X

บิ๊กป้อมนำทีมลุยสุราษฎร์ฯติดตามสถานการณ์น้ำและพบชาวสวนปาล์ม สวนยาง

สุราษฎร์ธานี-พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะลงพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานีติดตามสถานการณ์น้ำและพบเกษตรกรชาวสวนปาล์ม ชาวสวนยาง

เมื่อเวลา 10.40 น.วันนี้ (17 ต.ค.65 )ที่ศาลางกลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยทันทีที่ลงจากรถได้เดินตรงพบปะกับเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ 18 จังหวัด (ภาคใต้ 14 จังหวัด ภาคกลาง 4 จังหวัด)และเกษตรกรชาวสวนยางประมาณ 300 คนที่ยืนรอถือป้ายไวนิลเขียนข้อความต่าง ๆ ให้การต้อนรับ พร้อมจับไม้จับมือ หอมมือ หอมแก้มอยู่ประมาณ 5 นาที  ก่อนที่จะเข้าห้องประชุมรับฟังการบรรยายสรุป ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลาง จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีนายวิชวุทย์ จินโต ผวจ.สุราษฎร์ธานี กล่าวต้อนรับ และบรรยายสรุปภาพรวมในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี / เลขาธิการ สทนช. นำเสนอแผนงานด้านทรัพยากรน้ำ และการคาดการณ์สถานการณ์น้ำในพื้นที่ / อธิบดีกรมชลประทาน นำเสนอสถานการณ์น้ำ แผนการดำเนินงานโครงการแก้มลิงสระบัว(อ่างเก็บน้ำทุ่งกระจูด) / อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นำเสนอแผนการดำเนินงานโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองสุราษฎร์ธานี/ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นำเสนอการเตรียมการณ์รับมือสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ / เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นำเสนอสถานการณ์ปาล์มน้ำมันในประเทศ โดยใช้เวลาประชุมนานประมาณเกือบชั่วโมง

โดยสรุปภาพรวมสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคใต้ แผนงานด้านทรัพยากรน้ำและสถานการณ์ปาล์มน้ำมันในประเทศ โดย พล.อ.ประวิตร ย้ำสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จังหวัดและทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตรียมการรับฤดูฝนภาคใต้ที่กำลังมาถึง โดยเน้น 13 มาตรการรับมือฤดูฝน

และให้ความสำคัญสำรวจพื้นที่เสี่ยงและความพร้อมของสถานีสูบน้ำ สิ่งกีดขวางทางน้ำ โดยให้บริหารจัดการน้ำผ่านคณะกรรมการลุ่มน้ำและคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด พร้อมทั้งขอให้นำบทเรียน การป้องกันและแก้ปัญหา พื้นที่เสี่ยง ปีที่ผ่านมา มาบริหารจัดการลดความเสี่ยงและผลความเสียหายจากอุทกภัย และต้องให้ความสำคัญแจ้งเตือนและนำประชาชนออกจากพื้นที่ให้ทันเหตุการณ์

 

หากเกิดน้ำป่าไหลหลากดินโคลนถล่ม เพื่อความปลอดภัยของประชาชน พร้อมกันนี้ขอให้ สทนช.เตรียมความพร้อมจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีหากจำเป็น

จากนั้นพบปะกับเกษตรกรชาวสวนปาล์มอีกรอบ โดยสอบถามถึงเรื่องปัญหาที่เดินทำกินและราคาปาล์ม ซึ่งเกษตรกรชาวสวนปาล์มบางรายบอกว่าขอราคาปาล์มกิโลกรัมละ 8-10 บาท หรือขอให้ลดราคาปุ๋ยลง ซึ่ง พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวกับเกษตรกรชาวสวนปาล์มอีกครั้งโดยสรุปว่าช่วงที่เข้ามาดูแลเรื่องปาล์มน้ำมันจะเห็นได้ว่าโดยเฉลี่ยราคาปาล์มน้ำมันดีขึ้นกว่าที่ผ่านมาอย่างมาก ทั้งนี้จะพยายามจะให้ราคาปาล์มดีตลอดไป

 

 

พล.อ.ประวิตร ยังได้ย้ำนโยบายรัฐบาลกับการบริหารจัดการปาล์มน้ำมัน ผ่านคณะกรรมการปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ที่มุ่งแก้ปัญหาปาล์มล้นตลาดและราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำมาตลอด โดยออกมาตรการผลักดันการส่งออกและนำน้ำมันปาล์มส่วนเกินมาผลิตพลังงาน รวมทั้งติดมิเตอร์วัดน้ำมันปาล์มดิบ ส่งผลราคาปาล์มน้ำมันดีขึ้นต่อเนื่อง

รวมทั้งเตรียมออกมาตรการระยะยาว แปรรูป เพิ่มมูลค่าให้ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่ยั่งยืน สำหรับ การบูรณาการพัฒนาปาล์มน้ำของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ขอให้มุ่งเป้า Oil Palm City ที่ส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและดูให้มีการซื้อขายปาล์มน้ำมันที่เป็นธรรม เพื่อดูแลเกษตรกรอย่างทั่วถึงในพื้นที่ พร้อมขอขอบคุณ เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ร่วมขับเคลื่อนมาตรการปาล์น้ำมันอย่างได้ผล จากนั้นตัวแทนชาวสวนปาล์มและสวนยางได้มอบหนังสือขอให้รองนายกรัฐมนตรีแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินพร้อมกับถ่ายภาพเป็นที่ระลึกโดยมีนายมนตรี เพชรขุ้ม อดีต นายก  อบจ.สุราษฎร์ธานี และนักธุรกิจหลายคนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมถ่ายรูปด้วย

และในช่วงบ่ายเวลาประมาณ 14.00 น.ลงพื้นที่ ติดตามโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองสุราษฎร์ธานี โดยกรมโยธาธิการและผังมือง รายงานโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองสุราษฎร์ธานี และติดตามโครงการแก้มลิงสระบัว (อ่างเก็บน้ำทุ่งกระจุด) ต.ท่าสะท้อน อ.พุนพิน  เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ เนื้อที่ 750 ไร่ สามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 7ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2561 ขณะนี้การก่อสร้างคืบหน้ากว่า 86 เปอร์เซ็นต์ จะช่วยแก้ไขปัญหาอุทกภัยในฤดูฝน และแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เก็บน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน และตำบลท่าเรือ อำเภอบ้านนาเดิม มีราษฎรได้รับผลประโยชน์ 600 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรประมาณ 1,000 ไร่เป็นจุดสุดท้ายก่อนเดินทางกลับกรุงเทพฯ.

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน