X

รองนายกรัฐมนตรี ชม ศอ.บต.พัฒนาพื้นที่ จชต เห็นผล

“รองนายกฯ” ประกาศ​มาตรการ 17+1 บริหารจัดการผลไม้เชิงรุก​ จชต. ชื่นชม​ ศอ.บต.​ ทำงานดีเห็นผลการพัฒนา​ เร่ง​ ดำเนินการให้ประสบผลสำเร็จ

นายจุรินทร์​ ลักษณวิศิษฏ์​ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระพาณิชย์ และคณะ ได้เดินทางเยือน​ ศูนย์​อ​ำ​นวย​การบริหาร​จังหวัด​ชายแดน​ภาคใต้​ (ศอ.บต.)​   เพื่อประชุมหารือร่วมกับผู้บริหาร​ ศอ.บต.​ ในการติดตามการพัฒนา​​ ณ​ ห้องประชุมอาคารศูนย์ราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้​ อ.เมือง​   จ.ยะลา​ โดยมีพลเรือตรี​ สมเกียรติ​ ผลประยูร เลข​​าธิการ ศอ.บต. นายภิรมย์​ นิลทยา​ ผู้ว่าราชการ​จ.ยะลา​ และผู้บริหาร​ หัวหน้า       ส่วนราชการในพื้นที่ร่วมประชุมหารือในครั้งนี้​

รองนายกรัฐมนตรี​ มอบนโยบายภายหลังฟังผลการดำเนินงานของ​ ศอ.บต.ว่า​ การพัฒนา​ จชต.​ จากการดำเนินงานของ ศอ.บต.​ ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่​ทั้ง​ 3 จังหวัดชายแดน​ มีความชัดเจนเห็นเป็นรูปธรรม​ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระเบียงเศรษฐกิจ​ฮาลาล​ จชต.​ เรื่อง การขับเคลื่อนเมืองต้นแบบที่​ 4 นิคมอุตสาหกรรม​จะนะ​ และการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาผลไม้ในพื้นที่​ เป็นทิศทางที่ถูกต้อง             และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล  เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์มีนโยบายผลักดันให้ประเทศ​ไทยเป็นประเทศ​ผลิตอาหารของโลก    จะขับเคลื่อนให้อยู่ในอันดับที่ 1 ของโลกจากอันดับที่ 11 ในขณะนี้ การส่งออกสินค้าฮาลาลจึงเป็นเรื่องสำคัญ​ และไม่มีพื้นที่ใดเหมาะสมในการแปรรูป​อาหารฮาลาลเท่ากับจังห​วัดชายแดนภ​าคใต้​ อย่างไรก็ตามขอประกาศมาตรการ​ 17+1 การบริหารจัดการผลไม้เชิงรุก​      ปี​ 2565​ โดยมาตรการ​ 17​ ด้าน​ เป็นมาตรการที่หนุนเสริมแล้วในภาคตะวันออกของประเทศ​ ส่วน +1 เป็นมาตรการเร่งรัดการเปิดด่านชายแดนใต้​ เพื่อระบายสินค้าทางการเกษตร​ไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้ง่ายขึ้น​ เนื่องจากในปี​ 2563​ ชายแดนใต้ส่งออกผลไม้มีมูลค่ากว่า​ 765 ล้านบาท​ แต่ในปีนี้​ส่งออกได้ถึง​ 1,447 ล้านบาท​ เพียงระยะเวลา​ 6 เดือน​

นายจุ​รินทร์​ กล่าวอีกว่า​ มอบหมายให้ ศอ.บต. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้ภาครัฐสามารถส่งเสริมให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ได้ในอนาคต พร้อมมอบหมายการขับเคลื่อนนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งจำเป็นต้องเดินหน้า ขับเคลื่อนต่อไปให้ประสบความสำเร็จ เป็นอุตสาหกรรม BCG หรืออุตสาหกรรมสีเขียว ทั้งนี้สำหรับ เกษตรกรที่ส่งออก รัฐมีนโยบายช่วย​เหลือ​ 2 เรื่อง​ คือ​ ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้กู้​ 3 เปอร์เซ็นต์​ และกระทรวง​พาณิชย์​ช่วยเหลือเกษตรกร​ส่งออกผลไม้ กิโลกรัมละ  5 บาท อย่างไรก็ตาม สำหรับการวางแนวทางการส่งเสริมการปลูก ทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลไม่ได้เน้นวางมาตรการในการส่งเสริมการปลูก แต่เน้นการส่งออก ซึ่งหากการส่งออกมีมาก เกษตรกรก็ควรจะปลูกให้มากขึ้น อย่างไรแล้ว ทุเรียนในพื้นที่ จชต. มีการปลูกอยู่ในทุกพื้นที่ และถือเป็นทุเรียนที่พัฒนาได้ ซึ่งถือเป็นทุเรียนที่ได้รับมาตรฐาน ตลาดทั่วไปยอมรับถึงความพิเศษของทุเรียนในพื้นที่ ที่อร่อยแตกต่างจากที่อื่น

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

นครินทร์ ชินวรโกมล

นครินทร์ ชินวรโกมล

ป๋าโด่ง ผู้สื่อข่าวสายสงคราม ประจำจังหวัดยะลา ถนัดการทำข่าวการก่อความไม่สงบ ในพื้นที่ ผ่านเหตุการณ์ระเบิด-ยิง นับครั้งไม่ถ้วน แล้วก็รอดตายมาทุกครั้ง ปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นประธานชมรมถ่ายภาพจังหวัดยะลา