X

อพท.ชูโมเดลเล่าเรื่องชุมชนยกระดับท่องเที่ยวไทย

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท.ผุดไอเดียเล่าเรื่องชุมชนท้องถิ่น ยกระดับท่องเที่ยวหวังดึงนักท่องเที่ยวไทยเข้าประเทศ
 
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน) หรือ อพท. จัดกิจกรรม เวทีรวมพล คนท่องเที่ยวโดยชุมชน CBT Forum by DASTA ตอน Story Telling รวมพลค้นความหมาย ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีการเสวนในหัวข้อ “กระบวนการค้นความหมาย เรื่องเล่าชุมชน”
 
โดยมีผู้ร่วมบรรยายคือ นายสุเทพ เกื้อสังข์ รองผู้อำนวยการ อพท.นักพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน, ดร.แก้วตา ม่วงเกษม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหารและสนับสนุนวิชาการ วิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล นักพัฒนาการสื่อสารนักสื่อความหมายชุมชน และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ วิศาลสิงห์ ประธานบริหารสมาคม Pacific Asia Travel Association (PATA) นักออกแบบประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ร่วมบรรยา
 
ทำไม อพท. ถึงให้ความสำคัญกับการทำ Story Telling?
สุเทพ เกื้อสังข์ กล่าวว่า การทำการท่องเที่ยวชุมชน สิ่งที่สำคัญคือกลไกการค้าแบบมีส่วนร่วม แต่บางคนก็มีความถนัดกันคนละด้าน เก่นกันไปเฉพาะทาง ดังนั้นต้องนำความหลากหลายเหล่ารั้นมารวมกันเป็นหนึ่งเดียว นี่คือปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การท่องเที่ยว แต่ว่าสิ่งเหล่านี้มันตะไม่ทำให้เกิดการซื้อซ้ำ
ถ้าอยากให้นักท่องเที่ยวกลับมาอีกครั้ง เราต้องทีการเล่าเรื่องโดยใช้คนในชุมชนนั่นแหละเป็นสื่อกลาง ประเด็นสำคัญคือเราต้องสืบค้นเสียก่อนว่าในชุมชนมีอะไรที่น่าสนใจ และหยิบเรื่องราวบางส่วนมาเป็นจุดขายเช่นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่กว่าตะได้อะไรมาสักชิ้นมีความยากลำบากแค่ไหน พอนักท่องเที่ยวได้สัมผัสจะเกิดความสนใจในคุณค่าของเรื่องราวและสิ่งของที่กว่าจะได้มาสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดมูลค่าที่มากกว่า
ซึ่ง อพท.เราเรียกตัวเองว่าเป็นนักพัฒนาที่จะเข้าไปร่วมมือกับชุมชน เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนสามารถสร้างเรื่องราวไปต่อยอดนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อพท.จึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมากและเป็นอันดับแรกอีกด้วย เพราะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้การท่องเที่ยวซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงใจกับนักท่องเที่ยวไทย และต่างประเทศ
 
มีของดีแล้ว จะเล่าอย่างไร?
ดร.แก้วตา ม่วงเกษม เผยว่าในส่วนเรื่องของการสื่อความหมายโดยเฉพาะชุมชนที่มีวิถีเรียบง่ายถือเป็นเรื่องยากจริงๆที่เราต้องเล่าออกมาและให้คนรู้สึกว๊าว เลยมองว่าไม่ได้เทรนเรื่องการเป็นเจ้าบ้านที่ดี แต่ควรทำให้คนในชุมชนมั่นใจและภูมิใจในความเป็นอัตลักษณ์ของเขาเอง ซึ่งเราได้เสริงเรื่องกระบวนการเพิ่มเติมจากการเก็บข้อมูลต่างๆ
ว่าสิ่งที่เราทำมันตอบโจทย์ชุมชน ซึ่งเรามีการเช็คความพร้อมว่าจริงๆแล้วแต่ละชุมชนมีความสามารถในการเล่าเรื่องอยู่ในระดับไหน ซึ่งได้มีการลิสต์เรื่องห้ามพลาดของแต่ละชุมชนทำให้คนในชุมชนเข้าใจวิธีการเล่าเรื่องมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการให้คนในชุมชนเรียนรู้กระบวนการต่างๆ เช่นการจัดการทางอารมณ์ การจัดการอย่างเป็นระบบ และการละลายพฤติกรรม
เพื่อให้สามารถนำไปเชื่อมโยงกับการแนะนำข้อมูลนักท่องเที่ยวและเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวที่ดีได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังได้เสริมสร้างทักษะการพูดกับคนแปลกหน้าให้กับคนในชุมชนเพิ่มเติมอีก เพราะว่าบางคนกลัวที่จะพูดคุยกับคนแปลกหน้าจึงจัดวิธีการพูดเพื่อให้สามารถกล้าคุยกับคนแปลกหน้าแบบเป็นธรรมชาติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างการเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวที่ดีให้กับคนในขุมชนนำไปพัฒนาตนเองต่อไป
 
นำเสนอเรื่องราวอย่างไรให้น่าสนใจ
ดร.จุฑามาศ อินทรังษี เปิดเผยว่า สิ่งสำคัญของการเล่าเรื่องนั่นคือการสืบค้นข้อมูล และนำมาร้อยเรียงให้เป็นเรื่องราว ซึ่งก็เป็นเรื่องยากเพราะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก ถึงจะสามารถนำเรื่องราวมาถ่ายทอดให้เกิดความเข้าใจที่ดีและผู้รับสารเกิดอาการอินตาม มันเป็นเรื่องที่ต้องนำทักษะหลายด้านมาขมวดเข้าไว้ด้วยกันและใช้ทักษะมากพอตัว
ดังนั้นแล้วการถ่ายทอดเรื่องราวที่ดีต้องมีการยกระดับให้ไปสื่อสารกับนักท่องเที่ยวได้ โดยใช้ศาสตร์ Apply theatre เข้ามาประยุกต์ซึ่งเป็นหลักคล้ายๆกับละคร นั่นก็คือการถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชนเราจะใช้ลักษณะเป็นละคร 1 เรื่อง ขณะที่พลอตเรื่องต้องให้ความรู้สึกกับคนที่มาเที่ยวให้เขาเข้ามามีส่วนร่วมหรืออินกับเรื่องราวให้ได้ จึงได้พยายามเล่าเรื่องให้เป็นฉากในละคร ซึ่งต้องมีจุดพีค และจุดคลี่คลาย
ทำอย่างไรก็ได้ให้นักท่องเที่ยวอินและอยากกลับไปทำอะไรสักอย่างเช่นสร้างแรงบันดาลใจ ใส่ดราม่าเข้าไปเล็กน้อยแต่ไม่ทำให้เรื่องมันผิดเพี้ยน จึงจะเป็นการนำเสนอที่มีสีสันและตรงใจกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักท่องเที่ยว

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน