X

แย้ง “แอมนาสตี้ฯ” เห็นใจอาชญากร มองข้ามเสียงเหยื่อและญาติ

ทนายเกิดผล แย้งแอมนาสตี้ฯ กล่าวหาประเทศไทยละเมิดพันธกิจยกเลิกโทษประหาร หลังศาลตัดสินประหารชีวิตผู้ต้องหาชิงทรัพย์โดยใช้มีดกระหน่ำแทง 24 แผลเสียชีวิตอย่างทารุณ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับคำตัดสิน ขณะที่ องค์กรสิทธิ์ได้ยินแต่เสียงอาชญากร ไม่ได้ยินเสียงวิงวอนของเหยือ หรือความรู้สึกของญาติคนตาย

จากกรณี กรมราชทัณฑ์ ได้บังคับโทษประหารชีวิตนักโทษชาย ธีรศักดิ์ หลงจิ ผู้ต้องขังในคดีฆ่าผู้อื่นอย่างทารุณโหดร้ายที่ จ.ตรัง ด้วยการใช้มีดแทงเหยื่่อ 24 แผล เพื่อชิงทรัพย์โทรศัพท์มือถือ กระเป๋าสตางค์ จนเหยื่อถึงแก่ความตาย ซึ่งศาลฎีกาได้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น นับเป็นการประหารชีวิตที่ห่างหายไปจากประเทศไทย มานานเกือบ 9 ปีแล้ว

กระทั่ง เพจแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ตอบโต้ว่า เป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตรอดอย่างน่าละอาย โดยประเทศไทยละเมิดพันธกิจการยกเลิกโทษประหาร และไม่สอดคล้องกับกระแสโลก อีกทั้งระบุว่า “ไม่มีหลักฐานใดๆ ว่า โทษประหารจะส่งผลให้บุคคลยั้งคิดก่อนกระทำความผิดอย่างชัดเจน การที่ทางการไทยคาดหวังว่า มาตรการเช่นนี้จะช่วยลดการก่ออาชญากรรม จึงเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง โทษประหารนับเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีมากสุด

ทั้งไม่ได้เป็น “คำตอบสำเร็จรูป” ที่ช่วยแก้ปัญหาที่ทางการต้องการแก้ไขอย่างรวดเร็ว หลังผ่านไปเกือบ 10 ปีที่ไม่มีการประหารชีวิต การประหารชีวิตครั้งนี้นับเป็นความถดถอยสำคัญในเส้นทางไปสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิตของไทย รัฐบาลไทยต้องยุติแผนการใด ๆ ที่จะประหารชีวิตประชาชนอย่างต่อเนื่อง และจัดทำความตกลงชั่วคราวเพื่อยุติการใช้โทษประหารชีวิต”

นอกจากนี้ ยังมีการเชิญชวนให้ร่วมแสดงจุดยืนด้านสิทธิมนุษยชน โดยให้มาร่วมไว้อาลัยแด่การตัดสินโทษประหารชีวิต อย่างพร้อมกัน ในวันอังคารที่ 19 มิ.ย. เวลา 14.00-14.30 น. ที่หน้าเรือนจำกลางบางขวาง

ล่าสุด ทนายเกิดผล แก้วเกิด ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบุข้อความว่า “เสียงวิงวอนขอชีวิตของเหยื่อ ไม่มีใครได้ยิน แต่เสียงอาชญากรในแดนประหารไม่ต้องวิงวอน ก็มีคนเรียกร้องแทน”

โดยมีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นสนับสนุน ระบุว่า เหตุผลของการคงอัตราโทษประหารในปัจจุบันแตกต่างจากอดีต เราประหารเพื่อผลลับทางจิตวิทยา เพื่อไม่ให้ผู้กระทำผิดอื่นๆ เอาเป็นเยี่ยงอย่าง แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนจุดมุ่งหมายของโทษประหารก็ควรเปลี่ยนเป็น เพื่อคัดคนที่สังคมไม่ต้องการหรือไม่สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติออกไปอย่างถาวร บ้างกล่าวถึง คดีฆ่าข่มขืนน้องแก้ม เด็กอายุ 13 ปี โยนทิ้งจากรถไฟ ถึงจะไม่ใช่ญาติแต่ก็รู้สึก ..ขอสนับสนุนโทษประหาร , ความรู้สึกของญาติพี่น้องของเหยื่อมีแต่คนมองข้าม ฯลฯ

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน