X

นักเรียนไทยคว้า 3 เหรียญทอง 7 รางวัล Special Awards สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ นานาชาติ

นักเรียนไทยสามารถคว้า 3 เหรียญทอง 7 รางวัล Special Awards จากการแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ นานาชาติ ในงาน International Exhibition for Young Inventors (IEYI 2019)  ระหว่างวันที่ 22 – 26  ตุลาคม 2562 ที่จังหวัดบันเติน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

เมื่อเวลา 23.30 น.วันที่ วันที่ 25 ตุลาคม 2562 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้พานักเรียนไทยที่เดินทางไปร่วมการแข่งขันการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ ในงาน International Exhibition for Young Inventors (IEYI 2019)  ระหว่างวันที่ 22 – 26  ตุลาคม 2562 ที่จังหวัดบันเติน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย จำนวน 9 ทีม รวม 17 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่า นักเรียนได้รับรางวัลครบทุกทีม แบ่งเป็น เหรียญทอง 3 รางวัล เหรียญเงิน 6 รางวัล และ Special Awards 7 รางวัล รางวัลเหรียญทอง 3 รางวัล ได้แก่ ผลงาน  ไฟฉายอเนกประสงค์ ผลงาน  กรีนฟิล์มเพคตินจากเปลือกทุเรียน ผลงาน วัสดุดูดความชื้นจากไส้ตันมันสำปะหลัง ผลงาน สื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์ภาษาอังกฤษสำหรับผู้พิการทางสายตา ผลงาน แผ่นล่อแมลงจากข้าวตอกรูพรุน – โฟมยางพาราคอมพาวด์  ผลงาน นวัตกรรมลูกบอลดินเผาอุ้มน้ำ ผลงาน ผลิตภัณฑ์ข้าวตอกบรรจุสารสกัดยีสต์โปรตีนไฮโดรไลเซทและสารสกัด จากสะเดาและ ใบแมงลักคา เพื่อล่อและกำจัดแมลงวันทองในสวนผลไม้ ผลงาน ศึกษาการผลิตอุปกรณ์ปลูกพืชสวนจากใบก้ามปูผสมกากกาแฟเพื่อแก้ปัญหาดินร่วนปนทราย และผลงาน ประสิทธิภาพของถ้วยเก็บน้ำผึ้งแบบจำลองที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณน้ำผึ้งชันโรงในธรรมชาติ  เดินทางกลับมาถึงประเทศไทย ด้วยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG 436 โดยมีบรรดาผู้ปกครองและคณะครูอาจารย์เดินทางมารอรับบุตรหลานท่ามกลางบรรยากาศที่อบอุ่น

ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เปิดเผยว่า เด็กคนหนึ่งซึ่งมีทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่เราดูแล้วในเรื่องการแข่งขันในครั้งนี้ ที่ได้เหรียญมาทั้งหมด เกิดจากกระบวนการของเด็กได้ศึกษาค้นคว้าในบริบทของแต่ละพื้นที่ของเขาเอง เช่นในเรื่องของสิ่งประดิษฐ์กระบอกไฟฉายเอนกประสงค์หรือการนำเอาไส้มันสำประหลังมาเป็นสารกันบูดของขนมอย่างนี้เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เด็กคิดค้นขึ้นมาเอง และก็ได้เรียนรู้จากการเห็นปัญหาต่าง ๆ และสำหรับการแข่งขันในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันด้วยการ 11 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน มาเก๊า เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ รัสเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย

เด็กชายกรกฎ วงศ์ชัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ เด็กชายอชิรวิชญ์ ตามสมัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลเวียงแก่น จ.เชียงราย เจ้าของผลงานไฟฉายเอนกประสงค์ ได้เปิดเผยว่า  สำหรับไฟฉายเอนกประสงค์นั้นเกิดมาจากแนวคิดที่ว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ต้องใช้ไฟฉายกันอยู่เป็นประจำ และในชนบทของเรา ระบบไฟฟ้าก็ไม่ควบคุมทั้งหมด ทำให้ผู้สูงอายุต้องใช้ไฟฉายกันอยู่เป็นประจำ พวกตนก็เห็นว่าไฟฉายใช้งานได้เพียง 1 รูปแบบ จึงได้นำมาประยุคเป็นไฟฉายเอนกประสงค์ที่สามารถใช้งานได้ถึง 6 รูปแบบ โดยสามารถเปิดไฟฉายได้ในตัว ใช้เปิดฝาจีบ ฝาเกรียว ฝากระปุก ที่ดูดพลาสติก และยังเป็นไม้เท้าของผู้สูงอายุได้อีก

ด้านนายธีรภัทร โมราวงศ์ และนางสาวนาดา สมาเอ็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทรงธรรม จ.สมุทรปราการ เจ้าของผลงานประสิทธิภาพของถ้วยเก็บน้ำผึ้งแบบจำลองที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณน้ำผึ้งชันโรงในธรรมชาติ ได้กล่าวว่า  รางวัลที่เราได้ก็จะเป็นรางวัลสเปเชี่ยนอาวอท ของอินนีเซีย และรางวัลเหรียญเงิน เป็นผลงานของเรื่องประสิทธิภาพของถ้วยเก็บน้ำผึ้งแบบจำลองที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณน้ำผึ้งชันโรงในธรรมชาติ โดยแนวคิดนี้เริ่มต้นจากการที่ว่าเราพบปัญหามาก่อน ก็คือเกษตรกรที่เลี้ยงผึ้งชันโรงไม่สามารถเพิ่มผลผลิตในโรงได้ เนื่องผึ้งชันโรงมีตัวเล็กมากเราจึงได้ทำการสังเกตโดยใช้สมมุติฐานของวิทยาศาสตร์ ในการแก้ไขปัญหา มีการจำลองโมเดลขึ้นมาเป็นแบบถ้วย เพื่อให้ผึ้งชันโรงมีการผลบักพฤติกรรมในการเพิ่มปริมาณน้ำผึ้งออกมาให้มากขึ้นอีกประมาณ 2 เท่า จากที่ถ้วยเก็บน้ำผึ้งชันโรงทั่วไปจะเก็บได้ประมาณ 70 มิลิลิตร แต่ว่าของเราเก็บได้ทั้งหมด 150 มิลิลิตร

นางสาวเกวลิน สุขไกว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และนางสาวปิ่นศวิตา ทองสลัก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จ.สุราษฎร์ธานี เจ้าของ ผลงาน แผ่นล่อแมลงจากข้าวตอกรูพรุน – โฟมยางพาราคอมพาวด์ กล่าวว่า สิ่งประดิษฐ์ของเราคือ แผ่นล่อแมลงจากข้าวตอกรูพรุน – โฟมยางพาราคอมพาวด์ โดยมีแนวคิดมาจากการสังเกตปัญหาธรรมชาติว่าปาล์มน้ำมันเรามีราคาที่ตกต่ำเพราะว่าปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ติดผลน้อย เราจึงหาวิธีที่จะสามารถเพิ่มปริมาณปาล์มน้ำมันให้สูงขึ้น โดยที่เราคิดวิธีที่จะล่อแมลงที่จะมาช่วยในการผสมพันธุ์ปาล์มเพื่อเพิ่มผลิตผล ซึ่งเราได้พบแมลงชนิดหนึ่งที่สามารถผสมพันธุ์ปาล์มก็คือด้วงดงปาล์มน้ำมัน แต่เราก็พยายามหาวิธี โดยที่มีอาจารย์สวารี และอาจารย์เฉลิมพร จีรวรรณ เป็นผู้ช่วยเสนอแนวคิดว่าเราควรจะทำอย่างไรกับการที่จะทำอย่างไรที่จะให้ปาล์มน้ำมันติดผลมากที่สุด หลังไปแข่งขันก็รู้สึกดีใจมาก และได้ประสบการณ์มาเพิ่มมากมาย และยังไปเห็นสิงประดิษฐ์ใหม่ ๆ จากเพื่อนต่างชาติในต่างประเทศด้วย ซึ่งเขาก็มีแนวคิดดี ๆ ที่ทำให้เราได้เรียนรู้ไปมากขึ้นด้วย

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน