X

พลังสภาเทศบาลเมืองทุ่งสงสัญจรชุมชนนวัตกรรมสื่อสารพลังพัฒนาท้องถิ่น

มิติใหม่การทำงานของ “สภาเทศบาลเมืองทุ่งสงสัญจรชุมชน พร้อมเครือข่ายข้าราชการส่วนท้องถิ่น พนักงานเทศบาล เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมพลังลงพื้นที่รับฟังปัญหา ความต้องการของประชาชน เดินหน้าขับเคลื่อนสร้างการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่น” ภายใต้โครงการพัฒนารูปแบบการสื่อสารเพื่อการบริการประชาชน 

“การมีส่วนร่วม” เป็นเครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่น การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หากขาดการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องย่อมส่งผลเสียหลายประการต่อการดำเนินงานการพัฒนาท้องถิ่น คณะผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่นมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการบริหารราชการท้องถิ่น ข้าราชการส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่นำโยบายของคณะผู้บริหารไปปฏิบัติเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ คือประชาชนในท้องถิ่นในฐานะผู้รับบริการ สภาเทศบาลเมืองทุ่งสงสัญจรชุมชน นับเป็นอีกกิจกกรมสำคัญ การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากการรับฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนในท้องถิ่น โดยคนท้องถิ่น เพื่อคนท้องถิ่น

นายมนตรี กัลยา ประธานสภาเทศบาลเมืองทุ่งสง เปิดเผยว่า สมาชิกสภาทุ่งสงสัญจรชุมชน เพื่อเป้าหมายสำคัญในการรับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนในชุมชนที่เกี่ยวเนื่องกับพันธกิจหน้าที่ของเทศบาลเมืองทุ่งสง รับฟังข้อเสนอแนะ รับแจ้งเรื่องราวปัญหา ความเดือดร้อน รับทราบข้อมูลการแก้ไขปัญหา รับฟังแนวทางการทำงานร่วมกัน เพื่อร่วมขับเคลื่อนเดินหน้าพัฒนาเมืองทุ่งสง สอดคล้องวิทัศน์เทศบาลเมืองทุ่งสงที่ว่า “ทุ่งสง ทุ่งสวรรค์”เป็นกิจกรรมซึ่งจัดให้มีขึ้นในระหว่างวันที่ 30-31 กรกฏาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้รับความร่วมมือจากพลังทุกภาคส่วน ทั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมืองทุ่งสง 3 เขต ส่วนราชการท้องถิ่น พนักงานเทศบาล เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน คณะกรรมการชุมชน ประชาชนในแต่ละชุมชนเสนอปัญหาและความต้องการในการพัฒนาชุมชนอย่างเต็มที่ โดยได้รับเกียรติจากรศ. ดร. วิทยาธร ท่อแก้ว อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ ประธานหลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และในฐานะที่ปรึกษาโครงการเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม

“สมาชิกสภาเทศมนตรีทั้งหมดได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนต้องฟังเสียงของประชาชนอย่างต่อเนื่องในหลากหลายรูปแบบ การลงพื้นที่สัญจรเป็นรูปแบบการประชุมรับฟังแบบเห็นหน้า เห็นตา ร่วมกิจกรรมให้เสนอแนะ แจ้งความทุกข์ร้อน มารับฟังแนวทางร่วมกัน มารับทราบข้อมูลการแก้ไขปัญหา รวมทั้งร่วมรับรู้ในอนาคตว่าข้างหน้าเทศบาลจะมีโครงการหรือพัฒนากิจกรรมใดบ้างในพื้นที่เทศบาลเมืองทุ่งสง”

รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ประธานหลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และในฐานะที่ปรึกษาโครงการพัฒนารูปแบบการสื่อสารเพื่อการบริการประชาชน ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า เทศบาลเมืองทุ่งสง มีบทบาทหน้าที่บริหารงานการพัฒนาท้องถิ่นและงานบริการให้กับประชาชน  ผ่านวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ โครงการ และกิจกรรมขององค์กรและผู้นำ การมีส่วนร่วมในมิติของการพัฒนาท้องถิ่นตามบทบาทหน้าที่ของเทศบาลในกิจกรรมที่สำคัญถือ เพราะการแก้ไขปัญหาของประชาชน คือ เป้าหมายข้ององค์กรที่ร่วมมือกันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ 1) การกำหนดช่องทางการรับเรื่องราวร้องทุกข์ 2) การลงพื้นที่ติดตามการแก้ปัญหาตามที่ร้องทุกข์ 3) การออกเยี่ยมบ้านประชาชนในพื้นที่ 4) การเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนตามกลุ่มเป้าหมาย และ 5) การรับฟังความคิดเห็นประชาชนเพื่อพัฒนาท้องถิ่นถือเป็นงานที่สำคัญ

“การสร้างการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นต้องอาศัยการสื่อสาร โดยการสื่อสารมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้ทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นพลังสำคัญในการสร้างสรรค์เมืองผ่านกลไกที่ออกแบบไว้รองรับ ระบบงานที่เกื้อหนุน กิจกรรมการมีส่วนร่วมที่ชัดเจน มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการกำหนดช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิผล มีวิธีการกำกับควบคุมการปฏิบัติงานร่วมกัน รวมทั้งมีการกำหนดผู้รับผิดชอบการดำเนินการสื่อสาร และการประเมินผลจะเป็นเครื่องมือในการพัฒนายกระดับคุณภาพและประสิทธิผลงานการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเทศบาลเมืองทุ่งสงอีกทางหนึ่งด้วย”

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

korphai ริมภู

korphai ริมภู

* นักเขียนอิสระ * นักข่าวอิสระ