X
กฤษฎี บุญราช

“กฤษฎา บุญราช” รมว.เกษตรฯ เผยแนวทางปฏิรูปภาคการเกษตร

วันนี้ (26 เม.ย.61) เวลา 13:00 น. ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายกฤษฎี บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนร่วมพูดคุยและซักถาม ภายในงาน Meet The Press กับประเด็น “ปฏิรูปภาคการเกษตร” โดยเปิดเผยว่า ตลอดเวลา 5 เดือนที่ตนได้ดำรงตำแหน่งที่นี่ ตนและ รมช.กระทรวงเกษตรฯ อีก 2 ท่าน ได้มีการค้นคว้าหาข้อมูลและงานวิจับ พบปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ 3 ประเด็น ได้แก่ (1.) เกษตรกรขาดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นในรูปของเงินหรือพื้นที่การเกษตร (2.) ความรู้เกี่ยวกับการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการทำไร่ ทำสวน การเกษตรรูปแบบใหม่ ฯลฯ และ (3.) ความรู้เกี่ยวกับการตลาด เกษตรกรไทยเป็นประกอบอาชีพที่ขยันที่สุด ตื่นแต่เช้าเพื่อมาทำงาน แต่กลับพบปัญหาว่า เกษตรกรขาดความรู้ในเรื่องของการตลาด ไม่ว่าจะเป็นผลผลิต หรือการจัดจำหน่าย

จากปัญหาที่เกิดขึ้น ทางกระทรวงเกษตรฯ ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มีการเรียกประชุมพร้อมตั้งคณะทำงานขึ้น เพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุและแนวทางในการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร โดยในปี 2561 กระทรวงเกษตรฯ ได้มีการกำหนดนโยบาย “การตลาดนำการผลิต” เป็นแนวคิดในด้านการบริหารจัดการสินค้าเกษตรแบบใหม่ ในการวางแผนการผลิตให้อุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตรเกิดความสมดุลกัน โดยสนับสนุนให้เกษตรกรดำเนินการเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน สหกรณ์การเกษตร และผู้ค้า ให้สามารถสร้างความเชื่อมโยงกับสหกรณ์ได้ คิดเป็นมูลค่ากว่าหลายพันล้านบาท

ทั้งนี้ ได้มีการดำเนินงานโครงการสำคัญผ่าน 15 โครงการ ยกตัวอย่างเช่น โครงการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ พื้นที่รวม 3.72 ล้านไร่ รวม 3,029 แปลง โดยเกษตรกรสามารถสร้างผลผลิตรวม 6,075 ล้านบาท มีการวางแผนการตลาดแบบผลผลิตและการตลาดครบวงจรร่วมกับจังหวัดแบบกลไกประชารัฐ (2.) เกษตรอินทรีย์ สนับสนุนเกษตรกรให้มีการปลูกข้าวอินทรีย์ในพื้นที่ 120,000 ไร่ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 36,149 ราย ขายข้าวอินทรีย์ได้ราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป ตันละ 2,000-8,000 บาท (3.) ตลาดสินค้าเกษตร มีการจัดสินค้าเกษตรที่ตลาด อ.ต.ก. และมินิ อ.ต.ก. ใน 38 จังหวัด มูลค่ารวมกว่า 400 ล้านบาท เป็นต้น

สำหรับการดำเนินงานที่สนับสนุนนโยบายไทยนิยมยั่งยืนนั้น กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการ 2 แผนงาน 22 โครงการ ประกอบด้วย (1.) แผนงานยุทธศาสตร์ปฏิรูปโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาศักยภาพการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด มีเป้าหมายพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตร 1.96 ล้านราย ให้มีความเข้มแข็ง มีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5% และผลผลิตเพิ่มขึ้น 69,000 ล้านบาท (2.) แผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เป็นการยกระดับสวัสดิการ ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ สร้างโอกาสในอาชีพและการจ้างงาน ส่งผลให้มีการจ้างงานเกษตรกร 7,520 ราย เกษตรกรได้รับการอบรมสร้างทักษะอาชีพอีกกว่า 400,000 ราย

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ได้วางแผนดำเนินงานและทิศทางในการขับเคลื่อนในระยะต่อไป 3 แผนงาน ได้แก่ (1.) การขยายผลการดำเนินงานแปลงใหญ่ประชารัฐเกษตรสมัยใหม่ ให้มีความเชื่อมโยงกับการตลาดและเทคโนโยีสมัยใหม่ เชื่อมโยงกับโครงการ BOI ที่จะส่งเสริม SME ภาคเกษตรที่เป็น Agri-Solution Provider รวมทั้งการขยายเครือข่ายภาคเอกชนรายใหม่ที่จะเข้ามาดำเนินการโครงการแปลงใหญ่ประชารัฐ (2.) พัฒนาอาชีพและยกระดับเป็นแปลงใหญ่ ในการจัดที่ดินทำกินแปลงรวม ที่ได้ผ่านคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ มีแผนส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย และ (3.) การพัฒนาเกษตรกรให้เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร มีแผนงานในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ผ่านระบบไอที เพื่อพัฒนาเกษตรกรให้เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ต่อไป

กฤษฎา บุญราช กฤษฎา บุญราชกฤษฎี บุญราชกฤษฎา บุญราช กฤษฎา บุญราช

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน