ขอนแก่น – สำนักงานชลประทานที่ 6 เตรียมขุดลอกพื้นที่รับน้ำและเครื่องสูบน้ำ มั่นใจอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ยังสามารถรับน้ำได้อีกกว่า 4,100 ล้านลูกบาศก์เมตร
นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 เปิดเผยว่า ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จำนวน 3 แห่งในพื้นที่รับผิดชอบทั้ง 5 จังหวัด มีความจุเก็บกักรวม 4,575 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันมีปริมาณน้ำรวมกันอยู่เพียง 1,028 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของปริมาณความจุรวม อ่างเก็บน้ำขนาดกลางจำนวน 69 แห่ง ความจุเก็บกักรวม 440 ล้าน ลบ.ม. มีความจุวันนี้ 112 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 25 ของความจุเก็บกัก ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กจำนวน 1,037 แห่ง ความจุเก็บกักรวม 308 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีปริมาณน้ำรวม 72 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 23 ของปริมาณความจุรวม
ข่าวน่าสนใจ:
- ขอนแก่นแถลงผลปราบปรามยาเสพติดระยะเร่งด่วน 3 เดือน ครองอันดับ 1 ภาคอีสาน อันดับ 4 ของประเทศ
- ขอนแก่น จับมือภาคเอกชน จัดงานมหกรรมหมอลำเฟสติวัลร้อยแก่นสารสินธุ์ “ปลาร้าหมอลำ ISAN to the World” ส่งท้ายปีนี้ 26-29 ธันวาคม 2567
- สธ. เปิดเวทีประชุมวิชาการ ปี 67 มุ่งเน้น “นวัตกรรมการจัดการสุขภาพ ยกระดับบริการยุคดิจิทัล”
- TAT ททท.จัดใหญ่จัดเต็มบิ๊กอีเวนต์ "มหากรรมเสน่ห์ไทย" 5 ภูมิภาค เทศกาลตลอดกันยายนนี้
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ยังสามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 4,100 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา คาดการณ์ว่าฤดูฝนปีนี้จะมีฝนมากกว่าปีที่แล้ว แต่ปริมาณฝนรวมทั้งประเทศจะต่ำกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 5 ดังนั้น การที่ปริมาณน้ำต้นทุนที่มีในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำมีน้อย ถึงแม้ว่าในฤดูฝนปีนี้จะมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจนเท่ากับหรือมากกว่าค่าเฉลี่ย ลำน้ำและอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ก็มีพื้นที่ว่างมากพอสมควรที่จะรองรับปริมาณน้ำฝนได้
อย่างไรก็ตาม ขอให้เกษตรกรเริ่มทำการเพาะปลูกเมื่อเห็นว่า มีปริมาณฝนตกชุกหรือมีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับทำการเกษตร โดยขอให้ใช้น้ำฝนเป็นหลัก ส่วนน้ำต้นทุนที่มีอยู่หากมีปริมาณเพียงพอ เหมาะสมก็จะสนับสนุนการเกษตรเพื่อเสริมฝน กรณีฝนทิ้งช่วง และจะสำรองไว้ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศน์เป็นหลัก
สำหรับการเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝนปี 63 สำนักงานชลประทานที่ 6 ได้ดำเนินการตรวจสอบความมั่นคงของเขื่อนทั้ง 110 แห่ง ตรวจสอบความพร้อมอาคารชลประทานทั้ง 130 แห่ง และตรวจสอบความพร้อมสถานีสูบระบายน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 7 สถานี ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ เร่งกำจัดวัชพืช สิ่งกีดขวางทางน้ำในคลองสายหลักและคลองชลประทานต่างๆ รวมถึงได้เตรียมเครื่องจักรเครื่องมือ จำนวน 257 รายการ พร้อมสำหรับการขนย้ายเข้าประจำจุดเสี่ยงภัยในต้นเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้
นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย เช่น ลำน้ำยัง ลำปาว ลำน้ำพอง ลำคันฉู ลำน้ำเสียวใหญ่ โดยได้ติดตั้งธงสัญลักษณ์แจ้งเตือนระดับน้ำ 90 จุด ครอบคลุมลำน้ำสำคัญ ทั้ง 5 จังหวัด กำหนดจุดติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือหากเกิดน้ำท่วม รวมถึงได้เร่งดำเนินการก่อสร้างอาคารป้องกันการกัดเซาะตลิ่งกั้นลำน้ำยัง และมีแผนในการพัฒนาลุ่มน้ำยัง เพื่อป้องกันและบรรเทาอุทกภัยปี 2563-2564 อีกกว่า 14 โครงการ
- ขอนแก่น เร่งจ้างแรงงานเกษตรกรกว่า 7,000 ราย ลดผลกระทบโควิด-19
- ชลประทานฯแจงแผนผันน้ำ 5 อ่างเก็บกัก แก้วิกฤต 5 อำเภอขาดแคลนน้ำดิบผลิตประปา อ่างป่าแดงยืดเวลาน้ำหมดถึงเดือนพ.ค นี้
- ชลประทานที่ 6 ผันน้ำจากเขื่อนให้ประปาชุมแพ รับมือปัญหาภัยแล้ง
ที่สำคัญได้มีเทคโนโลยีระบบการแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำ โดยมีเครือข่ายของศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะของสำนักงานชลประทานที่ 6 ทั้ง 5 จังหวัด เพื่อดำเนินการตามแผนการการบริหารจัดการน้ำ ประสานงาน ประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือนและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือ บรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำให้กับพี่น้องประชาชนอย่างเต็มความสามารถ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: