X
รถไฟฟ้าLRTขอนแก่น

รถไฟฟ้า LRT ขอนแก่น รัฐหรือเอกชน ใครทำคุ้มค่ากว่า?

ขอนแก่น – คณะทำงานรถไฟฟ้า LRT ขอนแก่นประชุมร่วมสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ก่อนมีมติให้คณะทำงานนำเสนอข้อมูลเปรียบการลงทุน  ภาครัฐกับเอกชน ใครทำคุ้มค่ากว่ากัน?

นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลังมอบหมายสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) โดยนางวชิราญา เพิ่มภูศรี ผอ.การส่งเสริมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ กระทรวงการคลังเป็นตัวแทน ประธานการประชุมพิจารณาการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า LRT ขอนแก่น ภาครัฐ กับเอกชน ใครทำคุ้มค่ากว่ากัน ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 3 สคร. อาคารธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร โดยมี    นายธนา ยันตรโกวิท รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ผู้แทนจากสำนักงานนโยบาย  และแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และผู้แทนจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เข้าร่วมประชุม

ด้านคณะทำงานโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรางเบา LRT สายเหนือ-ใต้ ขอนแก่น ประกอบด้วย นายชัยธวัช เนียมศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น ดร. กฤษณวรุณ ไชยนิจ ปลัดเทศบาลนครขอนแก่น นายธวัชชัย วนาพิทักษ์กุล ผอ.ส่วนการโยธา พลตรีชาติชาย ประดิษฐ์พงษ์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท ขอนแก่นทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด (KKTS) และนายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย รองคณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมประชุม

รองว่าราชการจังหวัดขอนแก่น และนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น ได้กล่าวถึงรูปแบบ ความเป็นมาของโครงการ ก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนรางเบาLRT สายเหนือ-ใต้ ต้นแบบในเมืองภูมิภาคให้กับคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจได้รับทราบ ซึ่งที่ประชุมมีมติสรุปดังนี้

การลงทุนรถไฟฟ้าโดย 5 เทศบาลเป็นเจ้าของโครงการโดยให้บริษัทขอนแก่นทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด หรือ KKTS ซึ่งเป็นบริษัทที่เทศบาลถือหุ้น ทั้งหมด 100 % เป็นผู้ลงทุน ภายใต้หลักสำคัญคือ หลักการกระจายอำนาจ ซึ่งมีความชัดเจนมากขึ้น  หลังเข้าขอคำแนะนำจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมที่ผ่านมา  โดยหลักการบริษัท KKTS  เป็นผู้ดำเนินการเอง ซึ่งได้รับคำแนะนำจากที่ประชุมคือ ให้ปรับรายละเอียดเปรียบเทียบการที่รัฐทำเอง กับรัฐร่วมทุนกับเอกชน แบบไหนจะคุ้มค่ากว่า โดยอาจจะทำรายละเอียดเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในนโยบายรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2556 พิจารณาว่าเข้าข่าย PPP (Public Private Partnership) หรือไม่

ซึ่งในภาพรวมจากที่จังหวัดขอนแก่น ถือเป็นโครงการที่เป็นเครื่องมือในการทำงานโครงการภาครัฐรูปแบบใหม่ที่ไม่ต้องรองบประมาณจากภาครัฐ ช่วยลดภาระหนี้สาธารณะ ซึ่งหากดำเนินการได้สามารถทำได้หลายจังหวัดจะสร้างความเข้มแข็งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้พึ่งพาตนเอง สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างโอกาสกับคนในท้องถิ่น

ขอบคุณข้อมูล  :  เทศบาลนครขอนแก่น

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

ทีมข่าว77ขอนแก่น

ทีมข่าว77ขอนแก่น

ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น