X

ศาลปกครอง สั่งโภคิน ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายโครงการจัดซื้อรถดับเพลิงฯ

ศาลปกครองสูงสุด พิพากษาเพิกถอนคำสั่ง กทม. ให้โภคิน พลกุล ชดใช้ค่าเสียหายคดีทุจริตโครงการจัดซื้อรถดับเพลิง เรือดับเพลิง และอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ในปี 2546

ศาลปกครองกลาง อ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ อ.1522/2559 หมายเลขแดงที่ อ.499/2561 ระหว่าง นายโภคิน พลกุล ผู้ฟ้องคดีกับกรุงเทพมหานคร ที่ 1 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ 2 ผู้ถูกฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (โครงการจัดซื้อรถดับเพลิง เรือดับเพลิง และอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย)

โดยศาลปกครองสูงสุด พิเคราะห์แล้วเห็นว่า โครงการจัดซื้อรถดับเพลิงและเรือดับเพลิง รวมทั้งอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อครั้งเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐออสเตรียประจำประเทศไทย เข้าเสนอโครงการจัดหารถดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยในลักษณะรัฐต่อรัฐตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2546

ต่อมาเมื่อผู้ฟ้องคดีได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้ฟ้องคดีที่ี 2 ได้มีหนังสือลงวันที่ 12 ต.ค. 2547 แจ้งถึงกระบวนการจัดซื้อดังกล่าว อาจดำเนินการมาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และแจ้งให้ทราบว่ามีผู้ยื่นเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการสืบสวนสอบสวนการจัดซื้อดังกล่าว

ดังนั้น ด้วยอำนาจหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีในขณะที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรฯี ที่ต้องควบคุมดูแลการปฏิบัติราชการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เมื่อพบหรือมีเหตุอันควรสงสัยองค์กร ที่อยู่ใต้การควบคุมดูแลว่าอาจมีการบริหารงานที่ส่อไปในทางที่ไม่สุจริตและอาจทำให้เกิดความเสียหายหรือเสียประโยชน์อย่างใดๆ

แล้วผู้ฟ้องคดีย่อมมีอำนาจที่จะดำเนินการสั่งให้มีการตรวจสอบเรื่องราวตลอดจนข้อเท็จจริงที่ผ่านมาว่าได้ดำเนินการถูกต้องตลอดจนข้อเท็จจริงที่ผ่านมาว่าได้ดำเนินการถูกต้องและชอบด้วยระเบียบกฎหมายหรือไม่แต่ผู้ฟ้องคดีหาได้กระทำเช่นนั้นไม่จึงเป็นการไม่ดำเนินการควบคุมดูแลการบริหารราชการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 อันถือได้ว่าเป็นการละเลยหรืองดเว้นการกระทำตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาข้อความตามหนังสือลงวันที่ 5 พ.ย. 2547 ที่ผู้ฟ้องคดีมีถีึงผู้ถูกฟ้องคดี ท่ี 2 ว่า “ควรดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขใน Agreement of Understanding (A.O.U.)” นั้น มิได้มีลักษณะเป็นการสั่งการให้ดำเนินการ คงเป็นเพียงการแจ้งตอบข้อหารือและให้ความเห็นประกอบ

เน่ื่องจากผู้ฟ้องคดีมีอำนาจหน้าที่เพียงควบคุมกำกับดูแลการบริหารราชการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เท่านั้น ไม่มีอำนาจสั่งยกเลิกเพิกถอนนิติกรรมใดๆ อันเป็นอำนาจโดยตรงของผู้ถูกฟ้องคดีท่ี่ 2 ได้ ดังนั้น หากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไม่เห็นด้วยกับความเห็น ของผู้ฟ้องคดีผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ก็ชอบที่จะใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นได้

ซึ่งข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่า ภายหลังจากที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้รับหนังสือลงวันที่ 5 พ.ย. 2547 แล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ี 2 เองก็ไม่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ฟ้องคดีโดยการเปิด L/C ให้แก่บริษัทสไตเออร์ฯ ทันที แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ี 2 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาทบทวนรายละเอียดการจัดซื้อรถดับเพิลง เรือดับเพิลงและอุปกรณ์ดังกล่าวอีกครั้ง

จึงเห็นได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่จำต้องปฏิบัติ ตามหนังสือของผู้ฟ้องคดีและสามารถเจรจาต่อรองหรือขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาได้หากเห็นว่าไม่ชอบธรรมส่วนการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ี 2 ได้เปิด L/C ให้แก่บริษัทสไตเออร์ฯ เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2549 และ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ชำระค่าสินค้าในงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 9 ให้แก่บริษัทสไตเออร์ฯ ตามข้อตกลงซื้อขาย

ก็เนื่องจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือลงวันที่ 16 ธ.ค. 2547 แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ดำเนินการเปิด L/C ให้แก่ บริษัทสไตเออร์ฯ โดยทันที จึงเห็นได้ว่าการเปิด L/C ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ี 2 มิได้เป็นผลโดยตรงมาจากการตอบหนังสือข้อหารือของผู้ฟ้องคดี

ดังนั้นความเสียหายที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ี 1 ได้รับจากการดำเนินการเปิด L/C ให้แก่บริษัทสไตเออร์ฯ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นผลโดยตรงมาจากการที่ผู้ฟ้องคดีละเลยต่อหน้าที่ในการกำกับดูแลผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เช่นกัน ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ได้กระทำละเมิด ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และไม่ต้องรับผิดจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ต้องชำระราคารถดับเพลิง เรือดับเพลิง และอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยในงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 9

รวมทั้งความเสียหายอื่นๆ เน่ื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้รับรู้รับทราบและรับที่จะดำเนินการเองมาตั้งแต่ต้น และ
ผู้ฟ้องคดีเองก็ไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องในการทำสัญญาหรือตกลงในขั้นตอนใดขั้นตอนหน่ึ่งของสัญญา และเป็นเรื่องที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ี 1 ต้องรับผิดตามสัญญาเป็นการเฉพาะศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาเพิกถอนคำสั่งที่ให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จำนวน 1.4 พันล้านบาท โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่มีคำสั่งดังกล่าว

อ่านคำพิพากษาทั้งหมด คลิ๊ก

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน