X

ขับเคลื่อนนครสงขลาก้าวไกลด้วยพลังการสื่อสาร

พลังการสื่อสาร พลังสังคม พลังการพัฒนา มสธ.ขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและการปกครองท้องถิ่นสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น นครสงขลาก้าวไกล ประเทศไทยเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

การสื่อสารเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและสังคมซึ่งสงผลให้ชีวิตและสังคมดำรงอยู่และดำเนินต่อไปได้ เมื่อใดที่ไม่มีการสื่อสาร เมื่อนั้นก็ไม่มีสังคมและในทางตรงกันข้ามหากไม่มีสังคมก็ไม่มีการสื่อสาร นอกจากการสื่อสารและสังคมจะเป็นจะเป็นเสมือนเงาของกันและกันแล้วการสื่อสารยังถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิต มีความรู้ ความเข้าใจถึงความจำเป็นในการพัฒนา จึงถือได้ว่าการสื่อเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาสังคมและพัฒนาท้องถิ่น

ขณะเดียวกันการขับเคลื่อนการพัฒนางานวิจัยด้านการสื่อสารในงานการเมือง ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้ดำเนินงานด้านวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งงานวิจัยเชิงพื้นที่ โครงการฝึกอบรมด้วยหลักสูตรต่างๆ ตามความต้องการของผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศที่ให้ความสนใจเข้าร่วมภายโครงการวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาศักยภาพองค์กร บุคลากร การฝึกอบรมด้วยองค์ความรู้ด้านต่างๆที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ทันที เนื่องจากนโยบาย ผลการดำเนินงานของผู้บริหารองค์กรทุกระดับนับเป็นหนึ่งในเรื่องเร่งด่วนและจำเป็นที่ต้องพัฒนารองรับการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นการใช้นวัตกรรมการสื่อสารเชิงรุกเป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนการพัฒนา

ที่สำคัญศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคมได้มุ่งเน้นการบริการวิชาการแก่สังคมงานวิจัยแบบบูรณาการ ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้รองรับการเรียนการสอนด้วยนวัตกรรมการสื่อสารที่ตอบสนองและสอดคล้องกับการศึกษาทางไกลและองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชให้เป็นมหาวิทยาลัยเปิดทางไกลชั้นนำในระดับสากล มีการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ตอบสนองต่อการพัฒนาสังคมและประเท สมกับเป็นมหาวิทยาลัยเปิดทางไกลที่ใชเทคโนโลยีที่ทันสมัย

รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ประธานคณะกรรมการหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่นและในฐานะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชขับเคลื่อนการพัฒนาและบริหารจัดการหลักสูตรแล้ว ยังได้ลงพื้นที่ภาคสนามร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องล่าสุดภายใต้งานวิจัยเรื่องรูปแบบการสร้างความนิยมทางการเมือง ได้ลงพื้นที่พร้อมสัมภาษณ์พูดคุย ดร.สมศักดิ์ ตันติเศรณี นายกเทศมนตรีนครสงขลา เพื่อพัฒนางานวิจัยอย่างเป็นระบบ พร้อมนำเสนอผลงานวิจัยสื่อสารในต่างประเทศ

“การวิจัยเป็นการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เนื่องจากจุดแข็งของการวิจัยและพัฒนามี3 กระบวนการหลัก การวิจัย การพัฒนา และการเผยแพร่ ดังนั้น การศึกษาค้นคว้าต้องได้ความรู้หรือความเข้าใจในแง่มุมใหม่ ถ่ายทอดไปสู่ผู้ใช้ในวงกว้าง ต้องกระทำอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง  เป็นการดำเนินงานที่เป็นไปตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัยและพัฒนา เป็นกระบวนการดำเนินงานที่จะต้องกระทำติดต่อกันโดยใช้ระยะเวลาในการทำกิจกรรมการวิจัยและพัฒนา และเผยแพร่ผลผลิตไปสู่ผู้ใช้อย่างกว้างขวางและเป็นรูปธรรม”

ที่ผ่านมาศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้บริการทางวิชาการทางสังคม และให้การอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรหลากหลายหลักสูตรสอดคล้องต่อความต้องการของสังคม โดยเฉพาะความสำคัญการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ทั้งหลักสูตรการสื่อสารด้านการเมืองท้องถิ่น การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเพื่อสร้างความเข้มแข็งในท้องถิ่น การวิจัยและพัฒนาด้านสื่อสารในงานการเมืองท้องถิ่น และอีกหลากหลายหลักสูตรที่เกี่ยวในด้านการสื่อสาร

ทางด้านดร.สมศักดิ์ ตันติเศรณี นายกเทศมนตรีนครสงขลา กล่าวว่าการพัฒนานครสงขลาได้รับความร่วมมืออย่างดีจากกลุ่มเป้าหมายประชาชนในพื้นที่การสื่อสารมีส่วนสำคัญ ทั้งนี้นอกจากการบริหารงานแล้ว ทางเทศบาลได้ใช้การสื่อสารเข้ามาช่วยในการสร้างความความรู้ความเข้าใจอันดี เช่นสงขลาย่านเมืองเก่าก้าวสู่มรดกโลก และล่าสุดอย่างโครงการพัฒนาลานกิจกรรมเมืองเพื่อพี่น้องชาวบ่อยาง เป็นอีกโครงการที่เห็นได้ชัด รวมถึงผลดำเนินการอีกหลายๆ โครงการที่ได้รับความร่วมมือการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างดี การสื่อสารได้เน้นเนื้อหาสาระที่สอดคล้องตามความต้องของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย การจัดทำสารที่นำเสนอให้อยู่ในรูปแบบที่กลุ่มเป้าหมายสามรถรับรู้ได้ เข้าใจได้อย่างชัดเจน และนำเสนอให้ครอบคลุมรอบด้าน ที่สำคัญให้ความสำคัญกับหลักการและกระบวนการใช้สื่อ การผลิตสื่อ การออกแบบสื่อไม่ว่าจะเป็นภาพ กราฟิก สี รวมทั้งเสียงที่ใช้ การอธิบายและขยายความผลดำเนินการโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่เทศบาลนครสงขลาได้ดำเนินการไปแต่ในละพื้นที่แต่ละโครงการอย่างเหมาะสมและมีความต่อเนื่อง

“เน้นประเด็นการพัฒนาโดยตรง โดยนำเสนอว่าเนื้อหาของสารว่ามีอะไรจะทำอะไรบ้าง มีความสำคัญอย่างไร และเน้นความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยได้นำเสนอประโยชน์ เหตุผลข้ออ้างต่างๆที่เป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะโครงการการปรับพื้นที่ริมทะเลสาบบริเวณท่าเทียบเรือเพื่อใช้เป็นลานกิจกรรมร่วมของทุกคนในชุมชน สร้างความเข้าใจและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี”

ส่วนการใช้สื่อเพื่องานประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจทางเทศบาลนครสงขลามีวิธีการและวางแผนการใช้ตามความเหมาะสม สื่อที่ใช้ มีทั้งสื่อผสม สื่อบุคคล สื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อท้องถิ่น สื่อกิจกรรม และสื่อใหม่ๆอย่างเฟสบุ๊ค เวปไซต์  และในอนาคตอาจพิจารณาใช้สื่อใหม่เข้ามาช่วยในการพัฒนาท้องถิ่นนครสงขลาให้ก้าวไกลต่อไป ดร.สมศักดิ์กล่าว

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

korphai ริมภู

korphai ริมภู

* นักเขียนอิสระ * นักข่าวอิสระ