X

จุฬาฯจัดเสวนา ‘เลือกตั้ง 62 ฟรีและแฟร์สำหรับใคร ?’ เมื่อการเลืกตั้ง ‘ถ้าไฟจะดับก็ดับได้’

จุฬาฯจัดเวนา “เลือกตั้ง กุมภาฯ 62 ฟรีและแฟร์สำหรับใคร ?” โดยมีหัวหน้าภาควิชา นักวิชาการ และ ผู้เชียวชาญทางการเมืองร่วมเสวนา มองว่า ประชาชนต้องมีความรู้ที่เพียงพอและตระหนักรู้ว่า “ทำไมต้องไปเลือกตั้ง ?” พร้อมเรียกร้องว่า คสช. เองก็ต้องสร้างความยุติธรรมให้การเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่ใช้อำนาจเข้าไปแทรกแซงการเลือกตั้ง

(19 ก.พ. 61) ดร.อลงกรณ์ ปริวุฒิพงศ์ ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานการเสวนา เรื่อง “เลือกตั้ง กุมภาฯ 62 ฟรีและแฟร์สำหรับใคร ?” โดยมี อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการร่วมเสวนในครั้บนี้ ที่ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวนสวัสดี หัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่า โดยทั่วไปการเลือกตั้งเป็นเครื่องมือเปลี่ยนผ่านทางการเมืองที่สันติที่สุด โดยการเปลี่ยนจากกระสุนมาเป็นบัตรเลือกตั้ง แต่ตั้งคำถามว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะสามารถเปลี่ยนผ่านจากระบบอำนาจนิยม มาเป็นประชาธิปไตยเต็มตัวได้หรือไม่ ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้ยังคงต้องจับตามองว่า จะสามารถเปลี่ยนได้สำเร็จหรือไม่ ? ถ้าหากไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จะทำให้เราตกอยู่ในเขาวงกดทางการเมืองแบบเดิมหรือไม่ ? หรือจะเป็นเครื่องมือให้ระบอบอำนาจนิยมสร้างความชอบธรรมจนนำไปสู่ความขัดแย้งหรือไม่ ?

ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้ จะต้องสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนและทำให้ประชาชนตระหนักรู้ว่า “ทำไมประชาชนต้องไปเลือกตั้ง ?” ซึ่งการเลือกตั้งจะต้องเป็นที่ยอมรับด้วย การเลือกตั้งต้องมีเสถียรภาพ ประชาชนจะต้องมีความรู้มากเพียงพอ และผลการเลือกตั้งจะต้องมีความชอบธรรมในการคิดและคำนวนคะแนนเสียงด้วย ซึ่งในบางประเทศเกิดปัญหาว่า ได้คะแนนนิยมสูง แต่ได้จำนวนผู้นั่งน้อยก็สามารถนำไปสู่นำความขัดแย้ง

โดยการเลือกตั้งครั้งนี้มีบัตรเลือกตั้งใบเดียว รศ.ดร.สิริพรรณ มองว่าอาจนำไปสู่ความขัดแย้งพร้อมตั้งคำถามว่า ถ้าหากเราลงเสียงครั้งนี้ เราจะเลือกเพราะผู้สมัครประจำเขต , นโยบายพรรค หรือ รายชื่อนายกฯ ? ซึ่งไม่มีกระบวนการตรวจสอบ ประกอบกับการเลือกตั้งครั้งนี้ อาจทำให้ประชาชนคลางแคลงใจเพราะ คสช. เป็นทั้งผู้เขียนกฏและผู้เล่น จะสามารถสร้างความเป็นธรรมได้หรือไม่ ? ซึ่งหนึ่งในตัวแปรสำคัญคือ กกต. ว่าจะสามารถจัดการเลือกตั้งอย่างเป็นธรรมกับทุกฝ่ายได้หรือไม่ ? ซึ่ง กกต. เองก็แสดงความกังวลใจส่วนหนึ่ง ขณะที่อีกหนึ่งคำถามที่ตั้งขึ้นมาคือ ทั่วประเทศควรจะมีเบอร์เดียวทั้งประเทศหรือไม่ ? ซึ่งทาง กกต.ระบุว่า พร้อมที่จะจัดหมายเลข แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ให้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตก่อนและจึงจะนำเลขไปลงเป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งหากพรรคการเมืองร่วมมือกันก็คงจะไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าหากมีพรรคใดพรรคหนึ่งไม่ทำตามข้อตกลงหละ ?

