X

“กรมทางหลวง” จัดแผนพัฒนาถนน 4 ช่องจราจร “แยกป่าขนุน-สักใหญ่” รองรับการค้าชายแดนไทย อุตรดิตถ์-ภูดู่

กรมทางหลวง เปิดเวทีประชุมปฐมนิเทศโครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบ ทางหลวง 4 ช่องจราจร บนทาง หลวง หมายเลข 117 ช่วงอุตรดิตถ์-ภูดู่ ตอน แยกป่าขนุน-แยกสักใหญ่ ครั้งที่ 1   

นายสหวิช อภิชัยวิศรุตกุล รองผู้ว่าฯ จ.อุตรดิตถ์เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมปฐมนิเทศโครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบ ทางหลวง 4 ช่องจราจร บนทางหลวงหมายเลข 117 ช่วงอุตรดิตถ์-ภูดู่ ตอน แยกป่าขนุน-แยกสักใหญ่ ที่กรมทางหลวงได้จัดทำทางหลวงขึ้นตามทิศทางของแผนพัฒนาภาคเหนือ ที่ได้กำหนดทิศทางการพัฒนาภาคโดยใช้โอกาสจากการเป็นพื้นที่ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากแผ่นงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion Economic Cooperation Program : GMS Program) เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านการค้าและการลงทุน และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของพื้นที่ และสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น  ดร.เทวินทร์ ติรัตนประคม ผจก.โครงการฯ กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์และความเป็นมาของโครงการฯ ว่า

จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นจังหวัดในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง มีชื่อเสียงทั้งในด้าน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ อารยธรรม และแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เช่น วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง วัดพระฝาง เมืองลับแล เขื่อนสิริกิติ์ อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว และอุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ และมีจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ ที่อำเภอบ้านโคก ซึ่งอยู่ติดกับเมืองปากลาย แขวงไชยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งมีการค้าขายนำเข้า ส่งออก สินค้า ระหว่างประเทศไทยและลาว

จังหวัดอุตรดิตถ์ มีเส้นทางคมนาคมที่เชื่อมต่อทั้งภายในภาคเหนือและระหว่างภาคเหนือกับภาคอื่นทั้งทางบกและทางรถไฟ มีทางหลวงสายสำคัญคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 , ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 102, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1045 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 17 ในการรองรับการคมนาคมขนส่งภายในพื้นที่ และเป็นเส้นทางเชื่อมไปยังจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ ติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งปัจจุบันทางหลวงหมายเลข 117 สายนครสวรรค์ – จุดผ่านแดนภูคู่ เป็นทางหลวงสายหลักที่เชื่อมการขนส่งจราจรระหว่าง จ.นครสวรรค์ จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก และเป็นทางหลวงสายรอง ระหว่าง จ,.พิษณุโลก กับ จ.อุตรดิตถ์ ปัจจุบันแนวเส้นทางมีปริมาณการจราจรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีปริมาณจราจรสูง มีรถบรรทุกสินค้าวิ่งผ่านจำนวนมาก ทำให้ผู้ใช้ทางไม่ได้รับ ความสะดวกในการเดินทาง ดังนั้น การศึกษาและออกแบบโครงการดังกล่าวจากทางหลวง 2 ช่องจราจร เป็นทางหลวง 4 ช่องจราจร จะช่วยให้การเดินทางท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้ามีความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

การดำเนินงานการศึกษาโครงการดังกล่าว กรมทางหลวงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่โครงการ จึงได้มีการจัดประชุมปฐมนิเทศโครงการ (หรือการสัมมนา ครั้งที่ 1)โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของโครงการให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบ และเปิดโอกาสให้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่มีต่อการศึกษาโครงการ เพื่อให้กรมทางหลวงและคณะผู้ศึกษาได้นำไปพิจารณาประกอบการศึกษาโครงการให้มีความเหมาะสมต่อไป

นายสุเมธี สนธิกุล วิศวกรโยธาปฏิบัติการ กรรมการและผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ เปิดเผยว่า พื้นที่ศึกษาของโครงการครอบคลุมฟื้นที่บางส่วนของ 3 อำเภอ 7 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลคุ้งตะเภา ตำบลป่าเซ่า ตำบลผาจุก อำเภอเมือง ตำบลน้ำพี้ ตำบลผักขวง อำเภอทองแสนชัน ตำบลน้ำไครั และตำบลแสนตอ อำเภอน้ำปาด ของจังหวัดอุตรดิตถ์ รวมถึงยังต้องศึกษาบริบทเขิงนโยบายของการพัฒนาจังหวัดและด่านชายแดนใกล้เคียงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเส้นทางและพื้นที่อิทธิพลของโครงการด้วย

โครงการมีกรอบระยะเวลาในการดำเนินการศึกษาทั้งสิ้น 360 วัน ซึ่งขอบเขตการศึกษาในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1การทบทวนการศึกษาและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 2. การศึกษาทางเลือกและรูปแบบของโครงการ 3. การศึกษาต้านด้านเศรษฐกิจและสังคม 4. การศึกษาต้านการจราจรและขนส่ง 5. การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม 6. การศึกษาต้านการมีส่วนร่วมของประชาชน 7. การสำรวจและออกแบบรายละเอียด 8. การจัดฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนั้น คือ การขยายทางหลวง 117 จาก 2 ซ่องจราจร เป็นทางหลวง 4 ช่องจราจร จะช่วยให้การเดินทางท่องเที่ยว การขนส่งสินค้ามีความสะดวก ปลอดภัยมากขึ้น และเป็นการส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจระดับประเทศ

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

บุญพิมพ์ ใบยา

บุญพิมพ์ ใบยา

ผู้สื่อข่าวพิเศษ ช่อง 9 อสทม.สำนักข่าวไทย ,เนชั่น,workpoint tv ช่อง 23 ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์