X

ชาวบ้านระนองสุดทนรัฐช่วยล่าช้า รวมตัวสร้างสะพานไม้ใผ่ช่วยชาวมอแกน

ชาวบ้านระนองสุดทนรัฐช่วยล่าช้า รวมตัวสร้างสะพานไม้ใผ่ช่วยชาวมอแกน

ระนอง-นายสายันห์ วรวิสุทธิ ผู้อำนวยการศูนย์สะพานไม้ไผ่ เกาะพยามระนอง กล่าวว่าประมาณปี2500 นายสำเภา  สิริสัมพันธ์ ได้เข้ามาทำฟาร์มหอยมุกที่เกาะพยาม..จึงมีความจำเป็นต้องใช้วัตถุดิบที่เป็นหอยเพื่อมาใช้ผลิตเป็นมุก..ซึ่งต้องมีผู้ที่ต้องหาหอยมาส่งให้กับฟาร์ม..ชาวมอแกนเป็นชนพื้นเมืองประจำถิ่น.ที่ร่อนแร่ไปตามเกาะต่างๆในแถบอันดามันทั้งฝั่งพม่าและฝั่งไทย..นายเสงี่ยม แตงทอง..

จึงได้รวบรวมชาวมอแกนกลุ่มหนึ่ง.เพื่อเป็นแรงงานในการดำน้ำหาหอยมาป้อนสู่ฟาร์มมุก..ซึ่งอาศัยที่บริเวณอ่าวเขาควายเป็นลักษณะชุมชนชาวมอแกนตั้งแต่เริ่ม ที่เกาะพยาม. มาภายหลัง..อาจารย์เสถียร ซึ่งเป็นคริสตจักรได้จัดเตรียมพื้นที่บริเวณอ่าวเขาควาย(เกาะพยาม)ตอนใต้เป็นชุมชนหมู่บ้านชาวมอแกนเกาะพยาม..จำนวนประชากรกลุ่มดังกล่าวประมาณ 80คน ประมาณ 30กว่าหลังคาเรือน

เด็กนักเรียนประมาณ 30คนหากแต่ต้องข้ามคลองอ่าวเขาควายเพื่อสัญจรเข้าหมู่บ้านระยะความกว้างของลำคลองประมาณ 150 ม. ทั้งเด็กๆก็ไปโรงเรียนอย่างยากลำบาก ต่อมาปี 2557 จึงมีโครงการของจังหวัดระนอง โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ดำเนินการสร้างสะพาน มาหมู่บ้านมอแกน..แต่สร้างไปได้บางส่วนได้มีปัญหาเชิงพื้นที่..(โซนCเขตป่าไม้)โครงการจึงหยุดชะงัก…การสัญจรจึงยังคงมีปัญหา สร้างความเดือดร้อนและยากลำบากแก่ชาวมอแกนเป็นอย่างมาก

จากความเดือดร้อนและอันตรายต่อชาวมอแกน จึงทำให้ปัจจุบันชาวบ้านจึงได้คิดร่วมกัน..กับพี่น้องมอแกน ว่าจะทำเป็นสะพานไม้ไผ่ ร่วมกับโครงสร้างเดิม ที่สร้างไม่เสร็จ เพื่อให้สัญจรไปได้ก่อน จึงเริ่มทำสะพานมอแกนไม้ไผ่เกาะพยามตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

ส่วนความคืบหน้า โครงการก่อสร้าง นวัตกรรม สะพานไม้ไผ่ เพื่อน้องมอแกนเกาะพยาม ระนอง งานดำเนินการใกล้แล้วเสร็จ มีคนถามถึงอายุการใช้งาน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง 1.อายุไผ่ซางหม่น 4ปีขึ้นไป ถือว่ามีความเหมาะสมกับการใช้งาน   2.การถนอมและยืดอายุการใช้งาน โดยการแช่น้ำทะเล ไล่แป้งออกจากลำต้นตัดวงจร  อาหารแมลงลง/รวมถึง เชื้อรา. 3.ความหนาแน่นของผู้ใช้ มีมากแค่ไหน ถ้ามีมากก็ชำรุดไว แต่คาดว่าใช้ได้นาน 3-5 ปี

สำหรับชาติพันธุ์มอแกนในพื้นที่ระนอง บริเวณหมู่เกาะในจังหวัดระนองถึงจังหวัดพังงาชาวมอแกนได้รับนามสกุลพระราชทานจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  คือ นามสกุล ทะเลลึก กล้าทะเล หาญทะเล ประมงกิจ (ด้วยให้ประชาชนผู้ห่างไกลเข้าถึงระบบสาธารณสุข โดย คณะแพทย์ พอศว. ด้วย)สำหรับจังหวัดระนองมีชาวมอแกน อาศัยอยู่ 3 เกาะ คือ เกาะเหลา เกาะช้าง และเกาะพยาม    โดยเกาะเหลามีจำนวน 39 ครอบครัว มีประชากร 198 คน และเกาะช้าง 95 ครอบครัว มีประชากร230 คน.   และ เกาะพยาม 35 ครอบครัว มีประชากร107 คน รวมประชากร 535 คน ข้อมูลนี้ ได้สำรวจทั้ง 3 เกาะ ช่วงต้นปี พ.ศ.2560

เป็นที่น่าสังเกตุว่าขณะที่มีการก่อสร้างไม่มีหน่วยงานรัฐหน่วยงานใดเข้าไปดูแลหรือร่วมการก่อสร้างแม้แต่หน่วยงานเดียว

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

บุญเลื่อน พรหมประทานกุล

บุญเลื่อน พรหมประทานกุล

ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดระนอง บรรณาธิการ นสพ.เซ้าท์เทิร์นนิวส์ระนอง