X

มสธ. ใช้“แอพพลิเคชั่น”สื่อสารการท่องเที่ยวรุกเกาะสาหร่าย “โมเดลนำร่องตำบลต้นแบบ”

มสธ.จับมือหอการค้าสตูลขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นด้วยงานวิจัยภายใต้โครงการ “นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนบ้านเกาะสาหร่าย” โมเดลนำร่อง ตำบลต้นแบบด้านการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวด้วยแอพพลิเคชั่น

กิจกรรมด้านวิชาการโดยการนำนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อพัฒนาสังคมระหว่างวันที่ 19-21 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมาของบรรดาคณาจารย์ บัณฑิต นักศึกษา สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นำโดย

รองศาสตราจารย์ ดร. วิทยาธร ท่อแก้ว ประธานหลักสูตร แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น/อาจารย์ผู้สอน-เจ้าของโครงการ และที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์ รองศาสตราจารย์จันทนา ทองประยูร รองศาสตราจารย์ธีรารักษ์ โพธิสุวรรณ รองศาสตราจารย์อมรพรรณ ซุ้มโชคชัยกุล และหอการค้าจังหวัดสตูล

รองศาสตราจารย์ ดร. วิทยาธร ท่อแก้ว

โดย ดร. พิทักษ์สิทธิ์ ชีวรัฐพัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดสตูล ลงลุยพื้นที่ภาคสนามบริการวิชการแก่การแก่สังคมภายใต้โครงการ “นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนบ้านเกาะสาหร่าย”การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายภาคประชาคมในชุมชนท้องถิ่น ด้วยพลังความมุ่งมั่นตั้งใจ ณ เกาะสาหร่าย ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล การมีส่วนร่วมของชาวบ้าน-ผู้นำท้องที่-ท้องถิ่น-ภาคเอกชนภาพสะท้อนพลังร่วมโดยสถาบันการศึกษาและการขับเคลื่อนงานวิจัยสะพานเชื่อมความรู้ความเข้าใจการพัฒนาท้องถิ่นสู่ความเข้มแข็งที่ยังยืน

“การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านกันใหญ่ ระหว่างคณาจารย์ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน หอการค้าจังหวัดสตูล ตัวแทนชาวบ้านในหมู่ 1,2,3 กว่า 50 ทั้งเครือข่ายผู้นำสตรี ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำศาสนา เยาวชน ได้ร่วมกันออกแบบและนำเสนอความต้องการด้านการ

พัฒนาท่องเที่ยวบนเกาะสาหร่าย กระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นเป็นการเปิดโอกาสให้ตัวแทนเคือข่ายต่างๆในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงและความคิดเห็นผ่านเวทีสาธารณะเพื่อประกอบการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังเป็นกระบวนการเรียนรู้การสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนหลากหลายแง่มุมแตกต่างกันออกไป เพราะได้รับความร่วมมือหลักจากศิษย์เก่าด้านนิเทศศาสตร์ในฐานะประธานหอการค้า ศิษย์เก่านิเทศศาสตร์และเป็นอาจารย์ด้านนิเทศศาสตร์ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ พลังสื่อสาร พลังประชาชน พลังการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่นคำกล่าวสั้นๆ ในมิติการสื่อสารเพื่อการพัฒนาสังคมของ รองศาสตราจารย์ ดร. วิทยาธร ท่อแก้ว ประธานหลักสูตรแขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น/อาจารย์ผู้สอน-เจ้าของโครงการ ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม

 

รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยาธร ย้ำว่าด้วยพลังความร่วมมือของทุกๆภาคส่วน ได้ขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมอย่างต่อเนื่องและที่สำคัญปี 2561 นี้ เนื่องในโอกาสมหาวิทยาลัยครบรอบการสถาปนา 40 ปี และ 34 ปี นิเทศศษสตร์ มสธ. สาขาวิชานิเทศศาสตร์จึงเห็นควรจัดชุดกิจกรรมทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ศักยภาพของมหาวิทยาลัยผ่านชุดกิจกรรมทางวิชาการเชิงสร้างสรรค์ของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ภายใต้การชูประเด็นหลัก “นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อพัฒนาประเทศในยุค 4.0” ซึ่งมีกิจกรรมย่อยหลากหลาย รวมถึงการให้คำปรึกษาเพื่อร่วมพัฒนาศักยภาพทางการสื่อสารแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกลด้านนวัตกรรมการสื่อสารองค์กร จำนวน 1 ตำบล เพื่อพัฒนาตำบลก้าวสู่ “ตำบลต้นแบบด้านนวัตกรรมการสื่อสารองค์กร” เป็นกิจกรรมปฏิบัติการภาคสนามสำคัญในการสร้างบทบาทและภาพลักษณ์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มสธ. ด้านส่งเสริมสนับสนุนประเทศไทย 4.0 โดยสาขาวิชานิเทศศาสตร์ออกแบบและพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่อการสื่อสารการท่องเที่ยวสำหรับตำบลต้นแบบ

การให้คำปรึกษาเพื่อร่วมพัฒนาศักยภาพทางการสื่อสารแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกลด้านนวัตกรรมการสื่อสารองค์กร จำนวน 1 ตำบล เพื่อพัฒนาตำบลก้าวสู่ “ตำบลต้นแบบด้านนวัตกรรมการสื่อสารองค์กร” สาขาวิชานิเทศศาสตร์ได้เลือกพื้นที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นตำบลห่างไกล ตั้งอยู่บนเกาะ มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก ประกอบกับสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มีศูนย์บริการการศึกษาเฉพาะกิจที่จัดการเรียนการสอนบริการนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 8 คน และทางองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่ายมีความต้องการพัฒนาศักยภาพทางการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนของตำบลอยู่ในขณะนี้

ด้าน ดร. พิทักษ์สิทธิ์ ชีวรัฐพัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดสตูล กล่าวว่าจังหวัดสตูลเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่เป็นหมู่เกาะต่างๆ ที่งดงามรวมถึงความสมบูรณ์ของและความมหัศจรรย์พันธุ์ไม้ที่งดงามในเขตร้อนชื้นที่จากอุทยานแห่งชาติทะเลบัน แหล่งท่องเที่ยวทางบก อย่างถ้ำภูผาเพชร เป็นถ้ำที่มีหินงอก หินย้อยที่สวยงาม น้ำตกวังสายทอง และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดสตูล ที่สำคัญแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ในพื้นที่เกาะสาหร่ายอย่างสันหลังมังกร รวมถึงมีด่านวังประจัน กับท่าเทียบเรือตำมะลัง ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับประเทศมาเลเซีย

ดร. พิทักษ์สิทธิ์ ชีวรัฐพัฒน์

การพัฒนาระบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนให้เข็มแข็งโดยส่งเสริมการมีส่วนรวมของชุมชนและท้องถิ่นสู่การท่องเที่ยวชุมชน การเพิ่มขีดความสามารถบุคลากรและเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการแก่ผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าที่ระลึกที่เป็นอัตลักษณ์พัฒนามาตรฐาน และมุ่งเน้นด้านความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวสิ่งเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญซึ่งต้องอาศัยทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน

ความร่วมมือการพัฒนาท้องถิ่นระหว่างมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและหอการค้าจังหวัดสตูลภายใต้กิจกรรมบริการวิชาการแก่ชุมชนบนเกาะสาหร่ายเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้แสดงความคิดเห็น ได้กำหนดสิ่งที่ต้องการในด้านการท่องเที่ยวเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมการสื่อสารเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมพัฒนา ร่วมรับผิดชอบและยอมรับผลการพัฒนาภายใต้ความรู้สึกเป็นเจ้าของเกาะสาหร่ายร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องต่อกับความต้องการของคนในชุมชน

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

korphai ริมภู

korphai ริมภู

* นักเขียนอิสระ * นักข่าวอิสระ