X
Chit Chat Share

ชี้ต้อง”ปฎิรูปสื่อหลัก-สร้างเครือข่ายรู้เท่าทัน” ทางแก้”ข่าวลวงโลก”

ปัญหาข่าวปลอมที่ถูกเผยแพร่ในสังคมออนไลน์เป็นจำนวนมากนั้น ส่งผลกระทบต่อความเข้าใจของประชาชน ทั้งด้านสุขภาพ และชีวิต ทำให้ทุกภาคส่วนต้องตระหนักถึงหนทางการแก้ปัญหาข่าวปลอม กุญแจสำคัญคือสื่อหลักต้องปฎิรูป ประชาชนต้องรู้เท่าทัน และต้องมีเครื่องมือการคัดกรองติดตาม

ปัญหาดังกล่าวเป็นที่มาของงานสัมนา Chit Chat Share ป้องปรามสื่อร้าย ขยายสื่อดี ร่วมเป็นภาคีเฝ้าระวังสื่อออนไลน์ “ป้องปรามสื่อร้าย ขยายสื่อดี ร่วมเป็นภาคีเฝ้าระวังสื่ออนไลน์” ที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

สื่อต้องปฎิรูปตัวเอง สร้างข่าวที่คุณภาพที่เพียงพอ

นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม ข่าวภูมิภาคออนไลน์ www.77kaoded.com เปิดเผยว่า เรื่องข่าวปลอม หรือ Fake News ในสังคมปัจจุบัน มาจากปัญหาความน่าเชื่อถือของสื่อ เมื่อโซเชียลมีเดียเข้ามาก็ถือเป็นปุ๋ยชั้นดีที่เข้ามากระตุ้นให้เกิดข่าวปลอม หรือ Fake news ซึ่งปัญหาความรุนแรงของข่าวปลอม เป็นวาระของโลกนี้อย่างการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา ในกรณีของ โดนัลด์ ทรัมป์ แล้วยิ่งใกล้วันเลือกตั้งก็จะยิ่งทำให้ยอดการเข้าถึงมากกว่าข่าวปกติ

โดยการแก้ไขปัญหาข่าวปลอมนั้น ต้นตอที่ทำให้ข่าวปลอมงอกงามได้ มาจาก สื่อหลัก ที่ทำงานสะเพร่า จึงเป็นตัวแพร่กระจายชั้นดี ตัวองค์กรวิชาชีพสื่อกับตัวบุคคลต้องมีความจริงจังมากกว่านี้ เพราะตัวการร่างกฎหมายไม่สามารถแก้ไขได้จริง แต่ต้องสู้ด้วยกองทัพสื่อ ฉะนั้นเมื่อทุกช่องต่างแข่งกันนำเสนอข่าวโดยขาดการตรวจสอบ เพราะตัวสื่อหลักทุกสำนักมีพลังมาก ด้วยมีทั้งสื่อหลักในมือ กับสื่อโซเชียลมีเดียที่มี ทางแก้จึงต้องปฎิรูปสื่อกระแสหลักแบบขนานใหญ่ ด้วยคุณภาพ ลดการสร้างยอดที่อาศัยจากเฟสบุ๊ก แต่สร้างยอดจากเนื้อหาที่มีคุณภาพ ถ้าผลิตเนื้อหาที่ดีแม้บางเรื่องจะโพสผ่านไป 3-4 เดือนแล้ว ก็ยังมียอดที่กลับเข้ามาดูอยู่ตลอด ต้นตอใหญ่จึงมาจากสื่อหลักที่ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้คัดกรองข่าวสาร(Gate Keeper)ที่ดีเพียงพอ

ที่น่าห่วงคือคนไทยใช้เวลาอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ตสูงถึง 10 ชั่วโมง 5 นาที ต่อวัน แต่ก็ยังมีข้อสังเกตว่า แม้ยอดการใช้อินเทอร์เน็ตสูง แต่ก็ยังมีปัญหากวนใจ คือ ปริมาณโฆษณาออนไลน์ที่รบกวน ,ถูกรบกวนด้วยสื่อลามาอนาจาร ,ไม่มั่นใจว่าข้อมูลที่ปรากฎบนอินเทอร์เน็ตจะเชื่อถือได้ ,ติดไวรัสคอมพิวเตอร์ ,ถูกรบกวนด้วยอีเมลขยะ ,ถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และการถูกหลอกลวงบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการพฤติกรรมของคนไทยที่เต็มใจให้ข้อมูลส่วนตัว

รูปแบบของ Fake News ในปัจจุบัน คือ พาดหัวให้เราใจให้คลิป(Clickbait) , โฆษณาชวนเชื่อ(Propaganda) , เสียดสี ล้อเลียน(Satire/Parody) , พวกสื่อที่ทำงานสะเพร่า(Sloppy Journalist) , พาดหัวคลาดเคลื่อน(Misleading Heading) กับ ความอคติและบิดเบือน(Bias/Slanted News)

รูปแบบข่าวปลอมในประเทศไทยที่พบเห็นได้บ่อย มีอยู่ 4 กรณีด้วยกัน คือ 1.สร้างชื่อเว็บไซต์คล้ายกับของจริง แล้วใส่ส่วนของตัวเองลงไป 2.สร้างชื่อเว็บไซต์มั่วๆ แล้วนำข่าวจริงมาพาดหัวใหม่ให้เกินจริง 3.สร้างชื่อเว็บไซต์ปกติ แต่พาดหัวให้เร้าใจน่าคลิก และ 4.กุเรื่องข่าวมาเอง โดยใช้ภาพจริง มาปกในข่าวปลอมที่มีเจตนาแอบแฝง

หนทางแก้ไขอยู่ที่สร้างความเข้าใจกับคนรุ่นใหม่

ด้าน นายปรเมศวร์ มินศิริ ผู้บริหาร kapook.com และที่ปรึกษาโครงการ Media Fun Facts กล่าวว่าปัจจุบันปัญหาของข่าวปลอมเป็นเรื่องใหญ่มาก ซึ่งเป็นเรื่องที่แก้ไขคนเดียวไม่ได้ ฉะนั้นการแก้ไข ต้องมีการทำร่วมกันจากหลายภาคส่วนเป็นภาคี เป็นเครือข่ายที่ขับเคลื่อนกันไป แต่ก็ยังต้องใช้เวลา หากเราไปดูเครื่องมือที่นิยมใช้กัน อย่างเฟสบุ๊ก ไลน์ ที่ได้รับความนิยมเพราะจำนวนผู้ใช้เป็นตัวกำหนด

ฉะนั้นหากเราต้องการแก้ไขปัญหาต่างๆที่มี ต้องมีการรวมตัวกันเป็นพลัง เป็นผู้ตรวจสอบ

การจะไปตั้งหน่วยงานใดมาเป็นผู้ตรวจสอบ ให้คะแนนความน่าเชื่อถือ จะมาจากคนๆหนึ่ง หรือหน่วยงานหนึ่งไม่ได้ เครื่องมือที่ตรวจสอบก็ต้องมาจากผู้บริโภค สำหรับมุมของผู้บริโภค เขาต้องการความสะดวกที่สุด ช่องทางใดใกล้ตัว ใช้งานง่าย เราต้องเข้าไปให้หมด นั่นคือการเยียวยาแต่ไม่ได้แก้ไขไปทั้งหมด

การแก้ไขปัญหาข่าวปลอมที่ยังยืน ต้องมาจากการสอนให้เด็กคิดเป็น สอนให้เด็กสงสัย ถ้าเป็นแบบนี้ได้ไหม จะเป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ เปลี่ยนจากการสอนแบบเดิม ที่เข้ามาฟัง จดบันทึก สอบ เปลี่ยนเป็นห้องที่คอยคุยกัน ให้เด็กรุ่นต่อไปเกิดกระบวนการคิด แล้ววันหนึ่งเขาเจอข่าวแบบนี้ เขาจะไตร่ตรองและคิดก่อนว่าใช่หรือไม่ เป็นข่าวจริง ข่าวเท็จ ตรงนั้นคือการสร้างรุ่นใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่แท้จริง

ต้องมีเครื่องมือการคัดกรองและตรวจสอบตนเอง

ผศ.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ประธานคณะทำงานติดตามและประเมินผล โครงการหรือกิจกรรมด้านเฝ้าระวังและรู้เท่าทัน กล่าวว่า สื่อในปัจจุบันนั้นมีความเปลี่ยนแปลงเร็วมาก พฤติกรรมการติดตามข่าวสารก็มีความรวดเร็ว การจะจัดการคัดกรองข่าวให้รวดเร็วทันที จะต้องมีทีมงาน ต้องมีระบบ ต้องมีการสื่อสารที่ถูกคัดกรอง จึงจะใช้

เป็นไปได้หรือไม่ คือการทำให้มี หน่วยงานตรวจสอบคัดกรอง(Censored Unit) อาจเป็นเรื่องของเครื่องมือที่เราต้องมีไว้ แล้วปล่อยไปในโลกออนไลน์ด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง เราต้องไม่ไปชี้นำว่าควรจะเป็นแบบไหน การไม่ชี้แนะ ชี้นำ แต่เพียงมีหน่วยงานที่คอยคัดกรอง ให้ข้อมูล กับมีผู้ใช้ที่ช่วยในการตรวจสอบ เป็นสื่อที่ผูกพันกับสังคม คอยติดตามตรวจสอบสังคม

อีกหนึ่งส่วนที่สำคัญ คือ เมื่อตอนนี้โลกออนไลน์ทำให้ทุกคนเป็นสื่อได้ “จึงควรจะมีเครื่องมือเช็คตนเองเหมือนกันว่า เราอยู่ในการผลิตคอนเทนต์ข้อมูลข่าวสารแบบไหนออกไป เพราะต่อให้มีช่องทางการสื่อสารที่วิเศษอย่างไร แต่ก็ยังอยู่ที่ผู้ใช้ในการเลือกใช้ทำสิ่งใดอยู่ดี” เรามักจะมีคำพูดที่ว่า เท่าทันสื่อ คิดก่อนแชร์ แต่เป็นการทำให้เขาเห็นตัวเองก่อน เมื่อเข้ามอนิเตอร์ตัวเองได้ แล้วระบบสามารถตอบสนองได้ทันที ชวนเขาให้มาเป็น

โจทย์ใหญ่ที่สุดจึงอยู่ที่ทัศนคติ เพราะคำว่าเท่าทันไม่พอ แต่โลกกออนไลน์จะสร้างประโยชน์ให้ตนเองและสังคมอย่างไร เรามีองค์กรภาครัฐ ที่เป็นผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญที่สำคัญด้านต่างๆ ต้องเปลี่ยนมาเป็นหนึ่งในกำลังที่คอยกลั่นกรองด้วยความรวมเร็ว จะเป็นตัวช่วยที่สำคัญ ทำให้ความเท่าทันสื่อรู้ไม่พอต้องลงมือ ทำให้ผู้คนเข้าถึง มีส่วนร่วมและออกมาเป็นรูปธรรม

สำหรับสื่อหลัก ถ้าหากไม่ตั้งหลักในตอนนี้ แล้วเอาข้อมูลในโลกออนไลน์มาทำซ้ำ ผลิตซ้ำ จะทำให้สังคมน่าเป็นห่วง เช่นการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงในครั้งหน้า จะมีสื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทสำคัญ ถ้าหากตรงนี้ผิดเพี้ยนไปจะทำให้สังคมของเราแตกแยก แบ่งขั้ว หนักกว่าการเมืองบนท้องถนน

กระบวนการแก้ไข 7 ขั้นตอน

สำหรับ นายพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้ผลิตและผู้ดำเนินรายการชัวร์ก่อนแชร์ มองว่าการแก้ไขปัญหาข่าวปลอมหรือ Fake News การที่เราจะแก้ไขได้ ต้องมีกระบวนการ 7 ขั้นตอนด้วยกัน คือ 1.ระบบการติดตามเฝ้าระวัง ต้องมีผู้ที่มอนิเตอร์ข่าวที่ถูกปล่อยออกมาว่าเป็นแบบใด 2.ผลิตให้เป็นสื่อ ซึ่งต้องมีกลยุทธ์ว่าผลิตแบบไหนให้เข้าถึงคน ทั้ง อินโฟกราฟฟิก วีดีโอ ภาพ ข้อมูลต่างๆ 3.กระจายสื่อ การปล่อยเนื้อหาต่างๆ ในแต่ละแพลตฟอร์ม จะต้องมีกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ

4.การจัดการฐานข้อมูล ที่สามารถย้อนกลับไปดูฐานข้อมูลนั้นๆได้ ด้วยพฤติกรรม 5.ภาคีเครือข่าย จะต้องมีพันธมิตรเครือข่ายที่เดินหน้าไปพร้อมๆกัน 6.กลไกการตรวจสอบที่เข้มแข็ง เมื่อมีการบันทึกมอนิเตอร์แล้ว เราต้องตรวจสอบความถูกต้องด้วย 7.เทคโนโลยี เครื่องมือนวัตกรรมต่างๆ ต้องมีความทันสมัยเท่าทัน

ส่วนที่น่าเป็นห่วงคือ คนที่มีความสามารถในการแปลงข้อมูลเป็นสื่อไปสู่สังคมได้ แต่ขาดการตรวจสอบที่ถูกต้อง

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน