X

ตำรวจ ปคบ.ร่วมกับ อย.บุกทลายแหล่งผลิตแอลกอฮอล์ปลอมย่านบางพลี

พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง รอง ผบก.ปคบ. พร้อมด้วยเภสัชกรหญิง สุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค บุกทลายแหล่งผลิตแอลกอฮอล์ปลอมย่านบางพลี ยึดของกลางมูลค่ากว่า 5 ล้านบาท

เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 14 กันยายน 2564 พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง รอง ผบก.ปคบ. พร้อมด้วยเภสัชกรหญิง สุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข รักษาราชการแทนรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กำลังเจ้าหน้าที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ร่วมกันเข้าตรวจค้นภายในโกดังแห่งหนึ่งในย่านถนนกิ่งแก้ว ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ หลังสืบทราบว่าเป็นแหล่งผลิตแอลกอฮอล์ชนิดน้ำสำหรับทำความสะอาดโดยผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นหนึ่งในเครือข่ายมีผู้ร่วมกระทำผิดอีก 4 รายที่กระจายกันอยู่ใน 3 จังหวัด กรุงเทพมหานคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  และจังหวัดสมุทรปราการ

โดยเมื่อวานนี้ที่ 13 กันยายน เจ้าหน้าที่ ปคบ. ได้เข้าจับกุมแหล่งผลิตเครื่องสำอางไม่ได้มาตรฐาน ในพื้นที่ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา  จำนวน 2 จุด และสถานที่กักเก็บแบะจำหน่ายในพื้นที่ พญาไท สามารถตรวจยึดผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ชนิดน้ำ ชนิดเจล และชนิดสเปย์ พร้อมอุปกรณ์ในการแบ่งบรรจุและขวดผลิตภัณฑ์รวมทั้งฉลากและอุปกรณ์อื่น ๆ จำนวนมากรวมมูลค่ากว่า 5 ล้านบาท  จึงทำการตรวจยึดเอาไว้เป็นของกลาง ส่งพนักงานสอบสวนกองกำกับการ  4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ปคบ. เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย

จากการสอบสวนขยายผลทราบว่ายังมีแหล่งผลิตและกักเก็บผลิตภัณฑ์ดังกล่างอยู่ในย่านถนนกิ่งแก้ว ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ อีกจำนวน 2 แห่งจึงนำกำลังเข้าตรวจค้นและสามารถตรวจยึดอุปกรณ์ในการบรรจุแอลกอฮอล์จำนวนมาก และแอลกอฮอล์ที่บรรจุอยู่ในถังขนาดใหญ่อีกจำนวน 6 ถัง และควบคุมตัวคนงานจำนวน 6 คนที่กำลังช่วยกันบรรจุแอลกอฮอล์ใส่ขวดผลิตภัณฑ์ จากการตรวจสอบพบว่าไม่ได้มีการขออนุญาตแต่อย่างใด รวมทั้งสถานที่ดังกล่าวก็ไม่ได้มาตรฐานในการบรรจุเครื่องสำอางหรือแอลกอฮอล์ในการฆ่าเชื้อ  ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 ฐานผลิตเครื่องสำอางปลอม ผลิตเครื่องสำอางโดยไม่ได้จดแจ้งผลิตเครื่องสำอางไม่มีฉลาก และผลิตเครื่องสำอางที่แสดงฉลากที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ ต้องระวางโทษสูงสุดไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เภสัชกรหญิง สุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข ได้กล่าวว่า ในเบื้องต้นเราได้ทำการเข้าตรวจค้นจำนวน 4 จุดด้วยกันซึ่งมีความเชื่อมโยงกันจากการตรวจสอบพบว่าทุกสถานที่เป็นสถานที่ ที่ไม่ขออนุญาตผลิตไว้กับ อย. ก็เป็นสถานที่ผลิตเถื่อนสินค้าที่พบทั้งหมดก็จะเป็นเครื่องสำอางปลอม จากลักษณะที่เราเห็นการผลิตไม่ได้ถูกสุขลักษณะ และคุณภาพมาตรฐานของแอลกอฮอล์ก็ไม่ได้มาตรฐาน เพราะเป็นการเอาแอลกอฮอล์ที่ผสมจากอีกจุดหนึ่งมากรอกด้วยมือเชื้อโรคต่าง ๆ ก็ลงไปปะปนและก็ไม่ทราบว่าแอลกอฮอล์ที่ใช้เป็นแบบเอสทรานอล หรือเม็ดทรานอล ซึ่งตามกฎหมายต้องใช้เอสทรานอลเท่านั้นเป็นส่วนผสมและต้องมีปริมาณแอลกอฮอลไม่น้อยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นการกระทำความผิดฐาน ผลิตเครื่องสำอางปลอมผลิตเครื่องสำอางที่ไม่ได้จดแจ้งผลิตเครื่องสำอางที่แสดงฉลากไม่ถูกต้องซึ่งมีโทษจำคุก 2 ปี ก็อยากจะฝากเตือนประชาชนที่จะซื้อเครื่องสำอางหรือเจลแอลกอฮอล์ ก็สามารถตรวจสอบได้โดยเอาตัวเลข 13 หลักที่มีอยู่ข้างขวดบรรจุภัณฑ์มีตรวจสอบกับเวฟไซค์ของ อย. หรือ อย.แอปปิเคชั่น ก็จะเห็นว่าตัวเลขดังกล่าวตรงกับฐานข้อมูลของ อย.หรือไม่ ถ้าไม่ตรงแสดงว่าเป็นเครื่องสำอางปลอม

ด้าน พ.ต.อ.เนติ  วงษ์กุหลาบ ผกก.4 บก.ปคม.ได้กล่าวว่า การจับกุมในครั้งนี้เนื่องจากเราได้รับการร้องเรียนว่ามีแหล่งเก็บแอลกอฮอล์ทั้งที่มีฉลากและไม่มีฉลากอยู่แถวพญาไท เป็นตึกคูหา เราจึงส่งกำลังเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบก็พบว่าเป็นไปตามจริงที่ร้องเรียนเพราะชาวบ้านเกรงว่าจะเกิดเพลิงไหม้ เราจึงเฝ้าสังเกตการณ์จนกระทั่งทราบว่ามีแหล่งผลิตเจลและแอลกอฮอล์ชนิดน้ำมาจาก 4 ที่ ในจังหวัดอยุธยา 2 ที่ จังหวัดสมุทรปราการอีก 2 ที่ พอเราหาข้อมูลจนแน่ชัดแล้วจึงนำกำลังเข้าทำการตรวจค้นพร้อมกันทั้ง 5 จุด เพื่อรวบรวมหลักฐาน แต่จุดนี้ที่ผิดแบบร้อยเปอร์เซ็นต์เขาผลิตเจลเครื่องสำอางซึ่งเราได้สอบถาม อย.แล้วพบว่าไม่ได้ขออนุญาตเป็นสถานที่ผลิตเครื่องสำอาง จึงผิดร้อยเปอร์เซนต์ถ้าผลิตเครื่องสำอางก็คือเครื่องสำอางปลอม จึงได้ทำการอายัดสินค้าทั้งหมดเอาไว้เป็นของกลางและดำเนินคดีในฐานความผิด การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 ฐานผลิตเครื่องสำอางปลอม ผลิตเครื่องสำอางโดยไม่ได้จดแจ้งผลิตเครื่องสำอางไม่มีฉลาก และผลิตเครื่องสำอางที่แสดงฉลากที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ ต้องระวางโทษสูงสุดไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน