X

มูลนิธิไทยซัมมิทพัฒนา มอบเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยห้องตรวจป้องกันเชื้อโควิดโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3

มูลนิธิไทยซัมมิทพัฒนา มอบเตียงปลอดเชื้อสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและ ห้องตรวจปลอดเชื้อ คลินิก มอดูร่า เออาร์ไอ ป้องกันเชื้อโควิดให้กับโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 จังหวัดสมุทรปราการ โดยมี พญ.รุ่งอรุณ สันทัดกลการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬารัตน์  3 อินเตอร์ เป็นตัวแทนรับมอบ

เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 22 พฤษภาคม 2563 นางชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานกรรมการ มูลนิธิไทยซัมมิทพัฒนา ได้เดินทางมามอบ เตียงปลอดเชื้อสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ( Patient Transportation Chamber ) และห้องตรวจปลอดเชื้อ คลินิก มอดูร่า เออาร์ไอ ( Modula ARI Clinic ) มูลค่ากว่า 1 ล้านบาทให้กับโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมี พญ.รุ่งอรุณ สันทัดกลการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬารัตน์  3 อินเตอร์ เป็นตัวแทนรับมอบ

นางชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานกรรมการ มูลนิธิไทยซัมมิทพัฒนา ได้กล่าวว่า มูลนิธิไทยซัมมิทพัฒนา ในฐานะองค์กรเอกชนที่มีศักยภาพในการผลิตอุปกรณ์สำคัญทางการแพทย์  ได้ตระหนักถึงปัญหาความขาดแคลนทรัพยากรที่สำคัญในการทำงานของบุคคลากรด้านสาธารณสุข สำหรับการแก้ไขปัญหาหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  จึงได้จัดทำ โครงการมอบ 2 สิ่งประดิษฐ์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุข ผู้เป็นด่านหน้าในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)  โดยผลิตและออกแบบตาม ข้อมูลจากเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กเพจ Open Source COVID Thailand และคณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาลมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นเตียงปลอดเชื้อสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และ ห้องตรวจปลอดเชื้อ คลินิก มอดูร่า เออาร์ไอ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของแต่ละโรงพยาบาล โดยมีเป้าหมายในการช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อในโรงพยาบาล และระหว่างเคลื่อนย้ายผู้ติดเชื้อ เพิ่มความปลอดภัย ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นบุคลากรที่สำคัญในขณะนี้ และความมั่นใจ เพิ่มขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง อุปกรณ์ดังกล่าวมีความแข็งแรง ติดตั้งถาวร รับรองการรักษาโรคอื่นๆ ที่ติดต่อในระบบทางเดินหายใจ เช่น วัณโรค และโควิด 19 ร่วมทั้งโรคที่มีการติดต่อทางระบบทางเดินหายใจและทางอากาศ

แพทย์หญิงรุ่งอรุณ สันทัดกลการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬารัตน์  3 อินเตอร์ ได้กล่าวว่า สำหรับโครงการนี้มีประโยชน์มากทั้งคนไข้และบุคลากรทางการแพทย์ร่วมทั้งเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล โดยเฉพาะเตียงสำหรับเคลื่อนย้ายคนไข้จากจุดกหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเช่นจากห้องตรวจไปยังห้องเอ็กซเรย์ หรือย้ายไปยังจุดอื่น ๆ  เพื่อป้องกันไม่ให้คนไข้ปล่อยเชื้อโรคออกมาไม่ได้ โดยเชื้อจะผ่านกระบวนการกรองผ่านเครื่องกรองประสิทธิ์ภาพสูง  ทำให้บุคลากรทางการแพทย์มีความปลอดภัยสูงสุด ทั้งพนักงานขนส่ง พนักงานเปล พนักงานผู้ช่วยและพนักงานรังสี ผู้ช่วยพยาบาลผู้ช่วยแพทย์ และตัวแพทย์เอง จะปลอดภัยจากเชื้อต่าง ๆ  นับว่าเป็นประโยชน์สูงสุดของพนักงานและแพทย์ ซึ่งเป็นบุคลากรที่หายากมากในขณะนี้

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน