X

รุกพัฒนาแกนนำ”พลเมือง”นักสื่อสารพัฒนาท้องถิ่น

สงขลาการสื่อสารในสนามเลือกตั้งนับว่ามีความสำคัญต่อการสร้างความนืยมทางการเมืองโดยเฉพาะสนามเลือกตั้งท้องถิ่น การสื่อสารนโยบายผ่านสื่อบุคคล หรือแกนนำทางการเมือง ต้องสร้าง พัฒนาศักยภาพ และธำรงรักษา เครือข่ายแกนนำทางการเมือง “พลเมือง” เป็นนักสื่อสารสร้างสรรค์ชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมการพัฒนาที่ยั่งยืน

การพัฒนา ทรัพยากร “คน”ก้าวสู่ “พลเมือง” ด้วยรูปแบบและกระบวนการเรียนรู้การสื่อสารนโยบายทางการเมือง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่น “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมพัฒนา” โดยใช้กลไกลเครือข่ายภาครัฐ เอกชน ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ ภาคประชาคม แบบบูรณาการ  ภายใต้ความรู้สึกเป็นเจ้าของท้องถิ่นร่วมกัน การพัฒนาศักยภาพแกนนำทางการเมือง  จิตอาสา ทำหน้าที่การสื่อสารสร้างการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่น

ทั้งนี้หากแกนนำทางการเมืองมีศักยภาพ อยู่ใกล้ชิดกับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งตลอดเวลา และเป็นผู้ที่มีทักษะด้านการสื่อสาร มีความรู้ความสามารถในถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ตลอดจนการนำเสนอปัญหาความต้องการ แนวทางการพัฒนา ในฐานะตัวแทนของชุมชนในแต่ละท้องถิ่น ด้วยทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ มีความเข้าใจในเนื้อหาสาระ โดยเฉพาะด้านนโยบาย ความมุ่งมั่นตั้งใจ วิสัยทัศน์การพัฒนา ของผู้นำ และประชาชนกลุ่มเป้าหมายแต่ละพื้นที่  จะสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการประชาชน

การสื่อสารระหว่างคนในชุมชนนั้น แกนนำทางการเมืองมักเป็นผู้ส่งสารหลัก การสื่อสารระหว่างแกนทางการเมือง กับชาวบ้านส่วนใหญ่จะเป็นการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ  โดยเน้นการพูดคุย แลกเปลี่ยนแนวคิด และปรึกษาปัญหากันระหว่างกลุ่ม สมาชิก แกนนำทางการเมือง มักใช้รูปแบบการสื่อสารผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน เช่น การปลูกจิตสำนึกและให้ความรู้ให้กับชาวบ้าน กิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนนำทางการเมือง อบรมความรู้ความเข้าใจด้านการสื่อสารในงานการเมือง การรณรงค์ทางการเมือง ซึ่งมุ่งเน้นทักษะการพูด เป็น“นักสื่อสารชุมชน” อย่างสร้างสรรค์

รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ประธานหลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสารการเมืองการปกครองท้องถิ่น สาขานิเทศศาสตร์  (อดีตรองอธิการบดีและคณบดีคณะนิเทศศาสตร์มสธ.) และที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม และในฐานะผู้เชี่ยวชาญที่คว่ำหวอดงานวิจัยภาคสนามด้านการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่นร่วม 30 ปี ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า การสื่อสารนโยบาย มีความสำคัญพอ ๆ กับ ตัวนโยบาย คือ นโยบายที่ดี สำเร็จไปแล้วครั้งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง คือการสื่อสารนโยบายที่ดี ดังนั้นในการพัฒนาท้องถิ่น ต้องให้ความสำคัญทั้งสองส่วน

คือการสื่อสารนโยบาย และผลการดำเนินงานเป็นหน้าที่ที่สำคัญของผู้สมัครรับเลือกตั้งกรณีเป็นฝ่ายการเมืองที่ประกาศตัวเขาไปทำงานในฐานะผู้บริหารองค์กร แต่การสื่อสารผลการดำเนินงานก็เป็นหน้าที่ของผู้ที่ทำหน้าที่ทางการเมืองผ่านการเลือกตั้งเข้ามาแล้ว สื่อสารให้สาธารณชนได้รับทราบ

การสื่อสารนโยบายจะต้องนำนโยบายที่ผ่านการพัฒนาอย่างเป็นระบบมาถ่ายทอดผ่านสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะ สื่อบุคคล หรือ “แกนนำ” ซึ่งเป็นสื่อที่มีบทบาทในงานการเมืองท้องถิ่น “สื่อบุคคล“ผ่านในรูปแบบการพูดคุย “สภากาแฟ” สื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในชุมชน โดยเฉพาะท้องถิ่นภาคใต้ สื่อบุคคลในรูปแบบ “สภากาแฟ” รวมถึงสื่ออื่นอย่าง ป้ายไวนิล สื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นแผ่นพับ  หนังสือพิมพ์เฉพาะกิจ ทั้งนี้การสื่อสารจะต้องแปลงนโยบายที่กำหนดเป็นสาระตรงตามลักษณะเฉพาะของสื่อนั้น ๆ เช่นสื่อบุคคล มุ่งเน้นทักษะการพูด การพูดในสภากาแฟเป็นรูปแบบการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อธิบายความหมาย ขยายความ สื่อบุคคลต้องมีทักษะการพูดคุยเป็นสำคัญ

ดังนั้นการสร้าง การพัฒนาแกนนำทางการเมืองที่มีคุณภาพเปรียบเสมือนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือทรัพยากร “คน” ผ่านงานการเมืองเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมการพัฒนาท้องถิ่น ต้องพัฒนาทักษะ”การพูด” ต้องมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสื่อสารนโนบายการเมือง  ด้วยวิธีการเรียนรู้ที่สนุก มุ่งเน้นเนื้อสาระ เพื่อปลุกจิตสำนึกให้เกิดความตระหนักรู้ มีความเข้าใจ และรักท้องถิ่น อย่างมีความหวัง และพร้อมทำหน้าที่ “พลเมือง”

ดังนั้นในงานการเมืองนอกจากผู้สมัครรับเลือกตั้ง แกนนำทางการเมือง หรือ นักสื่อสารยุคใหม่ในฐานะ “พลเมือง” ต้องมีทักษะด้านสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นที่เข้มแข็งแบบยั่งยืน

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

korphai ริมภู

korphai ริมภู

* นักเขียนอิสระ * นักข่าวอิสระ