X

เขื่อนสิริกิติ์ร่วมกรมชลประทาน ชี้แจ้งสถานการณ์น้ำ

อุตรดิตถ์_เขื่อนสิริกิติ์ร่วมกรมชลประทาน ชี้แจ้งสถานการณ์น้ำ บริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำ รับมือช่วงฤดูแล้ง ให้ผู้ใช้น้ำ ต้นน้ำ กลางน้ำ ลุ่มน้ำน่าน

วันที่ 17 พฤศจิกายน ที่ห้องประชุมงานประชาสัมพันธ์ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ นายสุรชัย มณีประกร ปลัดจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานเปิด การเสวนาผู้ใช้น้ำ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ลุ่มน้ำน่าน ซึ่งเขื่อนสิริกิติ์ร่วมกับกลมชลประทาน กำหนดจัดขึ้น โดยนายวีระศักดิ์ ศรีกาวี ผอ.เขื่อนสิริกิติ์ เชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งส่วนราชการ เครือข่ายภาคประชาชน และกลุ่มผู้ใช้น้ำ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จ.น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และ จ.นครสวรรค์ ร่วมรับฟังการชี้แจ้งและวางแผนการใช้น้ำ สถานการณ์น้ำฤดูแล้งปี 2560/2561 ในส่วนลุ่มน้ำน่านและลุ่มน้ำเจ้าพระยา และในเขตและนอกเขตชลประทาน โดยเฉพาะด้านการเกษตร นาปรังที่จะถึงนี้

นายประยูร เย็นใจ ผอ.ส่วนบริการจัดการน้ำ กรมชลประทาน ชี้แจ้งถึงสถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ลุ่มน้ำน่านและลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุดมีปริมาณน้ำรวมอยู่ที่ 40,497 ล้าน ลบ.เมตร ยังสามารถรับน้ำได้อีก 11,888 ล้าน ลบ.เมตร หรือร้อยละ 16 ปริมาณน้ำที่เก็บกักช่วงฤดูฝนถือว่าอยู่ในระดับสูง มีเพียงพอไม่วิกฤติ เหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา ส่วนปริมาณน้ำ 4 เขื่อนหลัก คือ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนภูมิพล เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสัก ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ปริมาณน้ำล่าสุดอยู่ที่ 14,187 ล้าน ลบ.เมตร ซึ่งกรมชลประทาน วางแผนปล่อยน้ำช่วงแล้งปี 2560/2561 กำหนดอยู่ที่ 7500 ล้าน ลบ.เมตร

การปล่อยน้ำช่วงฤดูแล้ง เพื่อการบริหารจัดการน้ำโดยให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำ กรมชลประทานลำดับความสำคัญ ดังนี้ เพื่ออุปโภคบริโภคเป็นอันดับแรก ตามด้วย รักษาระบบนิเวศลุ่มน้ำน่าน สำรองน้ำไว้ช่วงต้นฤดูฝน จัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งแผนการใช้น้ำในการทำนาปรัง ปี 2560/2561 รอบที่ 2 เบื้องต้น อยู่ที่ 11 ล้านไร่ ทั้งนี้อาจมีการปรับเปลี่ยนขึ้นอยู่กับสถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำต่างๆ ซึ่งผู้ใช้น้ำต้องติดตามนายวีระศักดิ์ ศรีกาวี ผอ.เขื่อนสิริกิติ์ กล่าวว่า ปีนี้เขื่อนสิริกิติ์ เก็บกักน้ำมีปริมาณมากที่สุด หากเทียบกับอีก 3 เขื่อนลุ่มน้ำน่าน คือ ร้อยละ 89 หรือ 8488 ล้าน ลบ.เมตร เป็นน้ำที่สามารถใช้งานได้ 5638 ล้าน ลบ.เมตร และสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา 759 ล้าน ลบ.เมตร การชี้แจ้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำลุ่มลำน้ำน่าน หาแนวทางความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มน้ำและให้ความต้องการการใช้น้ำของทุกภาคส่วนในลุ่มน้ำน่าน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แม้ปริมาณน้ำที่มีอยู่จะเพียงพอ แต่ต้องเก็บกักเพื่อแล้งของปีถัดไปด้วย ประชาชนยังคงใช้น้ำอย่างประหยัดและรู้คุณค่า

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

บุญพิมพ์ ใบยา

บุญพิมพ์ ใบยา

ผู้สื่อข่าวพิเศษ ช่อง 9 อสทม.สำนักข่าวไทย ,เนชั่น,workpoint tv ช่อง 23 ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์