X

เศรษฐกิจแย่…หนี้ครัวเรือนพุ่ง NPL กระฉูด…!

เศรษฐกิจแย่…หนี้ภาคครัวเรือนพุ่ง NPL น่าวิตก อาชีพสื่อเป็น 1 ใน 10 เสี่ยงตกงาน

เสาร์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน กำลังจะย่างเข้าสู่เดือนสุดท้ายของปี 2562 และก้าวเข้าสู่ปี 2563 ที่บางคนบอกว่าเป็นปีเผาจริงสำหรับเศรษฐกิจไทย หรืออาจรวมถึงเศรษฐกิจโลกด้วย

ตัวเลขที่น่าสนใจเกี่ยวกับหนี้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทย ที่มีหนี้ครัวเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 340,053 บาทต่อครัวเรือน สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และติด 1 ใน 10 ประเทศมีหนี้ครัวเรือนสูงสุดของโลก เทียบจากการสำรวจครั้งแรกเมื่อปี 2552 ที่มีหนี้สินเพียง 143,476 บาท และเพิ่มจากปีก่อน 7.4%

ที่น่าสนใจในจำนวนนี้เป็นหนี้ในระบบ 59.2% และหนี้นอกระบบ 40.8% มีภาระผ่อนชำระหนี้ในระบบเดือนละ 16,960 บาท และนอกระบบเดือนละ 5,222 บาท

ตัวเลขที่สะท้อนความฝืดเคืองของการหารายได้ หรือรายได้ลดลง คือหนี้ 75.4% ระบุมีปัญหาขาดการชำระหรือผิดนัดชำระ เริ่มจะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้นั้นเอง

สำหรับสาเหตุของการเป็นหนี้มาจากรายได้ลดลง และขาดรายได้จากการถูกเลิกจ้างงาน เพราะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ค่าครองชีพสูงขึ้น ซื้อสินทรัพย์ถาวรมากขึ้น ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมากขึ้น ผ่อนสินค้ามากเกินไป ค่าเล่าเรียนบุตรหลาน ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้จากภัยธรรมชาติ หนี้จากการพนัน รวมถึงเป็นค่ารักษาพยาบาล ใช้ในการเกษตร เสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ

ขณะเดียวกันยังมีเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย และการซื้อสินค้าที่สะดวก โดยเฉพาะทางออนไลน์, ขาดวินัยทางการเงิน, สถาบันการเงินให้วงเงินมากเกินไป, ความรู้ทางการเงินไม่เพียงพอ และนำเงินไปลงทุนหรือเก็บสินทรัพย์ โดยเฉพาะซื้อบ้าน ซื้อรถ ซึ่งการลงทุน การซื้อบ้าน ซื้อรถ ยังไม่น่าห่วง เพราะเป็นการใช้จ่ายตามปกติ แต่ที่น่าจับตาคือ การใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้า รวมถึงการกู้เงินนอกระบบ เพราะเงินกู้ในระบบจนเต็มเพดานแล้ว

นอกจากนี้ ประชากรกลุ่มเจนแซด (Gen Z) อายุ 8-20 ปี มีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยและเกินตัวมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงที่ซื้อสินค้าบ่อยครั้งหรือซื้อจุกจิก

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามหนี้ครัวเรือนยังไม่น่ากังวลเพราะยังไม่ถึง 80% ของจีดีพี อีกทั้งหนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้ในระบบ เพื่อนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ทั้งเพื่อใช้จ่ายทั่วไป เพื่อการลงทุนประกอบธุรกิจ ชำระหนี้เก่า ซื้อสินทรัพย์ เป็นต้น

ทั้งนี้สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือ การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาในช่วงไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ปีหน้า ดูแลค่าครองชีพ และควบคุมระบบค่าครองชีพให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ฟื้นฟูแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ผู้ประกอบการและนักลงทุน จัดหาแหล่งทุนในระบบดอกเบี้ยต่ำ

รวมถึงลดข้อจำกัดการเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับประชาชนที่มีความต้องการกู้ยืม แก้ไขหนี้นอกระบบด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ แก้ไขการว่างงาน พัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้แก้ไขปัญหาความยากจน และดูแลสวัสดิการให้กับประชาชน เช่น ค่ารักษาพยาบาล เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นต้น

ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ กระทรวงแรงงาน ได้ออกมาคาดการณ์อาชีพที่เสี่ยงต่อการตกงาน 10 อาชีพ ซึ่งเป็นข้อมูลเพียงส่วนเดียวที่มองเห็นภาพได้ชัดเจนในขณะนี้ และเชื่อว่ายังมีอีกหลายกลุ่มอาชีพที่น่าเป็นห่วง นับจากนี้เป็นต้นไป ขอให้คนอยู่ในอาชีพนั้นๆ เตรียมรับมือและปรับตัว

1.นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทย ที่มีหนี้ครัวเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 340,053 บาทต่อครัวเรือน สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และติด 1 ใน 10 ประเทศมีหนี้ครัวเรือนสูงสุดของโลก เทียบจากการสำรวจครั้งแรกเมื่อปี 2552 ที่มีหนี้สินเพียง 143,476 บาท และเพิ่มจากปีก่อน 7.4%

ในจำนวนนี้เป็นหนี้ในระบบ 59.2% และหนี้นอกระบบ 40.8% มีภาระผ่อนชำระหนี้ในระบบเดือนละ 16,960 บาท และนอกระบบเดือนละ 5,222 บาท ซึ่งส่วนใหญ่ 75.4% ระบุมีปัญหาขาดการชำระหรือผิดนัดชำระ

หนี้ครัวเรือนคนไทย
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้

สำหรับสาเหตุของการเป็นหนี้มาจากรายได้ลดลง และขาดรายได้จากการถูกเลิกจ้างงาน เพราะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ค่าครองชีพสูงขึ้น ซื้อสินทรัพย์ถาวรมากขึ้น ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมากขึ้น ผ่อนสินค้ามากเกินไป ค่าเล่าเรียนบุตรหลาน ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้จากภัยธรรมชาติ หนี้จากการพนัน รวมถึงเป็นค่ารักษาพยาบาล ใช้ในการเกษตร เสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ

ขณะเดียวกันยังมีเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย และการซื้อสินค้าที่สะดวก โดยเฉพาะทางออนไลน์, ขาดวินัยทางการเงิน, สถาบันการเงินให้วงเงินมากเกินไป, ความรู้ทางการเงินไม่เพียงพอ และนำเงินไปลงทุนหรือเก็บสินทรัพย์ โดยเฉพาะซื้อบ้าน ซื้อรถ ซึ่งการลงทุน การซื้อบ้าน ซื้อรถ ยังไม่น่าห่วง เพราะเป็นการใช้จ่ายตามปกติ แต่ที่น่าจับตาคือ การใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้า รวมถึงการกู้เงินนอกระบบ เพราะเงินกู้ในระบบจนเต็มเพดานแล้ว

นอกจากนี้ ประชากรกลุ่มเจนแซด (Gen Z) อายุ 8-20 ปี มีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยและเกินตัวมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงที่ซื้อสินค้าบ่อยครั้งหรือซื้อจุกจิก

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามหนี้ครัวเรือนยังไม่น่ากังวลเพราะยังไม่ถึง 80% ของจีดีพี อีกทั้งหนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้ในระบบ เพื่อนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ทั้งเพื่อใช้จ่ายทั่วไป เพื่อการลงทุนประกอบธุรกิจ ชำระหนี้เก่า ซื้อสินทรัพย์ เป็นต้น
ทั้งนี้สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือ การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาในช่วงไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ปีหน้า ดูแลค่าครองชีพ และควบคุมระบบค่าครองชีพให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ฟื้นฟูแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ผู้ประกอบการและนักลงทุน จัดหาแหล่งทุนในระบบดอกเบี้ยต่ำ
รวมถึงลดข้อจำกัดการเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับประชาชนที่มีความต้องการกู้ยืม แก้ไขหนี้นอกระบบด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ แก้ไขการว่างงาน พัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้แก้ไขปัญหาความยากจน และดูแลสวัสดิการให้กับประชาชน เช่น ค่ารักษาพยาบาล เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นต้น

