X

คมนาคม เร่งพัฒนาโครงข่ายคมนาคมจังหวัดระนอง

ระนอง-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” ลงพื้นที่จังหวัดระนองประชุมเตรียมความพร้อมทีมงาน One Transport ขับเคลื่อนโครงข่ายคมนาคมของจังหวัดระนอง และฝั่งทะเลอันดามันในการเชื่อมเส้นทางการคมนาคมขนส่งรอบรับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ และการเชื่อมโยงฝั่งอันดามันและอ่าวไทย โดยเฉพาะการเร่งพัฒนาโครงข่ายขนส่ง7 จังหวัดฝั่งอันดามันรับแผนรถไฟรางคู่ ไฮสปีดเทรนที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าการขนส่งและการเดินทางในอนาคต โดยจะนำเสนอข้อมูลและโครงการแต่ละจังหวัดต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุม ครม.สัญจรในเดือน ส.ค.นี้ ที่ จ.ชุมพร

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะลงพื้นที่ จ.ระนอง เป็นประธานการประชุมทีมงาน One Transport เพื่อขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงคมนาคมและเตรียมความพร้อมนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมสัญจรในพื้นที่ในเดือน ส.ค.นี้ โดยมีนายพรเทพ ผ่องศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนองพร้อมด้วย ผอ.แขวงการทางระนอง,ผอ.ทางหลวงชนบท,ขนส่งจังหวัดระนอง,ผอ.การท่าเรือระนอง และส่วนราชการในสังกัดกระทรวงคมนาคมให้การต้อนรับ และเข้าร่วมประชุม
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่าในการลงพื้นที่จังหวัดระนองในวันนี้เพื่อประชุมเตรียมความพร้อมทีมงาน One Transport ในการขับเคลื่อนโครงข่ายคมนาคมในจังหวัดระนอง ทั้ง โตรงการก่อสร้างถนนสี่เลนจาก จ.ชุมพรเชื่อมเข้าสู่ตัวเมืองระนอง และจาก จ.ระนองเชื่อมต่อไปยัง จ.พังงา โครงการรถไฟรางคู่สายใต้,โครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ทางจังหวัดระนองจะต้องหาทางเชื่อมโยงโครงข่ายและใช้ประโยชน์ให้ได้ โครงการเส้นทางรถไฟชุมพร-ระนอง เพื่อรองรับแผนการผลักดันระนองสู่เมืองท่าการขนส่งทางทะเลฝั่งอันดามัน โครงการพัฒนาท่าเรือระนอง เพื่อรองรับเรือขนาดใหญ่และการขุดลอกร่องน้ำเพื่อให้เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่เดินทางเข้า-ออกท่าเรือระนองได้ โดนปัจจุบันท่าเรือระนองมี 2 ท่าคือท่าเทียบเรือที่1 รองรับสินค้าขนาดไม่เกิน 500 ตัน กรอส มีแผนที่จะปรับเพิ่ม Fender รองรับได้ 12,000 เดตเวทตัน ท่าเทียบเรือที่ 2 รองรับสินค้าไม่เกิน 12,000 เดตเวทตัน ปรับเพิ่ม fender รองรับได้ 20,000 เดทเวทตัน ส่วนร่องน้ำกว้าง 120 ม.ลึก 8 ม. ครม.มีให้ศึกษาในการเพิ่มความลึกเป็น 18 ม.โครงการขยายรันเวย์สนามบินระนองจากเดิม 2,000 ม.ขยายเพิ่มเป็น 2,500 ม. และที่จอดเครื่องบิน อาคารผู้โดยสารสนามบินระนองเพื่อรองรับการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวในอนาคต รวมทั้งการเชื่อมโยงเส้นทางทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ตอนบนของรัฐบาลขณะนี้ชัดเจนแล้วว่าจะมีการขับเคลื่อนในทุกภาคส่วนของภาคใต้ตอนบน ทั้งเส้นทางถนน,การพัฒนาท่าเรือ และทางอากาศ เพื่อเชื่อมโยงระบบการขนส่งหลักของประเทศโดยเฉพาะการเกิดขึ้นของรถไฟรางคู่ และไฮสปีดเทรน จะส่งผลให้ระบบโครงข่ายการขนส่งเปลี่ยนโฉมหน้าจากปัจจุบัน ดังนั้นการเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการ โดยเฉพาะในส่วนของ 7 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันที่มีถนน 4 เลนน้อยกว่าภาคอื่นๆ ส่งผลให้การเดินทาง การขนส่งสินค้ายังมีความยากลำบาก ซึ่งต่อไปนี้ถึงเวลาแล้วที่ฝั่งอันดามันจะต้องได้รับการพัฒนา
ทั้งยังที่จะเชื่อมโยงไปในระหว่างประเทศ ครอบคลุมถึงพื้นที่ BIMSTEC และ GMS ซึ่งจังหวัดระนองนับได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเปิดประตูสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ/การลงทุน รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ โดยข้อมูลลายละเอียดของแผนงานต่างๆ จะเตรียมนำเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรในครั้งต่อไปในวันที่ 21-22 ส.ค.นี้ที่ จ.ชุมพร

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

บุญเลื่อน พรหมประทานกุล

บุญเลื่อน พรหมประทานกุล

ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดระนอง บรรณาธิการ นสพ.เซ้าท์เทิร์นนิวส์ระนอง