X

ตราด-เอาผิดโรงงานแปรรูปผลไม้ไม่จ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย หลังเลิกจ้างลูกน้อง

นิติกรพาลูกจ้างเข้าแจ้งความเอาผิดนายจ้าง หลังนายจ้างเลิกจ้างงาน แต่กลับจ่ายเงินชดเชยไม่เป็นไปตามที่กฎหมาย

ที่สถานีตำรวจภูธรเขาสมิง อ.เขาสมิง จ.ตราด นายปรัญชา วันดี นิติกรชำนาญการ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตราด พร้อมนางดรุณี นองเนืองและนางสาวหนึ่งฤทัย ช่วงเหมาะ อดีตลูกจ้างโรงงานแปรรูปผลไม้แห่งหนึ่งในจังหวัดตราด  นำเอกสารหลักฐานพบ ร.ต.อ.ปรัชญา พิณรัตน์ ร้อยเวรสภ.เขาสมิง เพื่อแจ้งความดำเนินคดีอาญากับโรงงานแปรรูปผลไม้ ที่จ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด

นายปรัญชา ระบุว่า อดีตลูกจ้างทั้ง 4 คน คือนางดรุณี นองเนือง นางสาวหนึ่งฤทัย ช่วงเหมาะ นายไพริน มาลัย และนางสมสกุล มาลัย อดีตลูกจ้างโรงงานแปรรูปผลไม้ ในฐานะนายแจ้งเลิกจ้าง หลังโรงงานประสบภาวะขาดทุน ประกอบกับสถานการณ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจการ ทำให้โรงงานแปรรูปผลไม้ มีโครงการสมัครใจลาออก โดยมีการชดเชยเงินลูกจ้างให้ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป ตามอายุงานของแต่ละคน

ซึ่งมีลูกจ้างชาวไทยและต่างชาติ รวมแล้วเกือบ 100 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ยอมลาออก พร้อมรับเงินที่นายจ้างจ่ายเงินชดเชยให้ แต่หากลูกจ้างรายไหน ไม่ยินยอมลาออก จะส่งไปทำงานโรงงานใน อำเภอกุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์

“แต่ลูกจ้างทั้ง 4 คน ไม่ยินยอมที่จะรับเงินชดเชยและไม่ยินยอมเดินทางไปทำงาน อำเภอกุยบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ทำให้ทั้ง 4 คน ต้องมาร้องต่อพนักงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตราด เพื่อช่วยเหลือ และเมื่อตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วพบว่า ทั้ง 4 คน ต้องใช้ได้เงินชดเชยกรณีนายจ้างเลิกจ้างตามกฎหมาย”

ส่วนเงินชดเชยตามกฎหมายการเลิกจ้างที่ลูกจ้างจะได้รับนั้น
นางดรุณี นองเนือง ต้องได้เงินชดเชย 151,200 บาท
นางสาวหนึ่งฤทัย ช่วงเหมาะ ต้องได้เงินชดเชย 126,240 บาท
นายไพริน มาลัย ต้องได้เงินชดเชย 135,000 บาท
และนางสมสกุล มาลัย ต้องได้เงินชดเชย 140,000 บาท

สำหรับโรงงานแปรรูปผลไม้แห่งนี้ ยังคงดำเนินกิจการต่อ แต่ไม่ได้ทำการแปรรูปผลไม้แล้ว เหลือเพียงการรับซื้อผลไม้และขายต่อเท่านั้น

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

กฤษฎาพงษ์ แววคล้ายหงษ์

กฤษฎาพงษ์ แววคล้ายหงษ์

ADmin : สำนักข่าวตราดทีวี จังหวัดตราด