้ง เท หรือแม้แต่เผา วัสดุและของเสียใดๆบนหรือลงทะเล ไม่ว่าจะกระทำโดยเรือโดยแพ ทุ่น แท่น หรืออากาศยาน ในเขต200ไมล์ทะเลจากเส้นฐานของรัฐชายฝั่ง
คือ ห้ามทิ้ง เท ทุกอย่างที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล ยกเว้น 8 กิจกรรม ตามข้อกำหนดในพิธีสาร ซึ่งถ้าจำเป็น ผู้ทิ้ง เท ต้องรอให้รัฐเจ้าของเขตทางทะเลเป็นผู้พิจารณาอนุญาต ชี้จุดกำหนดวิธีการให้เรียบร้อยเสียก่อน
ดังนั้น ด้วยเหตุที่ พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 (ซึ่งเป็นหนึ่งในกฏหมายไทยน้อยฉบับที่เก่าแก่เกินร้อยปี และเรียกเป็นปีพุทธศักราช) ไม่สามารถใช้คุ้มครองน่านน้ำตามหลักใหม่ ๆของกฏหมายระหว่างประเทศ
จึงถือเป็นโอกาสที่รัฐสภาขอฝากข้อสังเกตนี้ไปให้ถึงรัฐบาลที่กำลังเร่งยกร่าง พ.ร.บ.การป้องกันมลพิษทางทะเล พ.ศ….ในชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกาให้กำหนดไปให้ครบ ทั้งขั้นตอนอนุญาต ทิ้ง เท เผา เหล่านี้ให้แม่นยำชัดเจน มีแนวปฏิบัติ มีวิธีพิจารณา มีการบังคับใช้ และมีบทลงโทษที่เหมาะสม
อนึ่ง รัฐบาลพึงเข้มงวดต่อการทิ้ง เท ของเสียของเรือไทย และการดูระบบนิเวศน์ชายฝั่งอย่างเต็มที่ และสนับสนุนเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเฝ้าระวังคุณภาพชายฝั่งและทะเลทั้งหมดของไทยอย่างเพียงพอด้วย
ทั้งนี้ นายวีระศักดิ์ เป็นหนึ่งในผู้ได้รับเข็ม ‘รักษ์ทะเลยิ่งชีพ’ ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งเป็นเข็มเชิดชูเกียรติลำดับสูงที่มอบแก่ผู้มีบทบาทต่อเนื่องในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: