X

ละครสืบสานตำนานพระนางมัสสุหรี วันประวัติศาสตร์โรงเรียนดีบุกพังงา

พังงา-ละครสืบสานตำนานพระนางมัสสุหรี วันประวัติศาสตร์โรงเรียนดีบุกพังงา

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 ที่หอประชุมโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน อ.เมืองพังงา นส.นิรชา บัณฑิตย์ชาติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นประธานเปิดงานวันประวัติศาสตร์ ประจำปี 2566 ของโรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน โดยมี นส.สุวิภา ตั้งก่อสกุล  รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง นส.อรสา เสรีวงษ์ ผอ.โรงเรียนดุกพังงาฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสถานศึกษา  คณะครู นักเรียน ศิษย์เก่า และผู้ปกครองเข้าร่วม ซึ่งมีการจัดแสดงละครอิงประวัติศาสตร์ พหุวัฒนธรรม ไทย-มาเลเซีย เรื่อง “สืบสานตำนานพระนางมัสสุหรี”ซึ่งได้รับความสนใจเข้าร่วมชมจนล้นหอประชุม

นส.สุวิภา ตั้งก่อสกุล  กล่าวว่า การจัดกิจกรรมวันประวัติศาสตร์ไทย ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน เป็นกิจกรรมที่จัดมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 20 ปี โดย เล็งเห็นว่า Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ หรือ การลงมือทำซึ่ง “ความรู้” ที่เกิดขึ้นก็เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ การอ่าน, การเขียน, การโต้ตอบ, และการวิเคราะห์ปัญหา การศึกษาประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของท้องถิ่น รวมทั้งเป็นการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังง ภูเก็ต ระนอง กิจกรรมนี้ได้ปรับวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รู้จักการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า  ด้วยการนำเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของบุคคลในท้องถิ่น มาบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนผ่านกิจกรรมการแสดงละคร จะทำให้นักเรียนได้แสดงความสามารถตามความถนัด เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning มีการบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น ๆ รู้จักการทำงานเป็นทีม เรียนรู้ประวัติท้องถิ่น และเห็นคุณค่าของตำนานท้องถิ่น และส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมของนักเรียน

นส.นิรชา บัณฑิตย์ชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า นักประวัติศาสตร์และผู้รู้หลายท่านให้คำนิยาม ความหมายของประวัติศาสตร์ ไว้ต่าง ๆ กันมากมายซึ่งโดยรวมแล้ว “ประวัติศาสตร์คือเรื่องราวของชีวิต ของประเทศชาติและมนุษยชาติ” ฉะนั้นการจัดการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการการศึกษาความเป็นมาของท้องถิ่น เรื่องราวชีวิต ตำนานพื้นบ้าน ถ่ายทอดเป็นการแสดงละคร จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้นักเรียนได้เรียนรู้อดีตซึ่งเป็นพื้นฐานของปัจจุบัน ประวัติศาสตร์ช่วยให้มนุษย์รู้จักตัวเอง ทำให้รู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับ ขอบเขตของตน ขณะเดียวกันก็รู้เกี่ยวกับขอบเขตของคนอื่น ประวัติศาสตร์ของชาติย่อมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษ ในตระกูล และในความเป็นชาติประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดความรักชาติและช่วยกันรักษาชาติบ้านเมืองให้คงอยู่ รวมทั้งก้าวไปสู่ความเจริญต่อไป

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

อโนทัย งานดี

อโนทัย งานดี

นักข่าวตัวเล็กๆในเมืองแห่งความสุข