X

มาดูที่มาของคำว่าจังหวะม้าย่องของจริง ในงานสืบสานประเพณีแห่รูปเหมือนหลวงปู่ทอกรัก

ที่ วัดอัมพวัน ต.บางขันหมาก อ.เมือง ลพบุรี ร่วมกับชมรมยุวชนไทยรามัญวัดอัมพวันลพบุรี สภาวัฒนธรรมตำบลบางขันหมาก องค์การบริหารส่วนตำบลบางขันหมาก สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี และชาวบ้านบางขันหมาก ร่วมกันจัด “งานสืบสานประเพณีไทยรามัญบางขันหมาก ประจำปี 2562” ณ วัดอัมพวัน ตำบลบางขันหมาก อำเภอเมืองลพบุรี วัตถุประสงค์ของการจัดงานเพื่ออนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรม ประเพณี ที่ดีงามของท้องถิ่น ให้คงอยู่สืบต่อไป

ซึ่ง“ประเพณีไทยรามัญ”เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชุมชน และท้องถิ่นที่ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา ในรูปแบบของขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมหรือการแต่งกายพื้นบ้าน ที่ชาวไทยรามัญบางขันหมากเป็นบุคคลอีกกลุ่มหนึ่ง ที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม เช่น ประเพณีลอยผ้าป่าทางเรือ ขบวนชักพระรูปเหมือนหลวงปู่ทอ-กรัก สุวรรณะสาโร การตักบาตรพระร้อย การแข่งขันเรือพื้นบ้าน การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน รวมทั้งมีการแต่งกายพื้นบ้านที่สวยงาม รวมถึงประเพณีชักระรูปเหมือนของหลวงปู่ทอกรัก (ทอ-กรัก) เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้มีโอกาสสักการบูชา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว


หลังจากพิธีการเสร็จก็ถึงเวลาที่ชาวบ้านจะทำการชักพระหลวงปู่ทอกรัก (ทอ-กรัก) เดินไปตามถนนรอบหมู่บ้านในพื้นที่ ต.บางขันหมาก และในตัวเมืองลพบุรี ในการนี้ทางวัดได้นำแตรวงชั้นนำ เครื่องเสียงชั้นดีเพื่อให้ประชาชน ชาวบ้าน ที่ชักพระรูปเหมือนหลวงปู่ และตามเส้นทางต่างๆ ได้ร่วมรำวงสนุกสนานครื้นเครงไปกับขบวนด้วย รวมถึงได้นำช้างที่วางรูปเหมือนหลวงปู่ บนหลัง และม้าจำนวน 7 ตัว มาร่วมเดินเพื่อสร้างสีสันให้กับงานชักพระ ซึ่งเมื่อแตรวงเริ่มบรรเลงเพลงในจังหวะสุดมัน ม้าที่สงบนิ่งต่างกระโดดโลดเต้นไปตามจังหวะของเสียงเพลง และเริ่มเข้าจังหวะม้าย่องของจริง สร้างรอยยิ้ม สร้างเสียงหัวเราะ สร้างบรรยากาศของงานประเพณีชักพระให้ดูครึกครื้นได้อย่างดี โดยมีนางรำมากมายที่เคยวาดลวดลายมาทุกปี ต้องยอมสยบ ต่างคว้ามือถือบันทึกภาพกับความคึกคะนองของม้าในจังหวะม้าย่องที่สุดมันส์

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน