X

“หลาดชุมทางทุ่งสง”ความสำเร็จจากคุณค่าสู่มูลค่า

“หลาดชุมทางทุ่งสง” นับเป็นความภาคภูมิใจของชาวทุ่งสง ทั้งในฐานะเจ้าบ้านที่ดีมีโอกาสต้อนรับผู้มาเยือนด้วยพื้นที่ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ “จากคุณค่าสู่มูลค่าเพิ่ม” ผลการดำเนินงานการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเทศบาลเมืองทุ่งสงจากแนวคิดของผู้บริหาร แบบบูรณาการร่วมจากทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้งานวิจัยจากสถานบันการศึกษา และภูมิปัญญาในท้องถิ่น

การบริหารงานเทศบาลเมืองทุ่งสง นายทรงชัย วงษ์วัชรดำรง นายกเทศมนตรีเมืองทุ่งสงพัฒนาด้านเศรษฐกิจ จากแนวคิดมุ่งเน้นเพิ่มศักยภาพการพัฒนาและส่งเสริมการค้าขาย กลุ่มอาชีพค้าขายในชุมชน ขับเคลื่อนการบริหารงานบรรลุเป้าหมายอย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะ โครงการภายใต้กิจกรรม “หลาดชุมทางทุ่งสง”

“หลาดชุมชนทางทุ่งสง” หรือโครงการถนนคนเดิน วิถีสีสันบน“ถนนสายวัฒนธรรม” ของเทศบาลเมืองทุ่งสง นับเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ไม่เพียงในแง่ของความสำเร็จแนวคิด “คุณค่าสู่มูลค่าเพิ่ม”เท่านั้น ทว่ายังสะท้อนถึง พลังร่วมการพัฒนาของคนในท้องถิ่นอย่างเข้มแข็ง” ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม จากการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงวัฒนธรรม “ตลาดวัฒนธรรม”จากคุณค่าสู่มูลค่า ย่านอาคารเก่าบ้านพักรถไฟฟื้นวิถีชุมทางรถไฟให้มีชีวิตชีวา การตระหนักและสร้างความเข้าใจรากเหง้าทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้วยกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมืองทุ่งสงเชื่อมโยงกับพื้นที่ใกล้เคียงโดยชุมชนมีส่วนร่วม การบูรณาการงานศิลปวัฒนธรรมทุ่งสง พัฒนาเพื่อดำเนินการอย่างต่อเนื่อง “เปิดพื้นที่” งานศิลปวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม

ทรงชัย นายกเทศมนตรีทุ่งสง หนึ่งในผู้ “นำร่อง” เปิดพื้นที่ด้วยบูรณาการสานพลังสามภาคส่วน ภาคราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมทุ่งสง ภาคราชการก็คือ ทั้งเทศบาลและสภาวัฒนธรรม เอกชน คือ ตระกูลของยิบอินซอย กับ ธนาคารไทยพาณิชย์ ประชาสังคม คือ ชุมชนรถไฟหลายร้อยหลังคาเรือน ทุ่งสงไม่ใช่เมืองศิลปวัฒนธรรมโดยตรงแต่มีศักยภาพพร้อมจะเป็นศูนย์กลางพัฒนางานด้านนี้ ด้วยการแปร “คุณค่า” ของงานศิลปวัฒนธรรมปักษ์ใต้เป็น “มูลค่า” ได้จริง

การ​ “สานพลัง” ของสามภาคส่วนซึ่งเทศบาลเมืองทุ่งสงเล็งเห็นศักยภาพเมื่อครั้งอดีตที่โดดเด่นในฐานะเมือง “ชุมทาง” ทั้งคมนาคมและศูนย์กลางธุรกิจจากสองฝั่งทะเลทั้งตะวันตกและตะวันออก ทางรถไฟสายใต้จึงมาสุดที่ทุ่งสงเป็นสถานีปลายทางแห่งแรก ความรุ่งเรืองของด้านเศรษฐกิจตามร่องรอยของบริษัทยิบอินซอยมาปักหลักด้วยธุรกิจค้าแร่จากสองฝั่งทะเลที่ทุ่งสงเป็นศูนย์รวม การให้บริการของสถาบันการเงินในระดับภูมิภาคของธนาคารไทยพาณิชย์เปิดสาขาต่างจังหวัดที่ทุ่งสงเป็นสาขาแรกทุ่งสงจึงเป็น “ชุมทาง” สำคัญที่สร้างเศรษฐกิจ

ด้วยจุดแข็งและศักยภาพของเมือง ทางเทศบาลเมืองทุ่งสงได้มีการวางผังพื้นที่โดยกำหนดย่านวัฒนธรรมสำคัญ จัดทำโครงการถนนคนเดินภายใต้ชื่อ “หลาดชุมทางทุ่งสง” โดยอาศัยพลังร่วมหน่วยงานที่เกี่่ยวข้องทุกภาคส่วนโดยเฉพาะคณะกรรมการประชาคมวัฒนธรรมอำเภอทุ่งสง นำร่องการเปิดพื้นที่ย่านวัฒนธรรมที่ชัดเจนด้วยความเข้าใจ “เป็นความต้องการของคนใน”เพื่อผลักดันตลาดวัฒนธรรมวิถี และภูมิปัญญาภาคใต้ บนพื้นที่ ย่านถนนชัยชุมพลตั้งแต่สี่แยกชนปรีดาถึงหอนาฬิกาทุ่งสง ถนนสายวัฒนธรรมดังกล่าวมีความยาวประมาณ 160 เมตร พื้นที่รวม 2,275 ตารางเมตร อย่างเป็นรูปธรรมมีชาวทุ่งสงทุกคนเป็นเจ้าของตลาดจึง เป็นตลาดของคนทุ่งสงอย่างแท้จริง

นายทรงชัยเปิดเผยให้ฟังอย่างน่าสนใจว่า “หลาดชุมทางทุ่งสง” ได้เปิดอย่างเป็นการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2561 ที่ผ่านมา เป็นความภาคภูมิใจทั้งในแง่ ความสำเร็จ“แนวคิดตลาดวัฒนธรรมท้องถิ่น” และความสนใจของหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาเที่ยวชม ศึกษาเรียนรู้ และดูงานอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการส่งเสริมและพัฒนาด้านเศรษฐกิจชุมชนของทางเทศบาล สามารถสร้างรายได้แก่คนในชุมชนท้องถิ่น ที่สำคัญการบูรณาการร่วมโครงการดังกล่าว เป็นกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างภาคประชาสังคม เครือข่ายศิลปินหรือชุมชน และสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและพื้นที่ ร่วมพัฒนาเพื่อเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรมสำหรับผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม และวิสาหกิจทางวัฒนธรรมในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งสถานที่จัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะการซื้อขายสินค้าทางวัฒนธรรม การจัดพบปะสังสรรค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ พิพิธภัณฑ์การแสดงผลงาน รวมทั้งการจำหน่ายสินค้าหัตถกรรม อาหารพื้นถิ่นและเครื่องดื่ม การแสดงพื้นบ้านและการแสดงร่วมสมัย เป็นตลาดที่มุ่งเน้นสินค้าปลอดภัย อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น รักษ์โลก และสิ่งแวดล้อม

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

korphai ริมภู

korphai ริมภู

* นักเขียนอิสระ * นักข่าวอิสระ