X

มหิดลถามรัฐฯ จะให้อนุรักษ์ หรือ สงวน”เหี้ย” แนะตั้งองค์กรดูแลจริงจัง

มหิดลเสวนาหาทางออกเหี้ยล้นเมือง เล็งหากฏหมายคุ้มครอง กระตุ้นภาครัฐและเอกชนช่วยดูแล ชี้จะให้อนุรักษ์หรือสงวนควรระบุอย่างชัดเจน แนะควรจัดตั้งองค์กรดูแลเหี้ยอย่างจริงจัง

ในการประชุมวิชาการทันสถานการณ์เหี้ยในประเทศไทย ครั้งที่ 1 ณ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) ดร.ชวาล ทัฬหิกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “สถานการณ์ปัจจุบันหนังเหี้ยค่อนข้างมีราคาถ้ารู้จักกำหนดผลิตภัณฑ์ให้ดีก็มีโอกาสจะทำราคาให้สูงขึ้นไปอีก”

ต้องยอมรับว่าหลายปีที่ผ่านมา“เหี้ย”ถูกนำไปใช้เปรียบเปรยกับความหมายที่ไม่ดี และตัวเหี้ยเองก็ถูกรังเกียจมองว่าสกปรก คำว่าเหี้ยมีที่มาจากภาษาบาลี สันสกฤต จากคำว่า หีน มีความหมายว่าต่ำทราม ส่วนที่คำว่าเหี้ยถูกนำมาใช้เรียกคนที่ไม่ดี เกิดขึ้นในสมัยช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น คนคุกที่ถูกเฆี่ยนหลัง แผ่นหลังจะมีลักษณะลายคล้ายหนังตัวเหี้ย ในสมัยนั้นเลยมีการเรียกคนคุกว่า“คนเหี้ย” คำว่าเหี้ยจึงมีความหมายเรียกคนไม่ดีมานับจากนั้น

แต่สถานการณ์ปัจจุบันเหี้ยกลายเป็นสัตว์ที่มีอยู่แทบจะล้นเมืองในประเทศไทย มิหนำซ้ำยังลุกเข้ามาอยู่ในเขตเมืองกันอย่างมาก ประชาชนเองก็เห็นกัยจนชินตาเสียแล้ว แต่ภาพลักษณ์ของเหี้ยก็ยังถูกมองว่าเป็นสัตว์ที่น่ารังเกลียด แต่คนบางกลุ่มก็ได้มีการแอบลักรอบล่าเหี้ย เพื่อนำไปประกอบธุรกิจแสวงหารายได้ โดยที่ไม่มีหน่วยงานของรัฐเข้ามาดูแลซึ่งเป็นการปล่อยปะละเลยสัตว์ป่าคุ้มครองอีกด้วย

จากยุคสมัยที่เปลี่ยนไปคนเริ่มหันมานิยมเหี้ยมากขึ้น และขณะเดียวกันเหี้ยหนึ่งตัวก็มีมูลค่าที่ล่อใจให้ใครหลายๆคนจะนำเหี้ยไปทำการค้า ทั้งๆที่ความจริงแล้วเหี้ยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ห้ามมีไว้ครอบครองหรือเพาะเลี้ยงเด็ดขาด ทว่ากฏหมายฉบับนี้ก็ไม่อาจจะคุ้มครองเหี้ยได้เมื่อปัจจุบันมีหลายคนล่าเหี้ยเพื่อไปดำเนินธุรกิจ ภาพลักษณ์ของเหี้ยเองก็ไม่ดียิ่งทำให้คนละเลยและไม่สนใจเรื่องที่เหี้ยถูกล่าสักเท่าไร

ขณะเดียวกัน การที่ประเทศไทยมีสัตว์ป่าที่หลากหลาย แต่เหี้ยอยู่ในวิถีเมืองมากที่สุดก็คงเป็นอีกเหตุผลที่การล่าเหี้ยถูกละเลยและมองข้าม ทว่าหลังจากมีการเสวนาถึงเรื่องนี้ไปบ้างก็เริ่มมีคนให้ความสนใจอยู่บ้าง แต่ก็ยังขาดข้อมูลที่ถูกต้องว่าควรจะทำอย่างไรกับเหี้ยเหล่านั้น บ้างก็บอกว่าอนุรักษ์เอาไว้แต่ความหมายของคำว่าอนุรักษ์นั้นคือการนำเหี้ยไปประกอบธุรกิจได้ แต่ว่าต้องอยู่ในปริมาณที่สมเหตุสมผล

ส่วนการสงวนคือการห้ามเด็ดขาดเลยไม่ให้มีการล่าเหี้ยไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม ซึ่งเราก็ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าเราจะทำอย่างไรจะอนุรักษ์ หรือว่าจะสงวน ถ้าจะสงวนก็ต้องเอาผิดผู้ล่าเหี้ยอย่างจริงจังเลย ปัญหามันอยู่ที่ว่ากฏหมายในประเทศไทยยังไม่ชัดเจน เพราะฉะนั้นต้องออกกฏหมายใหม่ในการดูแลเหี้ยให้ชัดเจนเสียก่อน หมายถึงว่ามันต้องสามารถดำเนินการใช้จริงและสอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวไทยด้วย

ความเหมาะสมคือส่วนสำคัญในการออกกฏหมายควบคุมไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม ถ้าไม่มีความเหมาะสมกฎหมายก็ล้มเหลว อีกความสำคัญคือไม่ควรจะเข้มงวดจนเกินไป หลายคนอาจไม่ทราบถึงความรุนแรงของความเข้มงวดว่ามันมีผลเสียพอๆกับการไม่มีกฎหมายเลย เพราะฉะนั้นจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีองค์กรเข้ามาดูแลเรื่องเหี้ยอย่างจริงจัง และก็ต้องมีประสิทธิภาพและความรู้กับการจัดการเหี้ยอย่างแท้จริง

มีกรอบที่ชัดเจน ระบุเป้าหมายเลยว่าต้องการอะไร และจะมีวิธีการดำเนินการอย่างไร ไม่ใช่เพียงแค่หน่วยงานที่จะเข้ามาดูแล นอกจากนี้การสนับสนุนและความร่วมมือจากประชาชนต่อการปฏิบัติหย้าที่ของเจ้าหน้าที่และความร่วมมือต่างๆ ก็ต้องสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันด้วย ควรจะมีการทำความเข้าใจและให้ความรู้กับประชาชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือจากทั้งสองฝ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

สำคัญที่สุดคือกฎหมายควบคุมต้องนำไปปฎิบัติได้จริงสอดคล้องกับวิถีชีวิต, เศรษฐกิจ, สังคม, วัฒนธรรม ในประเทศไทย และที่สำคัญการล่าเหี้ยในปัจจุบันควรมีโทษเสียก่อนเพราะอย่าลืมว่าเหี้ยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองอยู่ในขณะนี้ ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนไปเป็นสัตว์เชิงพาณิชย์ ที่ทำการค้ากันได้อย่างเสรี ห้ามเคลื่อนที่เพื่อการค้า จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาติเท่านั้น แต่ก็ยังมีการลักลอบนำเหี้ยทำการค้า ก็ต้องมีบทลงโทษตามมาให้เห็นกันชัดๆ

ท้ายที่สุดของเรื่องเหี้ยคณะที่ทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชนต้องมาจับเข่าคุยกันอย่างจริงจังได้แล้วว่าจะมีมาตรการ หรือจะดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องเหี้ยอย่างไร เจ้าหน้าที่ควรมาทบทวนความเข้าใจกับกระบวนการ และวิถีต่างๆให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมกันเสียก่อน เมื่อไรก็ตามที่เราได้แผนการดำเนินการที่ชัดเจนแล้วจึงค่อยออกกฎหมายมาควบคุม มันจะทำให้กฎหมายมีการใช้งนได้อย่างจริงๆเสียที

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน