X

พังงา-ในหลวงพระราชทานอภัยโทษผู้ต้องขังเรือนจำพังงารวม 63 คน ญาติพี่น้องต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

พังงา-ในหลวงพระราชทานอภัยโทษผู้ต้องขังเรือนจำพังงารวม 63 คน ญาติพี่น้องต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

วันที่ 25 มกราคม 2564 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายจำเจิญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาเป็นผู้แทนพระองค์ทำพิธีปิดการฝึกอบรมโครงการพระราชทาน โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวังรุ่นที่2/2 กรมราชทัณฑ์ พร้อมมอบประกาศนียบัตร และให้โอวาท แก่ผู้ต้องขังที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ จำนวน 221 คน เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้ต้องราชทัณฑ์ได้ปรับเปลี่ยนแนวความคิด ฝึกวินัย ฝึกการแก้ปัญหา ลงมือปฏิบัติ นำความรู้ความสามารถไปดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพการงานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงพระราชทานไว้ในภูมิลำเนาของตนเองภายหลังพ้นโทษ และช่วยกันถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมในครั้งนี้ให้แก่ประชาชนเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ร่วมพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาได้นำผู้ต้องขัง ที่ได้รับการปล่อยตัวในวันนี้รวม 63 คน เดินออกจากเรือนจำส่งมอบต่อให้กับครอบครัวที่มารอรับอยู่ด้านหน้า โดยทั้งหมดร่วมกันสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี บรรยากาศเต็มไปด้วยน้ำตาและรอยยิ้มของผู้พ้นโทษที่ได้กลับมาอยู่กับครอบครัวอีกครั้งหนึ่ง

ในการนี้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา พร้อมด้วย ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดพังงา ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดพังงา และหัวหน้าส่วนราชการ ได้ร่วมกันมอบชุดสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นให้แก่ผู้ต้องราชทัณฑ์หญิงที่คลอดบุตรและสูงอายุ จำนวน 16 ราย พร้อมกับกล่าวให้กำลังใจในการดำเนินชีวิต และขับรถแบคโฮปักป้ายโครงการ โคกหนองนา โมเดล เรือนจำจังหวัดพังงา “เช็คอิน กินกาแฟ แลภูผา”อีกด้วย

นายอาคม ภูศรี ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดพังงา กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยในความเป็นอยู่ของพสกนิกรของพระองค์ทุกหมู่เหล่ารวมถึงผู้ต้องราชทัณฑ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้มีการฝึกโครงการพระราชทาน “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง” กรมราชทัณฑ์ขึ้น โดยเรือนจังหวัดพังงาได้นำผู้ต้องขังเข้าทำการฝึกอบรมตามหลักของเกษตรทฤษฎีใหม่แบบชาวบ้านในพื้นที่จริงขนาด 100 ตารางเมตร ด้วยการปั้นโคก ขุดหนอง ทำนา เพื่อสร้างพื้นที่ขนาดเล็กที่สามารถเป็นต้นแบบเกษตรแบบผสมผสาน ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นเป็นตอนตั้งแต่การวางแผนบนกระดาษเป็นสัดส่วน จากนั้นทำการลงมือปฏิบัติจริงในพื้นที่ตามภูมิสังคม จำลองพื้นที่และปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อพอกิน พออยู่ พอใช้ และพอร่มเย็น สืบสาน รักษาและต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆของในหลวงรัชกาลที่ 9 หลังจากนี้ผู้ต้องขังที่พ้นโทษจะสามารถพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น จะได้ช่วยกันพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

อโนทัย งานดี

อโนทัย งานดี

นักข่าวตัวเล็กๆในเมืองแห่งความสุข