พิษโควิดเจ้าอาวาส พร้อมพระลูกวัดบางหญ้าแพรก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ วางตาลปัตร นั่งขายมะม่วงหาเงินชำระค่าไฟ-ค่าน้ำวัด ซึ่งเปิดขายทุกวันตั้งแต่เช้า ตกวันละ 600-700 โล
หลังจากที่มีชาวบ้านที่พักอาศัยอยู่ในละแวกวัดบางหญ้าแพรก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ได้โพตส์รูปพระสงฆ์ของวัดบางหญ้าแพรก กำลังนั่งขายมะม่วงน้ำดอกไม้อยู่ภายในวัด และเฟสบุ๊คของวัดดังกล่าวยังได้มีการโพตส์เชิญชวนญาติโยม ผู้ใจบุญ ช่วยเหลืออุดหนุนมะม่วงน้ำดอกไม้ของทางวัด ที่ได้นำมาจากสวนบางพลี มาวางขายที่วัด เพื่อหาปัจจัย ไปชำระค่าน้ำ ค่าไฟ ซึ่งทางวัดกำลังประสบกับปัญหาอยู่โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ซึ่งได้มีการแชร์ออกไปบนโลกออนไลน์จำนวนมาก
ข่าวน่าสนใจ:
- สภาอุตภาคใต้ ลั่น ค้านขึ้นค่าแรง 400บ. ยันไม่ขวางเพิ่มรายได้ปชช. แต่ควรยึดกลไกไตรภาคี ขึ้นตามเหมาะสม
- กกล.บูรพา สกัดจับเบียร์และบุหรี่เถื่อน ชายแดน จ.สระแก้ว
- ชาวชัยภูมิเร่งส่งธารน้ำใจคนไทยไม่ทิ้งกันร่วมบริจาคช่วยพื้นที่ถูกน้ำท่วมต่อเนื่อง!
- หนุ่ม 36 ตกอับไม่มีเงินรถน้ำมันหมดสุดอึ้งเจอ ตร.ชัยภูมิ น้ำใจงาม!
ล่าสุดในวันนี้ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังวัดบางหญ้าแพรก ตำบลบางหญ้าแพรก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ได้มีการติดป้ายประกาศขายมะม่วงเอาที่ทางเข้า และมีการตั้งโต๊ะขายมะม่วงข้างลานของศาลาการเปรียญ โดยมีพระลูกวัดพระครูปลัดประสาทพร มหาปุญโญ เจ้าอาวาสวัดบางหญ้าแพรก นั่งขายและมีชาวบ้านมาช่วยกันนั่งขายซึ่งเป็นเป็นมะม่วงน้ำดอกไม้จำหน่ายไซส์ใหญ่ขนาด 2 ลูก โลขายกิโลกรัมละ 120-130 บาท ลูกเล็กลงมาหน่อยขายกิโลกรัมละ 100 บาท
พระครูปลัดประสาทพร มหาปุญโญ เจ้าอาวาสวัดบางหญ้าแพรก ได้กล่าวว่า ในเรื่องขายมะม่วงนั้น ก่อนหน้านี้ อาตมาได้ไปฉันท์เพลที่วัดบัวโรยซึ่งก็เป็นระดับเจ้าอาวาสทั้งนั้น บังเอิญอาตมาได้ไปเห็นสวนมะม่วง ก็เลยถามคุณโยมว่ามีจิตศรัทราช่วยเหลือทางวัดหรือเปล่า ทางวัดจะเอามะม่วงไปขายเพื่อเป็นค่าน้ำค่าไฟของวัดโยนจะคิดเท่าไหร่ก็คิดมาตามนั้น โยมก็ตกลงและนำมะม่วงมาส่งให้ที่วัด ส่วนปัญหาเรื่องค่าน้ำค่าไฟนั้นทางวัดประสบปัญหามาตั้งแต่อาตมาเข้ามาเป็นเจ้าอาวาสวัดวันแรกมาจนถึงปัจจุบัน 7 ปี ส่วนที่ไม่เอาเงินที่ญาติโยมทำบุญมาก็เนื่องจากเขามีจุดประสงค์ของเขาที่เขาทำมาจะสร้างอะไรซึ่งมันก็ไม่ได้เกี่ยวกับค่าน้ำค่าไฟของวัด จุดประสงค์เขาจะทำศาลาก็ต้องเอาไปทำศาลาให้เขา ไม่ใช่เอาไปจ่ายค่าน้ำค่าไฟวัด เจ้าอาวาสต้องเป็นผู้รับภาระเป็นพ่อบ้านควบคุม ตลอด 7 ปี ที่อาตนมาได้มาเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดแห่งนี้ใช้เงินส่วนตัวจ่ายค่าน้ำค่าไฟของวัดมาโดยตลอดแม้ว่าจะมีการเก็บค่าน้ำค่าไฟจากพระลูกวัดตามกุฏิต่าง ๆ มาบ้างแต่มันก็ไม่พอพอต่อมาเป็นช่วงโควิดระบาดกิจของสงฆ์ลดน้อยลงก็ยิงมีปัญหามากขึ้นแต่อาตมาก็ไม่ชอบยุ่งเงินที่เขาทำบุญมาแต่ละเรื่องเราไม่อยากไปแตะต้อง
