X

รุกงานวิจัยพัฒนาท้องถิ่นสร้างฐานชุมชนเข้มแข็ง

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคมมสธ.ยุค4.0 รุกงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้และต่อยอดเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม พร้อมพัฒนาสื่อการเรียนรู้และปรับปรุงรูปแบบการเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

ยุคที่ความฉลาดของเทคโนโลยีจะทำให้อุปกรณ์ต่างๆสื่อสารและทำงานกันเองได้ ในยุคปัจจุบันยุค 4.0 เทคโนโลยีถูกนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อลดบทบาทของมนุษย์ และเพิ่มศักยภาพของมนุษย์ในการใช้ความคิดเพื่อข้ามขีดจำกัด สร้างสรรค์พัฒนาสิ่งใหม่ๆสื่อการเรียนรู้แบบ Interactive หรือ ไลฟ์สไตล์ยุคใหม่

รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ภายใต้การก่อตั้งของรศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยฯ และในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยในโครงการต่างๆเพื่อพัฒนาศักยภาพองค์กรและขับเคลื่อนงานวิจัย ผศ.ดร.สุภาภรณ์ ศรีดี ประธานสาขานิเทศศาสตร์(คณบดี) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯรศ.ดร.วิทยาธรบอกเล่าและตอกย้ำแนวคิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องว่า ในยุค 4.0 ต้องใช้งานวิจัยเข้าไปแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมอย่างจริงจัง โดยเฉพาะความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น-ท้องที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้ มุ่งเน้นบูรณาการและสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมเพื่อให้งานวิจัยได้ทำหน้าที่พัฒนาท้องถิ่นมากยิ่งขึ้นและยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นต่อไป รวมถึงการปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับปัญหาและทางพัฒนาสังคมทุกมิติ พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง

“ในปี 2562 เรายังคงมุ่งเน้นในเรื่องการวิจัยในท้องถิ่นเป็นสำคัญโดยเฉพาะงานวิจัยที่สามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาได้จริง เราไม่ทำวิจัยไว้บนหิ้ง งานวิจัยที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาและการพัฒนาทางสังคมในองค์กรปกครองท้องถิ่นและเครือข่ายชุมชนสามารถนำองค์ความรู้หรือผลงานวิจัยไปประยุกต์ ทั้งในแง่ความรู้ และข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจแทนการใช้ความรู้สึกหรืออารมณ์ จนนำไปสู่ความสามารถในการแก้ปัญหา พัฒนาตนเอง ชุมชนและสังคมในท้องถิ่นให้มีความสามารถพึ่งตนเองได้ เกิดความเข้มแข็งที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ในบทบาทการพัฒนาสังคมเรามีหลักการสูตรการเรียนรู้ ตลอดจนการอบรมด้วยโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ผ่านผ่านแอปพลิเคชันที่ง่ายและสะดวกสำหรับการเรียนยุคใหม่ รวมถึงการดำเนินการสำรวจความคิดเห็นอย่างต่อเนื่องภายใต้ “STOU PSC POLL” ตลอดจนการบริการวิชาการสู่สังคม การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม การพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นภายใต้โครงการและหลักสูตรการสื่อสารด้านต่างๆ ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม”

แรงผลักดันทางด้านเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในช่องทางการเรียนรู้ทุกรูปแบบ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาศักยภาพภายใต้หลักสูตรกลยุทธ์การออกแบบและการสื่อสารนโยบายการพัฒนาท้องถิ่น การพูดสำหรับผู้นำยุคใหม่ เป็นจุดแข็งของการให้บริการและได้รับความนิยมจากผู้นำในท้องถิ่นต่างๆเข้าร่วมพัฒนาศักยภาพและเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

“นอกจากพัฒนาสื่อการเรียนสอนผ่านแอปพลิเคชัน ยังมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมเครือข่ายภาคส่วนต่างๆ เพื่อร่วมจัดกิจกรรมบริการวิชาการแก่สังคมในชุมชนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง สร้างโมลเดลต้นแบบแห่งการเรียนรู้ร่วมชุมชนตามพื้นที่ต่างๆ ตามความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนรู้สามารถประยุกต์หลักการสื่อสารสู่การปฏิบัติพลังร่วมแก้ปัญหาในสังคม และการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ โดยสามารถถอดบทเรียนและประยุกต์การสื่อสารมาพัฒนาได้อย่างสร้างสรรค์ เป็นการตอกย้ำก้าวที่กล้าพัฒนาอย่างยั่งยืน”

แนวคิดสำคัญและความมุ่งมั่นของรองศาสตราจารย์ ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ประธานหลักสูตรแขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น/อาจารย์ผู้สอน-และที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ผศ.ดร.สุภาภรณ์ ศรีดี

งานวิจัยคือการจัดการ “องค์ความรู้”สามารถส่งผ่านต่อไปให้คนรุ่นหลังได้อย่างเป็นระบบและนำผลงานวิจัยไปประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ปัญญาและนวัตกรรมโดยสร้างการเรียนรู้ผ่านการวิจัยโดยเฉพาะในระดับชุมชนท้องถิ่น จะนำไปสู่สังคมฐานรากแห่งการเรียนรู้และสังคมฐานความรู้ที่พัฒนาแบบยั่งยืน

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

korphai ริมภู

korphai ริมภู

* นักเขียนอิสระ * นักข่าวอิสระ