X

ดันสะพานเกาะใหญ่-แหลมจองถนนเชื่อมการท่องเที่ยวเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจกระแสสินธุ์

ผลักดันสะพานเกาะใหญ่-แหลมจองถนนเชื่อมการท่องเที่ยเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจชาวอำเภอกระแสสินธุ์-สัมผัสความงดงามทางทรัพยากรทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม เมืองที่อากาศดีมีความมั่นคงด้านอาหารอัตลักษณ์แห่งวิถีเขาป่าโหนดนาเล

พลังความร่วมมือของคนกระแสสินธุ์จากภาคส่วนต่างๆทั้งผู้นำท้องที่ผู้นำท้องถิ่นตัวแทนภาครัฐภาคเอกชนในท้องถิ่นรวมถึงตัวแทนภาคประชาชนในพื้นที่ ได้ร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาและร่วมการพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะปัญหาเชิงพื้นที่ในฐานะอำเภอกระแสสินธุ์ดินแดนบนคาบสมุทรสทิงพระจากภัยพิบัติทางธรรมชาติจากข้อจำกัดน้ำท่วม-น้ำแล้ง ทว่าความงดงามทางทรัพยากรทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรมและวิถีแห่งเขาป่าโหนดนาเล เมืองที่ได้ชื่อว่าอากาศดีมีความมั่นคงด้านอาหารคืออัตลักษณ์อันโดดเด่นของเมืองเล็กๆ แห่งนี้ กำลังขับเคลื่อนการพัฒนาแบบยั่งยืน

นายโยธิน ทองเนื้อแข็ง ตัวแทนภาคเอกชนในฐานะนักธุรกิจยุคใหม่ในท้องถิ่น ร่วมกับ สส.อรุณ สวัสดี สส.เขต 4 สงขลา, กำนันสุเทพ ศรีใส กำนันตำบลเกาะใหญ่ นายปราโมทย์ พรหมวิจิตรเจ้าหน้าที่จากกรมทางหลวงชนบทและคณะ,ผู้ใหญ่บ้าน และ ผู้นำชุมชน ร่วมต้อนรับ ดร.นาที รัชกิจประการซึ่งให้การมาเยือนและลงพื้นที่ ณ.บ้านแหลมคูลา ม.8 ตำบลเกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ ร่วมผลักดัน โครงการ ก่อสร้างสะพานเกาะใหญ่-แหลมจองถนนเชื่อมต่อระหว่างบ้านจองถนนอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงกับ-บ้านแหลมยาง ตำบลเกาะใหญ่อำเภอกระแสสินธุ์.จังหวัดสงขลาเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวคาบสมุทรสทิงพระ

นายโยธิน ทองเนื้อแข็ง เปิดเผยว่า“ผมตั้งใจพัฒนากระแสสินธุ์ทั้ง 22 ชุมชนด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวจากแหล่งธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศโดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวของภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมด้านการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมจากพี่น้องในชุมชนท้องถิ่น ก้าวสู่เมืองสุขภาพ เมืองสิ่งแวดล้อมดี การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

กระแสสินธุ์คือบ้านเกิดผม ถึงเวลาแล้วที่บ้านผมจะต้องพัฒนาและขับเคลื่อนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นให้ก้าวหน้า และก้าวไกลด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนโดยมุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกร่วมกันต่อการรักษาระบบนิเวศที่มีอยู่อย่างมีคุณค่า เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ แก่คนในชุมชน พัฒนาขีดความสามารถของชุมชน เพื่อให้พึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็ง ใช้แนวทางพัฒนาเมืองด้วยแนวคิดการบริหารจัดการน้ำ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและพลังงานทดแทน การจัดการขยะ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ป่าชุมชนและเกษตรอินทรีย์ “เปิดเมืองกระแสสินธุ์เปิดโลกแห่งการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน”

เขาย้ำว่านอกจากการปลุกจิตสำนึกเมืองน่าอยู่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน “ไฟส่องสว่าง ทางสะดวก”ยังเน้นมาตรฐานด้านการบริการและการมีส่วนร่วมของชุมชนซึ่งถือเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ต้องพัฒนาจากความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงด้านความปลอดภัยของเมือง และความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญการสร้างสังคมที่มีคุณภาพ กระแสสินธุ์เมืองน่าอยู่ สังคมการท่องเที่ยวที่มีความสุขทั้งเจ้าบ้านและผู้มาเยือน

“วิถี“เขาป่าโหนดนาเล เอกลักษณ์ในชุมชนกระแสสินธุ์พัฒนาความพร้อมก้าวสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ส่งเสริมและต่อยอดเกษตรชุมชนด้วยรูปแบบเกษตรยุคใหม่ที่เพิ่มมูลค่า เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยความรู้และประสบการณ์ใหม่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน สนับสนุนและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจในชุมชน การรวมกลุ่มการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในระดับภูมิภาค ประเทศ และสร้างพลังต่อรองเพื่อเชื่อมโยงทั่วโลก”

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

korphai ริมภู

korphai ริมภู

* นักเขียนอิสระ * นักข่าวอิสระ