บริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด และ กฟผ. ขอขอบคุณชาวแม่เมาะและประชาชนทั่วไปที่ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังและนำเสนอความคิดเห็น ในการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1
โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8-9 เกือบ 3,000 คน และร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยวาจา 48 คน สะท้อนการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินโครงการฯ ซึ่งข้อคิดเห็นของประชาชนจะนำไปกำหนดขอบเขตและมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เพื่อประโยชน์ของประชาชนต่อไป
นายประจวบ กันธิยะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ครั้งที่ 1 โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8-9 ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง เมื่อเวลา 08.00 น. และการประชุมดังกล่าวได้เสร็จสิ้นเมื่อเวลาประมาณ 14.00 น.
ด้านดร.เบญจภรณ์ บุณยพุกกณะ ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ขอขอบคุณชาวแม่เมาะและประชาชนทุกคนที่ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นตลอดจนข้อห่วงกังวลต่อการดำเนินโครงการฯ ในเวทีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8-9 โดยการประชุมดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีผู้เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน จำนวน 2,647 คน โดยมีผู้ลงชื่อแสดงความคิดเห็นด้วยวาจา จำนวน 52 คน แต่สละสิทธิ์ 4 คน สรุปมีจำนวนผู้แสดง
ความคิดเห็นด้วยวาจาทั้งสิ้น 48 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากประชาชนในพื้นที่ 5 ตำบล ได้แก่ ต.สบป้าด ต.จางเหนือ
ต.นาสัก ต.บ้านดง และ ต.แม่เมาะ รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงและประชาชนทั่วไป
ข่าวน่าสนใจ:
- ตม.สระแก้ว ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารกองกำลังป้องกันชายแดน จับกุมชาวจีน 2 ราย หลบหนีเข้าเมือง
- เพชรบูรณ์ - CEO คอนเสิร์ตโอเวอร์โค้ทเขาค้อเผย บัตร 15,000 ใบขายเกลี้ยงแล้ว มั่นใจใส่ใจคุณภาพ ทำให้แฟนคลับเหนียวแน่น
- 20 พ.ย. ปิด! มอเตอร์เวย์หมายเลข 7 รื้อสายส่งไฟฟ้าแรงสูง
- นครพนม : ทหารพราน สนธิกำลังหน่วยงานความมั่นคง ตรวจยึดยาบ้า 120,000 เม็ด พร้อมผู้ต้องหา
สำหรับสิ่งที่ประชาชนยังมีความกังวล เช่น ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การบริหารงบประมาณของกองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้า การดูแลด้านสุขภาพและสาธารณูปโภคให้ทั่วถึงยิ่งขึ้น รวมถึงการพัฒนาชุมชนและการสร้างงาน เป็นต้น และข้อคิดเห็นพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของประชาชนในวันนี้ บริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด จะนำไปเป็นกรอบการศึกษา โดยจะมีการจัดรับฟังความคิดเห็นฯ ครั้งที่ 2 ซึ่งลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์และพูดคุยกับ
กลุ่มประชาชนถึงข้อคิดเห็นและข้อสงสัยในพื้นที่ศึกษาอย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดขอบเขตและมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้ครอบคลุมตามข้อห่วงกังวลของประชาชน หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนการทบทวนและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรายงานฯ ครั้งที่ 3 เพื่อนำไปจัดทำรายงาน EHIA ฉบับสมบูรณ์ต่อไป
ทั้งนี้ ประชาชนยังสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมต่อร่างฉบับนี้ได้ โดยส่งข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะไปที่ 1. E-Mail: [email protected] และ [email protected] 2. คุณวีณิฐฐา วรเกียรติธนากร และคุณรัตติยา งามประดิษฐ์ โทรศัพท์ 0-2509-9000 กด 2322 หรือ 2315 โทรศัพท์มือถือ 061-564-4480 โทรสาร 0-2509-9047 3. ส่งไปยัง บริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนท์ จำกัด 152 ถนนนวลจันทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230 (ชั้น 13 โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8-9) ภายใน 15 วัน นับจากวันจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ จนถึงวันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม 2562
อีกทั้งนายสมรักษ์ เพ็ชรเจริญ ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงานโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า “ขอขอบคุณชาวแม่เมาะที่ให้ความสนใจมารับฟังและแสดงความคิดเห็นอย่างคับคั่ง สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8-9 เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ใช้ถ่านลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะเป็นเชื้อเพลิง มีขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 660 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่ ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง นั้น ดำเนินการเพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 8-9 ซึ่งจะถูกปลดออกจากระบบในปี 2565 เพื่อรักษาระดับกำลังผลิตและความมั่นคงของระบบไฟฟ้าภาคเหนือ รวมถึงรักษาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018)
สำหรับการแสดงความคิดเห็นในวันนี้ กฟผ. และบริษัทที่ปรึกษาฯ จะรวบรวมทุกข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ไปกำหนดกรอบและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในขั้นตอนต่อไปให้ครอบคลุมทุกข้อห่วงกังวล เพื่อให้การศึกษาและจัดทำรายงาน EHIA เป็นไปอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด โดยประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: