X

นวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำเมืองทุ่งสง

นวัตกรรม การมีส่วนร่วม การบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำตรังเทศบาลเมืองทุ่งสง  ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับรู้ปัญหา ร่วมแก้ไข ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ผลการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จจากการทำงานร่วมการแก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วมระดับท้องถิ่นแบบยั่งยืน

นครศรีธรรมราช-ความสำเร็จจากผลการดำเนินงาน การบริหารจัดการน้ำเมืองทุ่งสงแบบบูรณา เป็นแนวคิดการพัฒนามาจากแนวคิดการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองที่ทุ่งสง ความสำเร็จการบริหารงานด้วยแนวคิดสำคัญจากกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนเพื่อแก้ไขปัญหาเมืองเพื่อให้เกิดการแก้ไขแบบยั่งยืนทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน โครงการดังกล่าวมีความโปร่งในการทำงาน จึงนับเป็นโครงการที่โดดเด่นและเป็นอีกโครงการหนึ่งที่มีความแตกต่างจากโครงการจากที่อื่นซึ่งแสดงให้เห็นศักยภาพการมีส่วนร่วม ทุกภาคส่วนที่เข้ามาแก้ไขปัญหาของเทศบาลเมืองทุ่งสง การมีส่วนร่วมของภาคีภาคต่าง ๆ ต่อการบริหารจัดการโครงการ

จุดเริ่มต้นด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการจัดการน้ำท่วมและภัยพิบัติประเทศเนเธอร์แลนด์โดยคณะผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเนเธอร์แลนด์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการน้ำ ประชาชนจากภาคส่วนต่าง ๆ ผู้นำชุมชน สถาบันสิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อมไทย โครงการชลประทานจังหวัดนครศรีธรรมราช นายอำเภอทุ่งสง

ที่สำคัญความมุ่งมั่นและตังใจของผู้บริหารเมืองทุ่งสงดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจนสามารถแก้ไขปัญหาได้ระดับหนึ่ง และมองเห็นว่าปัญหาดังกล่าวต้องใช้ความร่วมมือ ต่างคนต่างทำเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้านั้น ไม่สามารถแก้ปัญหาแบบยั่งยืนได้ และในอนาคตปัญหาน้ำแล้งก็จะเกิดขึ้นอีก จึงได้จุดประกายความคิดเพื่อการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบ ตั้งแต่คนต้นน้ำ กลางน้ำ ในพื้นที่ทุ่งสง จนถึงคนปลายน้ำลุ่มน้ำตรังตลอดสาย นี่คือความท้าทายของความเป็นผู้นำภายใต้แนวคิดการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ ที่มุ่งมั่นเพื่อแก้ไขทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้งในพื้นที่อย่างยั่งยืน

สอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขของสองจังหวัดทั้งนครศรีธรรมราชและตรังซึ่งให้ความสำคัญและมีความร่วมมือในการกระชับความร่วมมือแบบบูรณาการอย่างใกล้ชิดเพื่อแก้ปัญหาตลอดทั้งลุ่มน้ำให้สัมฤทธิ์ผล ทั้งระยะเร่งด่วนเป็น “วาระเร่งด่วนของลุ่มน้ำตรัง” ร่วมทั้งแก้ปัญหาระยะปานกลางและระยะยาว

ความร่วมมือดังกล่าว เทศบาลเมืองทุ่งสงได้รับมอบหมายให้ดำเนินการประสานงานและดำเนินการเพื่อระดมความคิดเห็นเครือข่ายลุ่มน้ำร่วมกันระหว่าง 2 จังหวัด ภายใต้กลไกระดับพื้นที่ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อเสริมสร้างกลไกลระบบราชการเดิมที่มีอยู่แล้วเป็นการขยายฐาน

นายทรงชัย วงษ์วัชรดำรง นายกเทศมนตรีเมืองทุ่งสง เปิดเผยให้ฟังอย่างน่าสนใจว่า“การบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับรู้ปัญหา ร่วมแก้ไข ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ตั้งแต่ปี 2559 ที่ผ่านมาที่เทศบาลเมืองทุ่งสง อำเภอทุ่งสงได้รับมอบหมายจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เป็นหน่วยงาน เจ้าภาพหลักในการประสานและขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำเชิงนิเวศของลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำตรัง ลุ่มน้ำท่าดี และลุ่มน้ำตาปี

นายทรงชัยเล่าว่าโครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมประยุกต์ใช้นวัตกรรม เพื่อสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับการปรับตัว และเพื่อรับมือและลดผลกระทบจากภัยแล้งและน้ำท่วมท่วมในพื้นที่3 ลุ่มน้ำ ที่สำคัญได้รับเกียรติจากหน่ายงานทางประเทศทางจังหวัดนครศรีธรรมราช และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา หัวหน้าส่วนราชการภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากมาย ถือเป็นการทำงานร่วมที่สำคัญของเทศบาลเมืองทุ่งสงอีกโครงการหนึ่ง ในฐานะหน่วยงานท้องถิ่นซึ่งมีโอกาสและได้ประสบการณ์จากการทำงานร่วมสำคัญระดับชาติ

ความสำเร็จของโครงการดังกล่าว นวัตกรรมที่สำคัญในระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นการส่งเสริมการจัดการน้ำในภาวะวิกฤติโดยการรักษาระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำเป็นการเตรียมความพร้อมของเมืองทุ่งซึ่งมีประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมและสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ โดยการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมติดตามความสำเร็จ ภายใต้การสนับสนุนร่วมมือ ร่วมใจอย่างจริงจังและต่อเนื่องจากส่วนราชการและองค์กรต่างๆ เพื่อรักษาความเป็นเมืองที่มีการจัดการเรื่องระบบนิเวศอย่างเข้าใจครอบคลุมทั้งด้านพื้นที่และกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

korphai ริมภู

korphai ริมภู

* นักเขียนอิสระ * นักข่าวอิสระ