X

สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชนจัดโครงการ คลินิกเท่าทันสื่อ

สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชนจัดอบรมเยาวชน60คนให้เข้าใจถึงสื่อออนไลน์ในยุคปัจจุบันป้องกันเยาวชนหลงผิด

ที่ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน จัดโครงการ คลินิกเท่าทันสื่อ สร้างพลังพลเมืองตื่นรู้…สู่วิถีสุขภาวะ พลังคิด พลังคิดส์ ให้กับเยาว์ชน อ.ไทรน้อย ดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะอเนก นายกสมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน กล่าวว่าโครงการ คลินิกเท่าทันสื่อ สร้างพลังพลเมืองตื่นรู้…สู่วิถีสุขภาวะ พลังคิด พลังคิดส์า ร่วมกับ นายวิศณุรักษ์ สว่างเนตร นายกสมาคมนักวิทยุกระจายเสียงนนทบุรี และทีมงาน จัดฝีกอบรม เยาวชนจำนวน 60 คน จากนักเรียนระดับประถมศึกษา อ.ไทรน้อย เพื่อเป็นกระบอกเสียง ให้ความรู้ความเข้าใจ ในกลุ่มวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยเปราะบางแต่มีความสามารถในการเข้าถึงสื่อออนไลน์สูง พบว่ามีการใช้งานสื่อออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจส่งกระทบด้านลบ เช่น ขัดขวางศักยภาพการพัฒนาตามช่วงวัย เกิดผลเสียด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต


1. ปัญหาการเล่นเกม เด็กติดเกม และ อีสปอร์ต 2. ปัญหาการครอบครองสื่อโดยที่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ เนื่องจากค้นพบว่าประเทศไทยไม่มีการกำกับช่วงวัยและอายุที่เหมาะสม 3. การใช้สื่อออนไลน์กับการพนัน 4. การกลั่นแกล้งรังแกออนไลน์ และการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศออนไลน์ โดยเฉพาะการรังแกผ่านการถ่ายคลิปเพื่อประจานและเผยแพร่ แชร์ ปรากฏผ่านการรายงานข่าวของสื่อมวลชนอยู่เนืองๆ ส่งต่อในระดับโรงเรียนประถม และมัธยม 5. การถูกล่อลวงและล่อออกไปพบคนแปลกหน้าจากสื่อสังคมออนไลน์ 6. การใช้สื่อไปในทางเสริมสร้างอัตลักษณ์ออนไลน์สร้างภาพและเลียนแบบพฤติกรรม ค่านิยมที่ผิด 7. การหลงผิดเปิดเผยข้อมูลและความเป็นส่วนตัวบนสื่อออนไลน์ 8. การขาดการส่งเสริม สร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ ต่อตัวเด็กและเยาวชนและครอบครัว 9. การขาดกฎหมายปกป้องคุ้มครองเด็กจากสื่อออนไลน์ 10. การขาดหน่วยงานกำกับดูแล ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่บูรณาการและเท่าทันสถานการณ์โดยเฉพาะ

สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) เห็นความสำคัญเกี่ยวกับการที่เด็กและเยาวชนควรมีทักษะที่ดีในการรับมือกับภัยอันตรายที่มากับสื่อในยุคดิจิทัลจึงจัดให้มี “คลินิกรู้เท่าทันสื่อ” เพื่อเป็นการจัดการถ่ายทอดความรู้เพื่อลดปัญหาการได้รับผลกระทบจากสื่อ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชนมีความสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์กับตนเองได้อย่างแท้จริง เพื่อเสริมพลังเด็กและเยาวชนให้มีความรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ ข้อมูล และเทคโนโลยีดิจิทัล (MIDL) ให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ และมีทักษะชีวิตที่ดีในการรับมือกับภัยอันตรายที่มากับสื่อในยุคดิจิทัลตามบริบทสังคมที่เผชิญอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดนักสื่อสารสุขภาวะที่เป็นพลังของเด็กและเยาวชนทั้งในโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน สร้างพลังพลเมืองตื่นรู้ผ่านพลังของเด็กและเยาวชน นำไปเผยแพร่ให้ครบครัว กับเพื่อนในโรงเรียนฝึกการเป็นนักกระจายข่าวให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ทางวิทยุของโรงเรียน สถานีวิทยุชุมชนต่อไป

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน