X

เกษตรฯ แนะชาวไร่ลดเผาซากพืช ใช้วิธีไถกลบ แก้ปัญหาฝุ่นละอองในอากาศ

กระทรวงเกษตรฯ ให้คำแนะนำชาวไร่ช่วยกันลดการเผาซากพืช และหันมาใช้วิธีไถกลบแทน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในอากาศเกินค่ามาตรฐาน

นายกฤษฎา บุญราช เปิดเผยว่า ปัญหาฝุ่นละอองในปัจจุบันที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมฝนหลวงฯ ได้ขึ้นบินปฏิบัติการเพื่อแก้ ไขปัญหาดังกล่าว โดยการขึ้นบินฝนหลวงจะประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับเงื่อนไข 2 ประการดังนี้ั

1. ต้องมีความชื้นสัมพัทธ์ที่ค่อนข้างสูง อยู่ในระดับร้อยละ 60-70 

2. ค่าการยกตัวของเมฆ ถ้าติดลบ และความชื้นสัมพัทธ์มาก ก็สามารถปฏิบัติการฝนหลวงได้ สำเร็จ 

โดยตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม ที่ผ่ามามีค่าความชื้นสัมพัทธ์สูงถึงร้อยละ 70  และค่าการยกตัวของเมฆติดลบ ทำให้ปฏิบัติภารกิจสำเร็จปริมาณฝนตกตามพื้นที่เป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้มีการประสานงานกับหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบแก้ไขเกี่ยวข้องกับฝุ่นละออง คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณะสุข ในส่วนของกรมฝนหลวงฯ ได้มีการเตรียมความพร้อมฐานบิน สถานีที่ทำฝนหลวงรอบ กทม. และเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ ระบบการสื่อสาร และติดตามสภาพอากาศ ตลอด 24 ชม.

สำหรับค่าฝุ่นละอองใน กทม.ขณะนี้ เกิดจากมลพิษ การใช้ชีวิตของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไป รัฐบาลพยายามลดหรือบรรเทาเบาบาง ขณะนี้แม้เราแก้ไขโดยการใช้ ฝนหลวงไม่ได้ จึงบรรเทาด้วยวิธีการฉีดพ่นละอองน้ำ การตรวจจับควันดำยานพาหนะที่ปล่อยแก๊ส โรงงานปล่อยของเสีย ซึ่งค่าความเสียของอากาศหรือค่าฝุ่นที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อยู่ในระดับที่จะมีผลต่อสุขภาพ แต่กราฟแสดงคุณภาพอากาศไม่ได้ขึ้นสูงทุกวัน บางวันลดลง เรื่องเหล่านี้ยอมรับว่าเป็นความพยายามของรัฐบาล ในขณะเดียวกันจะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย

นายกฤษฎา กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้มีนโยบายเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน โดยการจูงใจไม่ให้ เกษตรกรเผาซากพืช ที่ทำการเกษตร ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยประสานงานกับ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ ได้หาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยวิธี  “ผลาญ 3 ผลาญ 4” คือ การไถกลบด้วยจอบ หรือรถไถ ในกรณีที่เกษตรกรปลูกข้าวโพด

เดิมเมื่อเก็บฝักข้าวโพดเสร็จก็ จะนำไปเผา เพื่อเตรียมทำพืชฤดูใหม่ แต่ปัจจุบันพบว่าเมื่อเก็บข้าวโพดเสร็จจะมีการไถกลบ แล้วโปรยสารอีเอ็มเพื่อย่อยสลายภายใน 15 วันหรือ 1 เดือน ทำให้ดินกลายเป็นปุ๋ย ขณะนี้ได้เผยแพร่วิธีดังกล่าวไปยังเกษตรกรซึ่งเป็นที่นิยม เนื่องจากวิธีเผานั้นทำให้ดินเสียหาย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ จากกระทรวงมหาดไทยได้สร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกรเพื่อหันมาลดการเผาให้มากขึ้น  ดังนั้นในปี 2559-2561 มีค่าความร้อนของอากาศที่เกิดจากการเผาของซากพืช วัชพืช น้อยหรือแทบไม่มีเลย

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน