X

ชาวพังงาสืบสานพิธีไหว้ครูหมอมโนราห์ ระลึกถึงครูผู้ถ่ายทอดศาสตร์และศิลป์ภาคใต้

พังงา-สืบสานพิธีไหว้ครูมโนราห์ ระลึกถึงครูผู้ถ่ายทอดศาสตร์และศิลป์ภาคใต้

ชาวพังงาสืบสานพิธีไหว้ครูมโนราห์ ระลึกถึงครูผู้ถ่ายทอดศาสตร์และศิลป์ภาคใต้

ชาวพังงาสืบสานพิธีไหว้ครูมโนราห์ ระลึกถึงครูผู้ถ่ายทอดศาสตร์และศิลป์ภาคใต้ ที่บ้านเลขที่ 51/2 ม.2 ต.นบปริง อ.เมืองพังงา จ.พังงา เป็นบ้านของคุณแม่ทุ๋ย ว่องกิจ อายุ 87 ปี ซึ่งเป็นร่างทรงครูมโนราห์ ได้จัดพิธีไหว้ครูมโนราห์ มีประชาชนที่เคารพนับถือในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วมพิธีจำนวนมาก ซึ่งศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ที่รู้จักกันดี ได้แก่ หนังตะลุงและมโนราห์ จะมี ?ครู? เรียกตามประสาชาวบ้านว่า ?ครูหมอ? ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นครูที่มีความศักดิ์สิทธิ์และได้รับการนับถือสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ?ครูหมอ? นอกจากจะให้วิชาความรู้แล้ว ยังปกปักรักษาคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ให้แก่ผู้เป็นศิษย์อีกด้วย แม่ทุ๋ย ว่องกิจ เล่าว่า นอกจากบิดามารดาผู้เป็นครูคนแรกแล้ว ทุกคนย่อมมีครูเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทสั่งสอนวิชาความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ รวมถึงศิลปะการแสดงต่างๆ และศิลปะการต่อสู้อย่างแม่ไม้มวยไทย ดังที่เราได้ยินคำว่า ?ศิษย์มีครู? ผู้เป็นศิลปินทุกแขนงในแต่ละภาคของไทยจะประกอบพิธีการไหว้ครูในรูปแบบต่างๆ กัน เพื่อแสดงถึงการเคารพบูชาและน้อมรำลึกถึงพระคุณของครู ซึ่งเป็นประเพณีอันดีงามที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ แสดงให้เห็นถึงความกตัญญูรู้คุณของผู้เป็นศิษย์ที่ไม่ลืมครูของสังคมไทย การจัดพิธีไหว้ครู ซึ่งมีผู้ที่นับถือ ?ครูหมอ? ได้มาร่วมทำพิธีบวงสรวงและสวดมนต์ตั้งจิตอธิษฐาน เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณของครูของตน และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

โพสต์โดย Andaman focus อันดามัน โฟกัส เมื่อ วันพุธที่ 25 เมษายน 2018

ที่บ้านเลขที่ 51/2 ม.2 ต.นบปริง อ.เมืองพังงา จ.พังงา เป็นบ้านของคุณแม่ทุ๋ย ว่องกิจ อายุ 87 ปี ซึ่งเป็นร่างทรงครูมโนราห์ ได้จัดพิธีไหว้ครูมโนราห์ มีประชาชนที่เคารพนับถือในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วมพิธีจำนวนมาก ซึ่งศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ที่รู้จักกันดี ได้แก่ หนังตะลุงและมโนราห์ จะมี ?ครู? เรียกตามประสาชาวบ้านว่า ?ครูหมอ? ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นครูที่มีความศักดิ์สิทธิ์และได้รับการนับถือสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ?ครูหมอ? นอกจากจะให้วิชาความรู้แล้ว ยังปกปักรักษาคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ให้แก่ผู้เป็นศิษย์อีกด้วย


แม่ทุ๋ย ว่องกิจ เล่าว่า นอกจากบิดามารดาผู้เป็นครูคนแรกแล้ว ทุกคนย่อมมีครูเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทสั่งสอนวิชาความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ รวมถึงศิลปะการแสดงต่างๆ และศิลปะการต่อสู้อย่างแม่ไม้มวยไทย ดังที่เราได้ยินคำว่า ?ศิษย์มีครู? ผู้เป็นศิลปินทุกแขนงในแต่ละภาคของไทยจะประกอบพิธีการไหว้ครูในรูปแบบต่างๆ กัน เพื่อแสดงถึงการเคารพบูชาและน้อมรำลึกถึงพระคุณของครู ซึ่งเป็นประเพณีอันดีงามที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ แสดงให้เห็นถึงความกตัญญูรู้คุณของผู้เป็นศิษย์ที่ไม่ลืมครูของสังคมไทย การจัดพิธีไหว้ครู ซึ่งมีผู้ที่นับถือ ?ครูหมอ? ได้มาร่วมทำพิธีบวงสรวงและสวดมนต์ตั้งจิตอธิษฐาน เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณของครูของตน และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

อโนทัย งานดี

อโนทัย งานดี

นักข่าวตัวเล็กๆในเมืองแห่งความสุข