ส่วนในเรื่องนำมะม่วงมาขายที่วัดเป็นแนวคิดของอาตมาเอง เพราะเห็นว่าโยมเขามีเยอะก็เลยติดต่อให้มาส่งโดยการเหมาทั้งสวน ซึ่งก็เป็นเรื่องบังเอิญที่วันนั้นไปฉันท์เพลที่สวนนั้นพอดีก็เลยว่ามีมะม่วงก็เลยเกิดความคิดว่าน่าเอาไปต่อยอดในเรื่องค่าน้ำค่าไฟของทางวัดได้ ซึ่งทางโยมก็เอามาส่งให้ทุกวันวันละ 600-700 โล และตั้งแต่ทำมาขายได้ 3 เที่ยวแล้วได้กำไรมาประมาณ 8 พันกว่าบาทก็รวบรวมเอาไว้จ่ายค่าน้ำค่าไฟ บิลมาแล้ว และวันที่ 27 ก็ต้องเอาไปจ่ายเขาแล้ว ก็คืออาตมาไม่ได้แตะต้องเงินที่ชาวบ้านบริจาคมาและเอาเงินตรงนั้นไปทำอย่างอื่นเลย อาตมาใช้เงินส่วนตัวจ่ายมาโดยตลอด ตั้งแต่เป็นเจ้าอาวาสมา 7 ปี เมื่อปีที่แล้วได้เงินกฐินมา 7 แสนก็จะเก็บเอาไว้ทำเมรุที่อยู่ในสภาพเก่าและชำรุดทรุดโทรมเพราะใช้งานมากว่า 40 ปีแล้ว และถ้าถามว่าพระอะไรมานั่งขายมะม่วงแม้ว่าจะไม่ใช้กิจของสงฆ์ และการที่เอาพระเอาเครื่องรางของขลังมาวางขายตามวัดมันใช่กิจของสงฆ์หรือเปล่า ซึ่งในแต่ละวัดมีการจำหน่ายพระและวัตถุมงคล ถามว่ามันถูกต้องหรือเปล่า แต่อันนี้ได้กินได้อยู่ นอกจากที่เขาจะมาร่วมทำบุญแล้วก็ยังได้อานิสงค์กลับไปได้มะม่วงกลับไปกินได้อิ่มท้อง และก็ได้กระแสไฟฟ้าจากความมืดมนก็มีแสงสว่าง น้ำไม่มีอาบก็ได้อาบน้ำอันนี้ก็ถือว่าเป็นการทำบุญที่ถูกต้องและยิ่งใหญ่ ส่วนมะม่วงที่เอามาขายก็จะมีน้ำดอกไม้และเขียวเสวยราคาก็ไม่แพงเราดูตามไซส์ ไซส์ใหญ่ 2 ลูกโล ก็ขายกิโลกรัมละ 130 บาท แล้วก็มา 3 ลูกโล ขายกิโลกรัมละ 120 อันไหน 4 ลูกโลก็ขายกิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่งก็ขายหมดทุกวันตกวันละประมาณ 600-700 โล ซึ่งก็จะทำไปแบบนี้จนกว่ามะม่วงจะหมดส่วนหลังจากนั้นก็หยุดเอาแมะม่วงก็ถือว่าได้ช่วยโยมเจ้าของสวนไปด้วย ปีต่อไปมีก็ทำต่อถ้ายังมีชีวิตอยู่ก็จะทำอีกเพื่อพระศาสนา เพราะน้ำไฟมีคนใช้ทุกวัน โดยจะเริมขายตั้งแต่ 6 โมงเช้าไปจนถึงบ่ายโมง เพราะโยมเขามีวัตถุประสงที่จะช่วยเหลือวัดอยู่แล้ว แต่วัตถุประสงของอาตมาที่จะเอาหมายเลขบัญชีวัดไปขออาตมาไม่เอา มันไม่ดีมันมีแอบแฝงได้และตรงนั้นก็อาจมีการผิดพลาดได้ สู้ให้โยมมาทำบุญด้วยจิตศรัทราเอาเงินเข้าวัดได้มะม่วงกลับไปรับประทาน ส่วนที่เหลือโยมจะร่วมทำบุญก็หยอดใส่ตู้รับบริจาคเอา คือไม่มีบีบบังคับอะไร
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: