X

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเวทีเสวนาโต๊ะกลม “บทบาทสื่อกับการเมืองในระบบประชาธิปไตย”

ปลุกกระแสการตื่นตัวการสื่อสารทางการเมืองผ่านวงเสวนาโต๊ะกลม“บทบาทสื่อกับการเมืองในระบบประชาธิปไตย”คณะกรรมการบริหารหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตแขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น นิเทศฯมสธ. รุกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ยุค4.0

วันนี้(21พย.61) เวลา 13.00-16.00 น.ณ ห้อง 1607 ชั้น 6 อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช คณะกรรมการบริหารหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตแขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น สาขาวิชานิเทศศาสตร์ จัดเสวนาโต๊ะกลมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 6 ภายใต้หัวข้อ “บทบาทสื่อกับการเมืองในระบบประชาธิปไตย” โดยมีวิทยากร ดร.เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ รองประธานกรรมการ หนังสือพิมพ์มติชน เป็นผู้บรรยาย ซึ่งได้รับเกียรติจาก รศ.ฐปนรรต พรหมอินทร์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชนประธานเปิดการเสวนา โดย ผศ.ดร.สุภาภรณ์ ศรีดี ประธานสาขานิเทศศาสตร์(คณบดี)กล่าวรายงาน

 

รศ.ฐปนรรต พรหมอินทร์

ดร.เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ รองประธานกรรมการ หนังสือพิมพ์มติชน กล่าวโดยสรุปอย่างน่าสนใจว่าบทบาทสื่อกับการเมืองมีมายาวนานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่4 เป็นต้นมา และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง แต่ที่สำคัญสื่อกับการเมืองเป็นสิ่งที่ผูกพันกันโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สื่อกับการเมืองแยกกันไม่ออกซึ่งความผูกพันกันระหว่างสองสิ่งนี้ทำให้หลายๆครั้งที่การเมืองจำเป็นต้องพึ่งพาสื่อเพื่อเป็นตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูลไปยังประชาชน ในหลากหลายทาง หลากหลายโอกาส จากผู้ส่งและผู้รับที่แตกต่างกันไปในแต่ละครั้ง

“การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทำให้สื่อโดยเฉพาะสื่อมวลชนต้องมีการปรับตัว และที่สำคัญปัจจุบันยุคเทคโนโลยีหรือที่เรียกว่ายุคดิจิทัลการสื่อสารเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและประชาชนมีความรู้ มีการศึกษามากขึ้น ทำให้ข้อมูลข่าวสารเป็นทางเลือกหลักในการบริโภคข้อมูลในชีวิตประจำวัน และยิ่งเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย ยิ่งทำให้ประชาชนคนไทยพุ่งความสนใจไปที่การสื่อสารทางการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งสำคัญสื่อสารมวลชนหรือผู้ที่ทำหน้าที่สื่อควรศึกษาและเรียนรู้ในเรื่องรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ อย่างถ่องแท้ด้วย”

ดร.เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์

ดร.เรืองชัย กล่าวอย่างน่าสนใจว่าประเทศไทยแม้จะมีกฎหมายทางด้านสื่อมวล แต่บทบาทและวิธีคิดของสื่อมวลชนกับการเมืองถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล ใครที่จะเข้ามาทำหน้าที่สื่อเพื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมของสื่อนั้นๆ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ทำให้เกิดการยุยงส่งเสริมให้เกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงถึงขั้นปะทะกัน แต่สื่อที่ดีควรมุ่งเน้นในเรื่องความถูกต้องและเป็นธรรม สื่อมวลชนอื่นๆหรือสื่อหนังสือพิมพ์สามารถสนับสนุนนักการเมืองได้เพราะเป็นสิทธิ หากนโยบายนั้นดีต่อส่วนรวมหรือประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งผู้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจะต้องเป็นผู้ใช้วิจารณญาณ ต้องมีความรู้

ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารและสื่อใหม่เข้ามามีบทบาทมากในทางการเมือง แต่สื่อเก่าโดยเฉพาะสื่อหนังสือพิมพ์ก็ยังมีบทบาทในระบบวิธีคิดของผู้อ่าน สามารถนำมาอ้างอิง ทบทวนทั้งนี้อยู่ที่การกำหนดประเด็นและที่สำคัญไม่เกี่ยวกับนำเสนอเนื้อหาสั้นหรือยาว หากจะมีการพัฒนาสื่อต้องพัฒนาตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะสื่อหนังสือพิมพ์ต้องสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะแต่ละกลุ่มแตกต่างกันออกไป เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเด็กเยาวชน และผลิตในปริมาณที่เหมาะสม

รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว

ด้านรศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ประธานหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตแขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น และในฐานะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า “การสื่อสารยุคใหม่ย่อมมีการแปรเปลี่ยนตามยุคตามสมัยตามบริบทที่เปลี่ยนไปทั้งนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานความรับผิดชอบ และเหนือสิ่งอื่นใดต้องยกระดับประชาชนให้รู้เท่าทัน และมีเรียนรู้ซึ่งในศตวรรษที่21 แหล่งเรียนรู้นั้นมีมากมาย แต่การเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่ดีมีคุณค่านั้นหัวใจสำคัญอยู่ที่วิธีการแสวงหาการสกัดความรู้ ซึ่งในด้านนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่นจะได้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่องต่อไป”

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

korphai ริมภู

korphai ริมภู

* นักเขียนอิสระ * นักข่าวอิสระ