ขณะที่ส่งเองก็จะเข้ามามีบทบาทในการเลือกตั้งครั้งนี้ สื่อไม่จำเป็นต้องตรงไปตรงมา แต่จำเป็นต้องเสนอข้อมูลให้ตรงไปตรงกลาง ให้เป็นธรรม เพราะสื่อจะเป็นหนึ่งในตัวแปรของการเลือกตั้ง ฉะนั้นสื่อจะเป้นตัวแสดงหลักที่จะเปิดเผยว่ามีการโกง มีการทุจริตการเลือกตั้งตรงไหนบ้าง สำหรับการเลือกตั้ง โครงสร้างส่วนใหญ่เราต้องยอมรับว่า คสช. ยังมีบทบาทสำคัญ เช่น บางพรรคการเมืองเดินหาเสียงก็มีทหารเดินประกบ หรือการใช้มาตรา 44 จะมีการเปลี่ยนแปลงกฎกติกาอะไรอีกหรือไม่ ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราต้องจับตามอง

ดร.สติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า ระบุว่า จากการศึกษาพบว่าประชาชนกว่า ร้อยละ 30 ยังไม่ทราบว่า ส.ส. เขตในการเลือกตั้งนี้จะมีกี่คน ซึ่งการเลือกตั้งแบบบัตรเดียวแบบนี้ เป็นการปิดโอกาสให้พรรคการเมืองเดียวเป็นรัฐบาลหรือไม่ ? ซึ่งแน่นอน ไม่ได้ปิดโอกาสให้พรรคเดียวเป็นรัฐบาลได้ แต่จะต้องได้ ส.ส. อย่างน้อยครึ่งนึงของจำนวน ส.ส. ก็มีโอกาสเป็นไปได้ ซึ่งปัญหาที่ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้อาาจะไม่ยุติธรรม คือ อำนาจของ กกต. ซึ่งถ้าหาก กกต. ใช้อำนาจอย่างตรงไปตรงมาก็จะทำให้เกิดความเป็นธรรม “แต่ถ้า” กกต. ใช้ใบเหลือง ใบแดงอย่างไม่ยุติธรรมก็อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง เช่น ถ้าหากให้ใบส้มก็สามารถเปลี่ยนแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้ทันที แต่สิ่งที่ทำให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งรู้สึกไม่ยุติธรรมคือ ถ้าหากพรรคที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่ได้ส่ง ส.ส. ลงในเขตจะเป็นความไม่แฟร์ให้กับประชาชนหรือไม่ ?

ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งจากการศึกษา พบว่า ทุกๆครั้งที่มีการเปลี่ยนระบบเลือกตั้งใหญ่ ผู้ออกแบบระบบเลือกตั้ง ต้องศึกษาจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา และต้องการให้ผลการเลือกตั้งออกมาเป็นแบบใหม่ เพราะในอดีตประเทศไทยตกอยู่ภายใต้ 2 พรรคการเมืองใหญ่ ดังนั้นการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาจึงมีความพยายามให้มีรัฐบาลแบบผสมที่เข้มแข็ง

ขณะที่ในประเทศเพื่อนบ้านมีการใช้หนทางต่างๆในการโกงการเลือกตั้ง ทั้งการออกกฏเกณฑ์ต่างๆเพื่อที่จะเอาชนะการเลือกตั้ง ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่นการกีดกันไม่ให้พรรคอื่นๆมีสิทธิ์ในการลงเลือกตั้ง หรือแม้กระทั่งการกีดกันไม่ให้ใช้รูปคู่แข่งทางการเมืองที่ไม่ได้ลงสมัคร ในบางนโยบายทำให้ประชาชนลุกฮือขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ ซึ่งต่อให้ไม่ว่าระบบจะ ฟรีและแฟร์ มากแค่ไหน ประชาชนก็จะเป็นตัวกำหนด ซึ่งไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาอย่างไร ?

ซึ่ง ผศ.ดร.ประจักษ์ มองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้อาจไม่สามารถทำให้ประเทศไทยมีการเลือกตั้งที่มีเสถียรภาพได้ “แต่” จะเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบรูณ์แบบประเทศอินโดนิเซีย แต่การเลือกตั้งของมาเลเซียสมัยรัฐบาล นายนาจิบ ราซัค ก็เป็นบทเรียนที่ดีว่า ประชาชนคือตัวแปลสำคัญในการเลือกตั้ง ขณะที่ คสช. เองก็ต้องสร้างความชอบธรรมให้การเลือกตั้งครั้งนี้มีความยุติธรรมโดยการไม่เข้าไปแทรกแซงการเลือกตั้งครั้งนี้

ด้าน รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่าย “FFFE รณรงค์เลือกตั้งต้องเสรีเป็นธรรม” ระบุว่า ปัจจุบันชาวบ้านไม่ได้เป็น ตาสีตาสาอีกต่อไป แต่มีการสร้างเครือข่ายต่างๆ ทำให้ภูมิทัศน์ทางการเมืองไทยเปลี่ยนไป ซึ่งทำให้การแบ่งสัดส่วนระหว่างชนชั้นผู้นำเปลี่ยนไป ทำให้ประชาชนสามารถเรียกร้องสิ่งต่างๆได้ ซึ่งในทุกครั้งที่ประชาชนออกมาเรียกร้อง ก็จะมีการรัฐประหารเพื่อกำจัดนักการเมืองที่โกงกิน แต่สุดท้ายการปฏิวัติก็เสียของ ดังนั้นการปฏิวัติ ปี 2557 ครั้งนี้จึงถูกมองว่า ทำอย่างไร จึงจะไม่เสียของ ? ก็ต้องสร้างความอ่อนแอให้กับพรรคการเมือง ดังนั้น รธน. ครั้งนี้จึงลดขนาดให้เล็กลง ให้ประชาชนรู้จักเพียงแค่ ส.ส. เขต และมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีบังคับให้พรรคการเมืองเดินตามนโยบาย

ถึงแม้การปฏิวัติครั้งนี้จะไม่เสียของ แต่ก็มีโอกาสที่จะได้ของเสียแทน เพราะรัฐบาลอาจไม่ได้มีนโยบายที่ยึดโยงกับเสียงของประชาชน นโยบายยังยึดโยงกับนายทุน กลไกรัฐที่ไม่ตอบสนองคนส่วนใหญ่ และได้สังคมที่ถูกปิดหูปิดตา รวมถึงมีโอกาสที่จะสร้างความขัดแย้งได้มากขึ้น แล้วทำอย่างไรถึงจะได้ของดี ? คสช.จะต้องหยุดใช้ ม.44 ในการแทรกแซงทางการเมือง , ยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่เป็นอุปสรรค์ต่อการเลือกตั้ง และให้ กกต. เป็นองค์กรอิษระอย่างแท้จริง และประเทศไทยจะต้องไม่ปล่อยให้สถาปัตยกรรมในครั้งนี้กัดกินระยะเวลาจนนานเกินไป

ผศ.ดร.ประจักษ์ กล่าวเสริมว่า หลังจากการเลือกตั้งครั้งนี้อาจไม่ราบเรียบ เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งนี้ยังมีอำนาจของ คสช. อยู่ และมีปัจจัยเสี่ยงหลายๆอย่าง ถ้าหาก คสช. ยอมถอยและไม่เข้าไปแทรกแซง การเลือกตั้งครั้งนี้ก็อาจ ฟรีและแฟร์

อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งครั้งนี้จะต้องจับตามองว่า การเลือกตั้ง 62 ครั้งนี้จะสามารถเปลี่ยนแปลงระบบที่เป็นอยู่ได้หรือไม่ และการปฏิวัติครั้งนี้จะเสียของอีกครั้งหรือไม่ ? ถ้าไม่ จะได้ของดีหรือของเสียออกมา

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน