X

เล่าเรื่องเมืองสุพรรณฯ ผ่าน “กิจกรรม CSR” แลกเปลี่ยนเรียนรู้สื่อสารเพื่อพัฒนาชุมชน

ส่อง“กิจกรรม”CSR แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สื่อสารพัฒนาชุมชน บทบาทการพัฒนาบุคลากรสู่ “ภูมิทัศน์การศึกษาใหม่” ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเร่งด่วน โดยเฉพาะการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ “มสธ.ที่ไหน เวลาใน ใครก็เรียนได้”

ท่ามกลางสถานการณ์ และการรับมือกับสาธารณภัย covid-19 ภัยของมวลมนุษย์ทั่วโลก หลายประเทศยังคงรุนแรง และแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว การอุบัติของโรคใหม่ ในโลกยุคใหม่ยุคดิจิทัลที่มีความทันสมัยได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน สังคม เศรษฐกิจภายเวลาอันรวดเร็วเร็วเช่นกัน

เมื่อเหลียวหลังย้อนมองเทคโนโลยีดิจิทัลที่ได้พาผู้คนและโลกก้าวข้ามข้อจำกัดของพรมแดน กาลเวลา และโลกกายภาพ พร้อมกับทำให้ปัญญาประดิษฐ์ หรือAI Artificial Intelligence เข้ามามีบทบาทในการจัดการชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมยุคใหม่อย่างมีนัยสำคัญ โลกวันนี้จึงเคลื่อนไหวสร้างความเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ

โดยเฉพาะมิติภายใต้ร่มเงาของ การศึกษา ระบบการศึกษา และ “สถาบันการศึกษา” กลุ่มคนเล็ก ๆ ร่วม 30 ชีวิต หลักสูตรปริญญาเอกนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่นรุ่น 1 สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชลงพื้นที่ “สุพรรณบุรี”กิจกรรม CSR “ธนาคารน้ำใต้ดิน”ร่วมกับพี่น้องในชุมชนตำบลบ้านดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

มีเจ้าบ้าน 2 แรงแข็งขันอย่าง“อนุศักดิ์ คงมารัย” หรือ “หมอหน่อย”ประธานรุ่น และ “สรชัด สุจิตต์”ให้การต้อนรับพร้อมพาสัมผัสพื้นที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาคสนามอย่างสนุก และมีสาระ “ชัยยุทธ สินสูงสุด” เลขารุ่นทำหน้าที่ประสานงานขันอาสาช่วยเหลือเกื้อกูลการจัดการทุกกิจกรรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

บรรยากาศการต้อนรับด้วยความอบอุ่นของพี่น้องตำบลดอนคา คำบอกเล่าของปัญหาภัยแล้ง และแนวทางการแก้ด้วยภูมิปัญญา ผนวกกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมจากชุมชนในพื้นที่ “สรชัด”เล่าถึงแนวทางการทำงานร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ ได้อย่างน่าสนใจ จากแนวคิดการนำร่อง “ธนาคารน้ำใต้ดิน”ทางเลือกสำคัญที่กำลังขับเคลื่อน ซึ่งทีมนักศึกษาป.เอกนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่นรุ่น 1 มีโอกาสลงพื้นที่ได้ร่วมกิจกรรม “พลังร่วม พลังสังคม พลังสื่อสาร พลังการพัฒนา”

“ธนาคารน้ำใต้ดิน” อีกทางเลือกของชุมชน“สรชัด” บอกเล่าให้ฟังอย่างน่าสนใจว่า ปัญหาภัยแล้งและขาดน้ำบริโภค-อุปโภคในพื้นที่นอกเขตชลประทานโดยเฉพาะ.อำเภออู่ทองชาวบ้านประสบอยู่ทุกปี “ธนาคารน้ำใต้ดิน”จึงเป็นทางเลือกที่ชุมชน บ้าน วัด โรงเรียนในพื้นให้ความสนใจร่วมมือกัน เป็นแนวทางสำคัญ การนำน้ำไปเก็บที่ชั้นใต้ดินในชั้นหินอุ้มน้ำ ในช่วงหน้าฝนที่มีน้ำมาก ธนาคารน้ำใต้ดินจะช่วยดูดซับน้ำเพื่อนำไปกักเก็บไว้ เมื่อถึงช่วงหน้าแล้งก็สามารถสูบน้ำมาใช้ได้ ธนาคารน้ำใต้ดินที่นิยมทำกันอยู่ มี 2 ประเภท คือธนาคารน้ำใต้ดิน“ระบบปิด”และธนาคารน้ำใต้ดิน “ระบบเปิด”ตามหลักการหากทำธนาคารน้ำใต้ดินทั้ง 2 ประเภทควบคู่ไปด้วยกัน จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด

โดยหลักการ เป็นการขุดบ่อ เจาะท่อ เพื่อส่งน้ำลงไปเก็บไว้ที่ชั้นน้ำบาดาล  ขนาดและความลึกของบ่อขึ้นอยู่กับสภาพและชั้นดินของแต่ละพื้นที่   วิธีการชาวบ้านจะขุดบ่อให้ลึกถึงชั้นหินอุ้มน้ำ จากนั้นใส่ยางรถยนต์เพื่อป้องกันขอบบ่อพังทลาย  ใส่วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ เช่น อิฐหิน เศษปูน ขวดน้ำ ท่อนไม้  ใส่ให้เต็มช่องว่างด้านนอกยางรถยนต์ และนำท่อ PVC มาวางตรงกลางบ่อเพื่อเป็นช่องระบายอากาศ  จากนั้นจึงนำวัสดุชนิดเดียวกันมาใส่ช่องว่างด้านในให้เต็ม  คลุมด้วยผ้าไนล่อน แล้วทับด้วยก้อนหินและตามด้วยหินละเอียด เพื่อเป็นตัวกรองให้เศษดินหรือขยะไม่ให้เข้าไปอุดตันในบ่อ

เมื่อฝนตกลงมา น้ำจะไหลจากผิวดินลงสู่ชั้นใต้ดินโดยตรง ผ่านระบบธนาคารน้ำใต้ดินนี้   น้ำที่ถูกเติมลงในชั้นหินอุ้มน้ำจนปริมาณมากพอ ก็จะเอ่อล้นขึ้นมาที่บ่อโดยอัตโนมัติ  เกษตรกรสามารถสูบน้ำจากบ่อนี้มาใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องขุดเจาะหาแหล่งน้ำหรือสูบน้ำจากแหล่งน้ำห่างไกล  ประหยัดพลังงาน  ช่วยลดค่าใช้จ่าย

บทบาทการพัฒนาบุคลากรสู่ “ภูมิทัศน์การศึกษาใหม่” ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ “มสธ.ที่ไหน เวลาใน ใครก็เรียนได้”

แนวคิดสำคัญซึ่งส่งผลต่อการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนในหลักสูตรระดับปริญญาเอกนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น รุ่นที่ 1 สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วม 30 ชีวิต จาก 2 กลุ่มกลุ่มการเรียนจากศูนย์เฉพาะกิจสงขลา และศูนย์นนทบุรี

ด้วยความโดดเด่นการออกแบบหลักสูตร กระบวนการและรูปแบบ ตลอดจนการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ โดยรศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ในฐานะประธานหลักสูตร พร้อมทีมคณาจารย์ผู้สอนที่เชี่ยวชาญ รวมถึงความโดดเด่นของกลุ่มผู้เรียนซึ่งมีหลากหลายอาชีพ หลากหลายช่วงอายุ การสื่อสารระหว่างกลุ่มและการสร้างกิจกรรมสานสัมพันธ์ในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเสมือน “รวมเป็นหนึ่งเดียวแห่งเกลียวสัมพันธ์”

การเดินทางลงพื้นที่เพื่อเยือนสุพรรณบุรี ดินแดนที่ได้ชื่อแห่งความอุดมสมบูรณ์บนพื้นที่ราบภาคกลางระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ -1 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา ภายใต้กิจกรรม “การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาเอกนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น”รุ่น 1 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เรียนรู้จากภาคสนาม และภาคทฤษฎีอย่างเข้มข้นตามเกณฑ์และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เรียนรู้พัฒนาตน เพื่อพัฒนาหน่วยงาน ชุมชน และสังคม การเรียนรู้พร้อมทำงานควบคู่กันไปในเวลาเดียวกัน “เรียนอย่างมีความสุข จบอย่างมีคุณภาพ”

สื่อสารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ความงดงามของเมืองสุพรรณบุรีผ่านการเล่าเรื่องและการพาลงพื้นที่ของ “หมอหน่อย”จากการเดินทางและกิจกรรมเพื่อนมัสการหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์สูง 21 เมตร และหลวงพ่อโตทองคำ เดินชมจิตรกรรมฝาผนังตำนานขุนช้าง-ขุนแผน และบ้านขุนช้าง กราบเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี เทวรูปหินทรายยุคสุพรรณภูมิ ชมพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร เพื่อถ่ายภาพหน้ามังกรยักษ์ ถอดบทเรียนการ“สื่อสารการท่องเที่ยวพร้อมฟังการเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์”เจ้าบ้านที่ดีเมื่อทำหน้าที่“นักสื่อสาร” ก่อนเดินทางเข้าสู่ ดาราปุระ ณ วังยาง

สื่อสารเพื่อสุขภาพ จากกิจกรรมยามเช้า ยืดเส้นเคล้นสายคลายข้อ เดินสวนเท้าเปล่ากดจุดสะท้อนฝ่าเท้าสู่อวัยวะภายใน ฝึกลมปราณเพิ่มพลังชีวิต สปาเท้าและดื่มน้ำผักปั่นสด การเล่าเรื่องจากประสบการณ์ตรงของ “หมอหน่อย” เล่าเรื่องการเดินเท้าเปล่าย่ำลงบนพื้นดินหรือหญ้าที่มีความชื้นคงที่ ประมาณ 10 นาที ช่วยให้กล้ามเนื้อที่เท้าแข็งแรงไม่เสื่อมสภาพเร็วเกินวัย ที่สำคัญคือช่วยให้โครงสร้างกระดูกของเท้าทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนในสมัยก่อนอายุยืนยาว คือการได้สัมผัสกับธรรมชาติที่แท้จริง การเปลือยเท้าย่ำบนดิน บนหญ้า บนน้ำค้าง หรือหาดทราย ทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี นับเป็นการนวดฝ่าเท้า เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดความกระปรี้กระเปร่า

แนวคิดและมุมมองของคนรุ่นก่อน-รุ่นใหม่ระหว่าง “หมอหน่อย”“เบียร์” “โต๋” “โอม”ผ่านบทสนทนาจากเรื่องราวของ “เทพซูส” ไม่เพียงแค่การเล่าเรื่องที่สนุก ทว่าบทสนทนาที่ผ่านกาลเวลายามอรุณรุ่งของกลุ่มสองวัย กลับพบว่าพวกเขาได้แลกเปลี่ยนพร้อมประยุกต์และยกตัวอย่างจากเรื่องเล่าเพื่ออธิบายการดูแลและรักษาสุขภาพได้อย่างน่าสนใจ “สื่อสารสุขภาพ”เรียนรู้ร่วมสมัย เรียนรู้ยุคใหม่คุณค่านอกห้องเรียน ถอดบทเรียนการสื่อสารสุขภาพที่สนุกและมีสาระ ก่อนที่ทุกคนกลับห้องทำภารกิจส่วนตัว เพื่อเรียนรู้ด้านวิชาการอย่างเข้มข้น ผ่อนคลายด้วยการสังสรรค์ยามค่ำคืนด้วยบรรยากาศการย้อนยุค “มนต์รักลูกทุ่ง”สื่อสารสร้างสรรค์ผ่านการแสดง

การสืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต“มสธ.ที่ไหน เวลาใน ใครก็เรียนได้”

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

korphai ริมภู

korphai ริมภู

* นักเขียนอิสระ * นักข่าวอิสระ