X

เปิดใจ 3 ฮีโร่ จากปฏิบัติการค้นหาทีมหมูป่า

กระทรวงวัฒนธรรมจัดนิทรรศการปฏิบัติการถ้ำหลวง วาระแห่งชาติภายในงานมีการจัดเสวนาปฏิบัติการช่วยเหลือทีมหมูป่าโดย นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนาการผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา อดีตผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหาย ในวนอุทยานแห่งชาติถ้ำหลวงฯพลเรือตรี อาภากร อยู่คงแก้วผบ.หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือพันโท นายแพทย์ ภาคย์ โลหารชุนผู้บังคับกองพันเสนารักษ์ที่ 3 ร่วมเสวนา

นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนาการ กล่าวว่าก่อนที่จะเริ่มต้นปฏิบัติการค้นหาทีมหมูป่าในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน เกิดขึ้นจากการที่น้องทีมหมูป่ารวมตัวกันหลังซ้อมฟุตบอลเสร็จ เข้าไปออกกำลังกายแอดเวนเจอร์ในถ้ำหลวงซึ่งเข้ากันไปในข่วงบ่าย ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งว่ามีเด็กหายเข้าไปในถ้าเวลาประมาน 5-6 โมงเย็น ส่วนตัวผมกว่าจะได้รับแจ้งปาเข้าไปเกือบเที่ยงคืน

เมื่อได้รับแจ้งแล้วรู้สึกตกใจเป็นอย่างมาก รีบเปลี่ยนเสื้อผ้าออกจากจวนผู้ว่าเพื่อเดินทางไปยัง อ.แม่สาย ทันที โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง เมื่อมาถึงถ้ำสั่งคนเข้าคนหาทันทีในช่วง 01.00 น. และกลับออกมาใช่วง 04.00 น. ซึ่งเป็นการค้นหาครั้งแรกและทุกคนก็มีอาการท้อเล็กน้อย เพราะในถ้ำไม่สามารถติดต่อกันได้อย่างสะดวกเนื่องจากไม่มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอะไรเลย

ในถ้ำก็มืดมากโดยระยะห่างกันแค่หนึ่งฝ่ามือถ้าไม่มีไฟฉายยังมองกันไม่เห็นเลย ทำให้ทีมค้นหาที่เข้าไปรอบแรกมีอาการเหนื่อยล้าอย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่อมองไปเห็นหน้าผู้ปกครองของเด็กที่มายืนรอกันด้วยความหวังจะได้พบหน้าลูกๆของตนเอง ด้วยความเข้าใจหัวอกของความเป็นพ่อเป็นแม่ทำให้เกิดอาการเห็นใจและเป็นแรงฮึดที่ทำให้ประกาศออกไปว่าอย่างไรเสียก็ต้องตามหาเด็กๆทั้งหมดให้เจอให้ได้

หลังจากนั้นช่วง9 โมงเช้าของวันต่อมาเริ่มระดมพลกันอีกครั้งตอนนั้นมีกำลังใจมากเเละคิดว่าอย่างไรวันนี้ก็ต้องเจอเพราะไม่น่าเหนือบากกว่าเเรงในการตามหาเด็ก เดี๋ยวเจ้าหน้าที่ทีมค้นหาเข้าไปก็ต้องเจอเด็กทั้งหมด แต่หลังจากที่เข้าไปอยู่ในถ้ากัน 2 ชั่วโมงและออกมาตอน 11 โมงสีหน้าของทุกคนเริ่มแสดงอาการไม่มั่นใจและมองว่าการค้นหาครั้งนี้ไม่ใช่งานง่ายอีกต่อไปแล้วเพราะในถ้ำมีน้ำท่วมขังสูงถึง5 เมตร

จึงได้มีการปรึกษาหารือกันอีกครั้งและได้ตัดสินใจว่าต้องใช้วิธีประกาศภัยฝนตกน้ำท่วมในการช่วยเหลือเด็กครั้งนี้ โดยได้มีการระดมทีมดำน้ำอีก 18 ชีวิต แบ่งออกเป็น 3 ทีมเข้าไปค้นหาอีกครั้งและกลับออกมาตอน 18.00 น. ก็ยังคงเหมือนเดิมทุกคนบอกว่าไม่ไหวเนื่องจากในถ้ำมืดมากมองอะไรไม่เห็นเลยแม้แต่นิดถ้าไม่มีไฟฉาย โคลนในถ้ำก็เต็มไปหมด

ขณะเดียวกันช่องทางซอกซอยต่างๆก็ถูกปิดด้วยโคลนไปแทบจะหมดแล้ว โดยที่อุปกรณ์ในการช่วยเหลือก็มีไม่เพียงพอประกอบกับนักดำน้ำไม่คุ้นกับสถานที่นอกจากนี้แล้วน้ำในถ้ำยังมีอุณหภูมิที่ต่ำถึง18-20 องศาฯ จึงยอมรับสภาพว่าศักยภาพการค้นหาระดับจังหวัดน่าจะไม่เพียงพอแล้ว ดังนั้นต้องยกระดับการช่วยเหลือขึ้นและได้ขอความอนุเคราะห์จากกองทัพเรือขอทีมดำน้ำมาช่วย

การส่งทีมค้นหาเข้าไปคำนึงเสมอว่าทุกชีวิตมีค่าดังนั้นแล้วเราต้องวางเเผนให้ละเอียด ซึ่งระดับน้ำในถ้ำขึ้นอยู่ตลอดเวลามีมวลน้ำกว่า 3 แสน ลบ.ม.ทำให้ทีมค้นหาหลายภาคส่วนเกิดอาการท้อแต่ก็ต้องขอบคุณหน่วยซีลที่ไม่ย่อท้อพยายามเข้าพื้นที่อยู่ตลอดเวลา

สำหรับการค้นหาน้องทีมหมูป่าเรื่องที่ยากเรื่องหนึ่งนอกจากการช่วยเหลือแล้ว คือการควบคุมคนจำนวนมากที่มาช่วยเหลือค้นหา และสื่อมวลชนที่มาปักหลักทำข่าว มันยากมากที่จะทำอย่างไรให้ผู้ปฏิบัติการได้รับในสิ่งที่ต้องการทันที เพราะการค้นหาไม่มีใครคิดหรอกว่าจะแวดหัวเมื่อไร ไม่สบายตอนไหน หรือจะได้รับบาดเจ็บอะไร ดังนั้นการเตรียมของอำนวยความสะดวกเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราต้องคิดแทนทีมช่วยเหลือและเตรียมไว้ให้ได้ทันท่วงที

ขณะที่การบริหารจัดการสื่อก็เป็นเรื่องยากเหมือนกันเพราะต้องคอยตอบคำถามอยู่ตลอดเวลามีครั้งหนึ่งที่เราต้องประกาศถอยเพื่อป้องกันความปลอดภัยให้กับทีมค้นหา และโดนสื่อถามว่าทำไมต้องถอยผมก็ได้แต่ตอบพวกเขาไปว่าผมส่งคนเข้าไปกู้ภัยและค้นหาไม่ได้ส่งใครเข้าไปตายทุกคนมีลูกภรรยารออยู่ที่บ้านด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งเป็นประโยคประจำวันเลยก็ว่าได้

ส่วนพลเรือตรี อาภากร อยู่คงแก้วเผยว่าหลังจากที่ได้รับการประสานจากคุณณรงศักดิ์ ก็ระดมพลออกจากอู่ตะเภาทันทีเพื่อมุ่งหน้าไปยังเชียงรายถึงตอน 02.00 น. และหลังจากนั้นช่วง 04.00 น. ก็เริ่มการค้นหาทันที อย่างที่บอกว่าช่วงแรกดูง่ายแต่สุดท้ายก็ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะมาเห็นในถ้ำมีน้ำเยอะมากและทีมดำน้ำก็โดนน้ำถล่มไล่ออกมาจากถ้ำจนได้ทำให้เกิดความยากลำบากในการค้นหา

ดังนั้นจึงได้มีการประเมิณสถานการณ์ว่ามีเวลา1 เดือนในการค้นหาเพราะวัดจากหลักเกณฑ์ของคนที่ติดถ้ำทั่วไปสามารถดำรงชีพได้อย่างน้อย1 เดือน เมื่อเห็นว่ามีเวลา 1 เดือนก็มีความอุ่นใจขึ้นมาบ้าง จึงได้มีการหาวิธีช่วยเหลือกันต่อไป โดยมีแผนไว้แล้วว่าเมื่อเจอเด็กจะทำอย่างไรเพราะว่าสภาพร่างกายของเด็กๆจะต้องแย่อย่างแน่นอนจากภาวะขาดสารอาหาร

“ต้องขอบคุณทีมดำน้ำจากออสเตรเลีย จีน และอังกฤษที่ได้ร่วมกันค้นหาในปฏิบัติการครั้งนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งมีอุปสรรคจากกคะแสน้ำที่เย็นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางหน่วยซีลของเราก็ได้มีการปลุกใจกันว่าจะไม่สนเรื่องกระแสน้ำและการระบายน้ำอีกต่อไปแล้ว แต่เราจะต้องทำตัวให้กลมกลืนกลับมวลน้ำในถ้ำให้ได้ซึ่งน้ำในถ้ำสูงถึง 5 เมตร การจะอยู่น้ำในถ้ำหลวงคือเราจะอยู่ได้ตราบเท่าที่มีอากาศหายใจเท่านั้น”

จึงได้มีการนำถังออกซิเจนเข้ามาติดตั้งภายในถ้ำซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน และภาคเอกชนร่วมบริจาก ต้องยอมรับว่าคนไทยโชคดีที่มีพระเจ้าอยู่หัวที่ห่วงใยผสกนิกรโดยพระองค์รับสั่งว่าถ้าต้องการอะไรในการใช้ค้นหาเด็กๆในครั้งนี้ให้ทูลขอได้ทันทีพระองค์จะจัดหามาให้ทั้งหมด ซึ่งงานนี้ใช้ถังออกซิเจนกว่า 600 ถังเยอะที่สุดเท่าที่เคยปฏิบัติการมา

โดยปกติแล้วจะใช้กันแค่ร้อยกว่าถังเท่านั้น สำหรับการปฏิบัติการครั้งนี้หน่วยซีบได้วางแผนใช้โถง 3 ของถ้ำเป็นกองบัญชาการส่วนหน้า แต่กว่าที่จะไปถึงโถง 3 นั้นต้องผ่านโถง 2 ซึ่งต้องดำน้ำเข้าไป จึงมีความจำเป็นที่ต้องหาคนมาดำน้ำลำเลียงถังออกซิเจนเข้าไปติดตั้งยังจุดต่างๆ ซึ่งก็ได้อาสาสมัครจากหน่วยงานอื่นๆเข้ามาให้ความร่วมมืออย่างเช่นหน่วยกู้ภัย หรือตำรวจน้ำ เป็นต้น โดยมีหน่วยซีลเป็นแนวหน้า ซึ่งการดำน้ำเข้าไปในครั้งนี้ 1 คนต้องใช้ถังออกซิเจนในการหายใจถึง 4 ถังถือว่าเยอะมาก

แต่อย่างไรก็ตามทีมค่นหาทั้งหมดก็ไม่ได้ย่อท้อแต่ก็มีการทำงานกันเป็นทีมร่วมกันจนในที่สุดทีมดำน้ำจากอังกฤษเป็นทีมที่ได้ไปพบน้องทีมหมูป่าก่อนถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่เราสามารถค้นหาน้องๆจนเจอเพราะทหารเวลาไปรบถึงแม้ว่าคนของเราอยู่แนวหน้าถ้าเกิดการสูญเสียอย่างไรเสียก็ต้องเอาศพกลับมาให้ได้

การตายในสนามรบถือเป็นเกียรติอย่างมาก ในกรณี”จ่าแซม” เขาลาออกจากราชการตั้งแต่ปี 49 แต่พอมีเหตุวิกฤติก็อาสามาช่วยทั้งๆที่ข้างในถ้ำมีความเสี่ยงมากเพราะมองอะไรแทบไม่เห็นเลย การเสียชีวิตของ”จ่าแซม”ถึงแม้ว่าร่างไม่อยู่แล้วแต่ชื่อของ”จ่าแซม”ทุกคนยังจำได้ในฐานะวีรบุรุษ

ขณะที่พันโท นายแพทย์ ภาคย์ โลหารชุนกล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า ทันทีที่ตนเองได้รับการติดต่อให้เข้าร่วมปฏิบัติการก็รีบตอบตกลงทันที ซึ่งพอไปดูหน้างานถึงกับต้องกุมขมับกันเลยทีเดียวเพราะว่ามันยากมากในการดำน้ำในถ้ำที่มีความคดเคี้ยว มืด น้ำสูงและเย็นถึง 18-20 องศาฯ แต่ว่าอย่างไรก็ต้องทำให้ได้ ถ้าเกิดมีปัญหาขึ้นก็ค่อยๆแก้ไปทีละอย่างใช้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

สำหรับสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้การค้นหาประสบความสำเร็จมองว่าเป็นเรื่องของกำลังใจเพราะมีอุปสรรคมากมายอย่างวันแรกที่ได้เข้าไปในถ้ำน้ำยังไม่ลดเพราะเครื่องปั๊มน้ำยังมาติดตั้งไม่ครบ แต่อย่างไรก็ต้องขอบคุณที่ให้ตนเองได้เข้ามามีส่วนร่วมกับปฏิบัติการนี้เพราะได้กลับมาร่วมงานกับหน่วยซีลมันเหมือนได้กลับมาเจอครอบครัวอีกครั้ง และได้เห็นถึงสปิริตของทุกคนที่ไม่มีความย่อท้อและอยากจะหันหลังกลับเลยแม้จะเกิดการสูญเสียก็ตาม

การที่ตนเองเข้าไปในถ้ำครั้งนี้ครอบครัวก็สนับสนุนโดยมีการบอกกับภรรยาว่าจะเข้าไปอยู่ในถ้ำกับเด็กๆ2 วัน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ตลกอยู่เหมือนกันเมื่ภรรยาของผมเล่าให้ฟังว่าลูกถามว่าผมไปไหน ตัวภรรยาของผมก็บอกลูกให้ดูทีวีบอกว่าพ่ออยู่ในทีวี ซึ่งลูกและภรรยาก็เป็นกำลังใจที่สำคัญของผมเข่นกันในการปฏิบัติงานในครั้งนี้

ย้อนไปตอนที่เจอน้องทีมหมูป่าน่วนตัวคิดว่ามีสภาพที่ดีกว่าที่คาดไว้เยอะมาก ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อยู่ในเกณฑ์ดีจนน่าประหลาด

นอกจากนี้ยังสามารถพูดคุยทักทายกันได้ตามปกติ ซึ่งจริงๆแล้วควรจะมีอาการเบลอจากการขาดสารอาหาร ซึ่งทำให้ผมตระหนักว่าระบบการศึกษาไทยควรมีการเรียนการสอนวิธรการเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญกับการดำรงชีพ โดยส่วนตัวที่คิดว่าน้องๆไม่เป็นอะไรมากเพราะสภาพร่างกายแข็งแรง และยังรู้วิธีการเอาตัวรอดในเบื้องต้น นอกจากนี้แล้วเด็กกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่คลุกคลีกับธรรมชาติอยู่แล้วทำให้สามารถเข้าใจอะไรหลายๆอย่างดี

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน