X

ศธ.ขับเคลื่อนแนวทางการบูรณาการด้านการศึกษาภาคเหนือ

พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายและแนวทางการบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคเหนือ) เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ทิศทาง นโยบาย และแนวทางการบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค

พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่เพื่อติดตามการขับเคลื่อนการบูรณาการแผนการศึกษาระดับภูมิภาคครั้งนี้ ได้เชิญศึกษาธิการภาคทั้ง 6 ภาค ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งเมื่อเร็ว ๆ นี้ เพื่อมาพิจารณางานที่ได้เริ่มดำเนินการ รวมทั้งเป็นการกำหนดทิศทางการทำงานในพื้นที่ระดับภูมิภาคให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีองค์กรหลักในการทำงานคือ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)

โดยส่วนกลาง จะเป็นผู้กำหนดนโยบายและให้การสนับสนุน รวมถึงข้อระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนในพื้นที่ การบริหารราชการที่รัฐบาลกำหนดให้เป็น 6 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคใต้ชายแดน จะมีศึกษาธิการจังหวัด ตลอดจนส่วนราชการในระดับจังหวัด ร่วมกันทำงานเชื่อมโยงกันหมด เพื่อส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ด้านศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดความยั่งยืน สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศในบริบทและมิติต่าง ๆ และบรรลุตามวิสัยทัศน์ของประเทศไทยในปี 2580

อย่างไรก็ตาม พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวต่ออีกว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการชี้แจงทิศทางการทำงานที่ชัดเจนมาก ซึ่งแต่ละหน่วยงานชี้ให้เห็นแล้วว่าจะเชื่อมโยงการทำงานในส่วนของภาคเหนืออย่างไร จึงฝากให้ไปดำเนินการเพิ่มเติมในส่วนขยายให้เชื่อมโยงกัน ซึ่งศึกษาธิการภาคจะต้องมีลักษณะประจำตัว คือ “เป็นนักเชื่อมโยง” ไม่ว่าจะเป็นในระดับภาคหรือในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการบูรณาการอย่างแท้จริง

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 6 ภาค  ถือเป็นเรื่องใหม่ที่คาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.ในเร็ว ๆ นี้ จะเป็นการพัฒนาการศึกษาแบบที่เรียกว่าพลิกโฉมหรือมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ โดยนำร่องภาคละ 1 จังหวัด ที่เชียงใหม่ (ภาคเหนือ) ศรีสะเกษ  (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กาญจนบุรี (ภาคกลาง) สตูล (ภาคใต้) และยะลา-นราธิวาส-ปัตตานี (ภาคใต้ชายแดน) เพื่อให้เกิดความรอบคอบ ซึ่งเมื่อออกเป็น พ.ร.บ.แล้ว จะมีการออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ โดยให้มีกรอบการทำงาน 7 ปี มีการทบทวนเป็นระยะ

หากการนำร่องก้าวหน้าด้วยดี ก็จะทำให้เกิดความเข้มแข็งในลำดับต่อไป ซึ่งในส่วนของ สพฐ.ก็ได้มีการขยายงานเรื่องนี้ โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งมีการประชุม “EDU Digital 2019” ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา และจะดำเนินการในภาคอื่น ๆ ต่อไป การพัฒนาคุณภาพประชากรด้วยการออกกำลังกาย หรือการนำการกีฬาเข้าสู่วงการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาล

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน