X

งานประเพณีถวายทานสลากภัต วัดพระธาตุแช่แห้ง

วัดพระธาตุแช่แห้ง
วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน จัดงานประเพณีตานก๋วยสลาก (ถวายสลากภัต) ประจำปี 2562 เพื่อสืบทอดวิถีและอัตตลักษณ์ สานต่อประเพณีพื้นเมืองโบราณของพระบรมธาตุแช่แห้ง พระธาตุประจำนักษัตรปีเถาะ (กระต่าย) อนึ่งในปีนี้เป็นปีมหามงคล ๖๖๖ ปี ของวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง และเวียงภูเพียงแช่แห้ง (พ.ศ.1896-2562)

งานประเพณีถวายทานสลากภัต วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง งานประเพณีตานก๋วยสลาก (สลากภัต) ประจำปี 2562

วันนี้ 10 ตุลาคม 2562 เวลา 09.00 น. วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน จัดงานประเพณีตานก๋วยสลาก (ถวายสลากภัต) ประจำปี 2562 เพื่อสืบทอดวิถีและอัตตลักษณ์ สานต่อประเพณีพื้นเมืองโบราณของพระบรมธาตุแช่แห้ง พระธาตุประจำนักษัตรปีเถาะ (กระต่าย) อนึ่งในปีนี้เป็นปีมหามงคล ๖๖๖ ปี ของวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง และเวียงภูเพียงแช่แห้ง (พ.ศ.1896-2562)

วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน จัดงานประเพณีตานก๋วยสลาก (ถวายสลากภัต) ประจำปี 2562 เพื่อสืบทอดวิถีและอัตตลักษณ์ สานต่อประเพณีพื้นเมืองโบราณของพระบรมธาตุแช่แห้ง พระธาตุประจำนักษัตรปีเถาะ (กระต่าย) อนึ่งในปีนี้เป็นปีมหามงคล ๖๖๖ ปี ของวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง และเวียงภูเพียงแช่แห้ง (พ.ศ.1896-2562)

เริ่มพิธีโดยเช้านี้พุทธศาสนิกชนนำเส้นสลาก (ใบสลากภัต) มอบให้แก่คณะกรรมการ ณ พระวิหารหลวงฯ เวลา 09.30 น. นายดลภาค เนตรใส นายอำเภอภูเพียง ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาสจุดเทียนธูป บูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล มัคทายกนำกล่าวคำถวายสลากภัต พระสงฆ์อนุโมทนา จากนั้นคณะกรรมการจัดรวบรวมเส้นสลาก ทำพิธีปล่อยสลาก และถวายทานสลากภัต เป็นเสร็จพิธี

วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน จัดงานประเพณีตานก๋วยสลาก (ถวายสลากภัต) ประจำปี 2562 เพื่อสืบทอดวิถีและอัตตลักษณ์ สานต่อประเพณีพื้นเมืองโบราณของพระบรมธาตุแช่แห้ง พระธาตุประจำนักษัตรปีเถาะ (กระต่าย) อนึ่งในปีนี้เป็นปีมหามงคล ๖๖๖ ปี ของวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง และเวียงภูเพียงแช่แห้ง (พ.ศ.1896-2562)

งานประเพณีตานก๋วยสลาก (สลากภัต) วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่โบราณ ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือนเกี๋ยงเหนือ ในปีนี้ตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม โดยพิธีแบ่งออกเป็น 2 วัน คือ วันห้างดา (เตรียมงาน) กับวันตาน (วันถวายทาน) โดยวานนี้ ได้จัดแสดงพระธรรมเทศนาแบบพื้นเมือง เริ่มตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 18.00 น. โดยมีพุทธศาสนิกชนรับฟังเป็นจำนวนมาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก (สลากภัต) เป็นประเพณีทำบุญ ที่ปัจจุบันไม่ค่อยรู้จักกันดีนัก ตานก๋วยสลาก เป็นภาษาพื้นเมืองเหนือ คือ การถวายทานสลากภัต มีมูลเหตุปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 7 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 7 จุลวรรค ภาค 2 พุทธานุญาตภัตร

วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน จัดงานประเพณีตานก๋วยสลาก (ถวายสลากภัต) ประจำปี 2562 เพื่อสืบทอดวิถีและอัตตลักษณ์ สานต่อประเพณีพื้นเมืองโบราณของพระบรมธาตุแช่แห้ง พระธาตุประจำนักษัตรปีเถาะ (กระต่าย) อนึ่งในปีนี้เป็นปีมหามงคล ๖๖๖ ปี ของวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง และเวียงภูเพียงแช่แห้ง (พ.ศ.1896-2562)

คำว่า สลากภัต เป็นวิธีถวายทานแด่พระสงฆ์วิธีหนึ่ง เพื่อแจกภัตตาหารหรือปัจจัยวัตถุที่ได้รับจากผู้ศรัทธานำมาถวาย เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธาที่มีปัจจัยวัตถุจำกัด และไม่สามารถถวายแก่พระสงฆ์ทั้งหมดได้การถวายทานที่มีอานิสงส์มาก เพราะสลากนั้นพระสงฆ์ทุกรูปมีสิทธิ์ได้ สลากภัตยังเป็นหลักการ ที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้สร้างความเท่าเทียมกัน แม้ได้รับของที่ถวายแค่รูปเดียว ถือได้ว่าพระสงฆ์ที่มารับถวายได้รับมอบหมายจากสงฆ์นับเป็นสังฆทานที่สมบูรณ์เช่นกัน

วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน จัดงานประเพณีตานก๋วยสลาก (ถวายสลากภัต) ประจำปี 2562 เพื่อสืบทอดวิถีและอัตตลักษณ์ สานต่อประเพณีพื้นเมืองโบราณของพระบรมธาตุแช่แห้ง พระธาตุประจำนักษัตรปีเถาะ (กระต่าย) อนึ่งในปีนี้เป็นปีมหามงคล ๖๖๖ ปี ของวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง และเวียงภูเพียงแช่แห้ง (พ.ศ.1896-2562)
วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน จัดงานประเพณีตานก๋วยสลาก (ถวายสลากภัต) ประจำปี 2562 เพื่อสืบทอดวิถีและอัตตลักษณ์ สานต่อประเพณีพื้นเมืองโบราณของพระบรมธาตุแช่แห้ง พระธาตุประจำนักษัตรปีเถาะ (กระต่าย) อนึ่งในปีนี้เป็นปีมหามงคล ๖๖๖ ปี ของวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง และเวียงภูเพียงแช่แห้ง (พ.ศ.1896-2562)

ศัพท์ในพิธีสลากภัต “เส้นสลาก”

หมายถึงใบลานหรือกระดาษมาตัดเป็นแผ่นยาวๆ จารึกชื่อเจ้าของไว้ และบอกด้วยว่าอุทิศส่วนกุศลนั้นให้ใครบ้าง คำจารึกในเส้นสลากนั้นมักจะเขียนดังนี้ “สลากกองนี้ หมายมีผู้ข้าฯ (ชื่อผู้ถวายทาน) ขอทานให้กับตนตัวในภายหน้า” หมายถึง ถวายทานไว้อุทิศส่วนกุศลไว้สำหรับตัวเอง เมื่อล่วงลับไปแล้วจะได้รับเอาของไทยทานนั้นในปรโลก ซึ่งเป็นความเชื่อ

วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน จัดงานประเพณีตานก๋วยสลาก (ถวายสลากภัต) ประจำปี 2562 เพื่อสืบทอดวิถีและอัตตลักษณ์ สานต่อประเพณีพื้นเมืองโบราณของพระบรมธาตุแช่แห้ง พระธาตุประจำนักษัตรปีเถาะ (กระต่าย) อนึ่งในปีนี้เป็นปีมหามงคล ๖๖๖ ปี ของวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง และเวียงภูเพียงแช่แห้ง (พ.ศ.1896-2562)

การแบ่ง “เส้นสลาก” เป็นกองๆ รวม ๓ กอง กองหนึ่งคือ ของพระประธาน” (คือของวัด) ส่วนอีก ๒ กอง นั้นเฉลี่ยออกไปตามจำนวนพระภิกษุ-สามเณรหากมีเศษเหลือก็มักจะปัดเป็นของพระเจ้า เพื่อไปทำนุบำรุงวัดต่อไปตามอัตราส่วน พระประธาน(วัด) 3 ส่วน พระสงฆ์ 2 ส่วนสามเณร 1 ส่วน

ก๋วยน้อย เป็น ก๋วยสลากสำหรับที่จะถวายทานไปให้กับผู้ที่ล่วงลับ ซึ่งไม่เพียงแต่ญาติพี่น้องเท่านั้นอาจจะเป็นเพื่อนสนิทมิตรสหาย หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงที่เราเคยรักและมีคุณต่อเรา เมื่อครั้งยังมีชีวิตเช่น ช้าง ม้า วัว ควายและสุนัข เป็นต้น หรือถ้าไม่รู้ว่าจะถวายทานไปให้ใครก็ถวายทานเอาไว้ภายหน้า

ก๋วยใหญ่ เป็น ก๋วยที่จัดทำขึ้นใหญ่เป็นพิเศษซึ่งจะบรรจุข้าวของได้มากขึ้น ถวายเป็นมหากุศลสำหรับคนที่มีกำลังศรัทธา และฐานะดี เป็นปัจจัยนับว่าได้กุศลแรง

สลากโชค นอกจากจะมี “ก๋วยน้อย-ก๋วยใหญ่” แล้ว ผู้ที่มีฐานะดี ไม่ขัดสน ก็จะจัดเป็นพิเศษที่เรียกว่า “สลากโชค” หรือ “สลากสร้อย” สลากโชคนี้ทำเป็นพิเศษกว่าสลากธรรมดา และในสมัยก่อนมักจะทำเป็นรูปเรือนหลังเล็กๆ มีข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ และรอบๆ เรือนหลังเล็กนั้นจะมีต้นกล้วย ต้นอ้อยผูกติดไว้ และยังมี “ยอด” ปัจจัย หรือของมีค่าเช่น สร้อยคอทองคำ สร้อยข้อมือหรือเข็มขัดนาค เข็มขัดเงินผูกติดไว้ด้วย เพราะเชื่อว่าเมื่อตายไปแล้วหากไปเกิดในภพอื่นๆ ก็จะได้รับสิ่งของที่ได้ถวายไปนี้ กัณฑ์สลาก แต่ละกองสลากเรียก กัณฑ์สลาก ซึ่งจะมีเส้นสลาก 1 เส้น “ก๋วย” หรือ กล่องพลาสติกไทยทาน 1 กล่อง หรือ ต้นกัลปพฤกษ์ 1 ต้น

การทำและแต่งต้นกัลปพฤกษ์ นำไม้ไผ่สูงตามต้องการทำเป็นเสาสลากของต้นกัลปพฤกษ์ นำไม้ไผ่เหลาเป็นวงกลมทำเป็นชั้น ๆ อาจเป็น 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น หรือ 9 ชั้น แต่ส่วนมากนิยมทำเป็น 9 ชั้น นำกระดาษย่นสีต่างๆ มาพันรอบเสาและชั้นของต้นกัลปพฤกษ์ แต่ละชั้นก็นำเครื่องไทยทานมาผูกติดให้สวยงาม ผ้าและของใช้สำหรับสงฆ์ ชั้นที่ 9 นำผ้าขาว สำหรับบังสุกุลผ้าป่ามาติดไว้ ชั้นที่ 1 นำของมีค่ามาห่อด้วยกระดาษเงินกระดาษทองแล้วนำมาห้อยไว้ให้สวยงามแล้วนำ ร่ม/ฉัตร คันเล็กมาติดปลายยอดสุด แล้วยังมีการผูกปัจจัยไว้ที่ขอบร่มตามศรัทธา

การทำบุญถวายสลากภัต เป็นการทำบุญที่แตกต่างจากธรรมดา เพราะมีการจับสลาก แล้วก็ถวายไปตามรายชื่อพระภิกษุสามเณรที่จับได้นั้น นับเป็นการทำบุญแบบการไม่จำเพาะเจาะจงว่าจะถวายแด่พระภิกษุรูปใด หรือสามเณรองค์ใด ก็ยินดีน้อมถวายได้ทั้งนั้น เป็นกุศโลบายทางพระพุทธศาสนา เป็นการกำจัดกิเลสชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “อคติ” เสียได้

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

ไชยรัตน์ รัตสิมวงศ์

ไชยรัตน์ รัตสิมวงศ์

ลูกเป็ด เฝ้าน่าน