ใกล้ปลายปีข้อมูลทยอยออกมาต่อเนื่อง เกี่ยวกับเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลง คนไทยหนี้พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์เฉลี่ย 340,000 บาทต่อครอบครัว จนน่าห่วง ไม่รวมถึงอาชีพธุรกิจในปี 2563 ต้องเตรียมรับมือกับการถูกดิจิทัลดิสรัปชั่น แน่นอนย่อมได้รับผลกระทบ

จากการคาดการณ์ของ ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ กระทรวงแรงงาน ออกมาระบุ 10 อาชีพเสี่ยงตกงาน ซึ่งเป็นข้อมูลเพียงส่วนเดียวที่มองเห็นภาพได้ชัดเจนในขณะนี้ และเชื่อว่ายังมีอีกหลายกลุ่มอาชีพที่น่าเป็นห่วง นับจากนี้เป็นต้นไป ขอให้คนอยู่ในอาชีพนั้นๆ เตรียมรับมือและปรับตัว

1.กลุ่มธุรกิจสื่อที่เป็นเอกสาร เพราะมีคนจำนวนมากไม่ใช้เอกสารแล้ว

2.กลุ่มสื่อสารมวลชนทุกแขนง วิทยุ นิตยสาร โทรทัศน์ เนื่องจากประชาชนมีช่องทางใหม่ในการติดตามข่าวสาร โดยเฉพาะสื่อที่ไม่ปรับตัว

3.กลุ่มโปรดักส์ที่ตกยุค เช่น CD, VCD หรืออุตสาหกรรมที่ไม่ได้ล้อไปตามเทคโนโลยีสมัยใหม่

4.อาชีพที่เกี่ยวกับสถาบันการเงิน จะมีพนักงานจำนวนมากตกงาน เพราะธุรกรรมทางการเงินสามารถทำจากโทรศัพท์มือถือได้ด้วยตัวเอง

5.อาชีพขายประกันภัย

6.อาชีพขายตรง เพราะขณะนี้สามารถปรับตัวหันหน้าไปสู่การขายผ่านช่องทางออนไลน์ได้ และมีคลิปแนะนำสินค้าได้เอง

7.ธุรกิจกลุ่มยานยนต์เครื่องยนต์สันดาป จากที่เคยใช้ชิ้นส่วนจำนวนมากจะหายไป ทำให้แรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนจะตกงานมากขึ้น เพราะผู้ประกอบการหันหน้าเข้าสู่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น โดยรถยนต์ 1 คัน จะใช้ชิ้นส่วนประกอบเพียงไม่กี่รายการเท่านั้น

8.งานเคาน์เตอร์เซอร์วิส จะหายไป เพราะจะผ่านกลไกดิจิตอลแทน

9.อาชีพอาจารย์ที่เคยสอนในบางสาขาจะตกงาน เพราะเด็กไม่เรียนในบางสาขาแล้ว

10.อาชีพที่เกี่ยวข้องกับเด็ก จะหายไปจำนวนหนึ่ง เพราะเด็กเกิดใหม่มีน้อยลง เนื่องจากมีคนโสดมากขึ้น

นายกรัฐมนตรี ก็ยอมรับแล้วว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะชะลอตัว แต่ยังไม่ถึงขั้นถดถอย เช่นเดียวกับคุณสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ก็ยอมรับแล้ว แถมออกตัวด้วยซ้ำว่า ไม่ได้คุมทีมเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรีเป็นคนคุมทีมเศรษฐกิจ

แต่สิ่งที่พบเห็นและสัมผัสได้ คือ เดินไปไหนมาไหนก็มีแต่เสียงคนบ่นว่า เศรษฐกิจแย่ ขายของไม่ได้ ถูกเลิกจ้าง ส.ส.รัฐบาลหลายคนก็โดนชาวบ้านด่ากรอกหูด้วยซ้ำ

ด้วยความเคารพ
นายหัวไทรไทร
30 พฤศจิกายน 2562

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน