X

สรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาชุมชนชายฝั่งจังหวัดระนองให้เข้มแข็ง รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(N-REN Ranong Project) หลังดำเนินงานมา 3 ปี ในพื้นที่ 4 ชุมชนชายฝั่ง

สรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาชุมชนชายฝั่งจังหวัดระนองให้เข้มแข็ง รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(N-REN Ranong Project) หลังดำเนินงานมา 3 ปี ในพื้นที่ 4 ชุมชนชายฝั่ง

ที่โรงแรมไอเฟลอินน์จังหวัดระนอง ส่วนบริหารจัดการพื้นที่ป่าชายเลนระนอง สู่มรดกโลก สถาบันวิจัยทรัพยากรป่าชายเลน และศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 6 (เมืองระนอง) ร่วมกับมูลนิธิออยสก้า(ประเทศไทย) ได้จัดประชุมสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาชุมชนชายฝั่งจังหวัดระนองให้เข้มแข็ง รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (N-REN Ranong Project) มีนายปกาสิต  พรประสิทธิ์ ปลัดจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิดการประชุม มีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนมูลนิธิออยสก้า (ประเทศไทย) กรรมการองค์การออยสก้า (สากล) จากประเทศญี่ปุ่น ผู้นำท้องถิ่น  นักเรียน ตัวแทนประชาชนบ้านเกาะสินไห บ้านเกาะเหลา บ้านเกาะคณฑี และบ้านท่าฉาง เข้าร่วมประชุมสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียนโครงการ

นายขยาย  ทองหนูนุ้ย ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการพื้นที่ป่าชายเลนระนอง สู่มรดกโลก กล่าวว่า โครงการ N-REN Ranong Project  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิออยสก้า และจากประชาชนชาวญี่ปุ่น ผ่านกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศญี่ปุ่น ดำเนินการในพื้นที่ 4 ชุมชน คือ ชุมชนบ้านเกาคณฑี หมู่ที่ 1-2 ชุมชนบ้านเกาะเหลา หมู่ที่ 6 ชุมชนบ้านเกาะสินไหหมู่ที่ 4  ต.ปากน้ำ และชุมชนบ้านท่าฉาง หมู่ที่ 3 ต.หงาว อ.เมืองระนอง จ.ระนอง ใช้ระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2564 – 10 มีนาคม 2567  ประกอบด้วย 6 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมจัดทำฐานข้อมูลและแผนที่ชุมชนเพื่อการจัดการ กิจกรรมเพิ่มศักยภาพชุมชนในการตั้งรับและปรับตัว รับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนโดยชุมชนมีส่วนร่วม กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพชุมชนชายฝั่ง กิจกรรมประเมินโครงการ และกิจกรรมประชาสัมพันธ์และบริหารโครงการ ส่วนผลที่ได้รับหลังการดำเนินงานโครงการ คือ ชาวบ้านในชุมชนชายฝั่งมีความรู้ความเข้าใจ และมีความตระหนักเกี่ยวกับการตั้งรับและปรับตัวรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ชุมชนชายฝั่งมีฐานข้อมูลและแผนที่ชุมชนเพื่อการวางแผนพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ระบบนิเวศป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพมากยิ่งขึ้น ชาวบ้านในชุมชนป่าชายเลนมีการประกอบอาชีพที่เหมาะสมสอดคล้องกับภูมินิเวศ และช่วยสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่โครงการ

ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการพื้นที่ป่าชายเลนระนอง สู่มรดกโลก กล่าวด้วยว่า ชุมชนชายฝั่งจังหวัดระนอง  เป็นพื้นที่มีความเปราะบางและมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุดพื้นที่หนึ่ง  การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของชุมชนชายฝั่งให้เข้มแข็ง มีความสามารถในการตั้งรับและปรับตัวเพื่อรับมือผลกระทบจากการ

เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิกาศ ด้วยการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งปรับเปลี่ยนแนวคิด วิถีการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพให้สอดคล้องกับสภาพภูมินิเวศ และวัฒนธรรมของชุมชน โดยน้อมนำศาสตร์พระราชามาเป็นแนวทาง ภายใต้หลักคิดระบบนิเวศเป้นฐาน จะช่วยลดความเสี่ยงให้กับชุมชนชายฝั่ง และเพิ่มภูมิคุ้มกันจากภัยพิบัติต่าง ๆ รวมทั้งเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนฐานที่พึ่งพาตนเองได้..///

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

บุญเลื่อน พรหมประทานกุล

บุญเลื่อน พรหมประทานกุล

ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดระนอง บรรณาธิการ นสพ.เซ้าท์เทิร์นนิวส์ระนอง