X
โควิด19

ขอนแก่น หมอแนะวิธีดูแล “คนลงแดง” ช่วงโควิด

ขอนแก่น–หมอจิตวิทยาแนะวิธีดูแลผู้ดื่มสุราช่วงโควิด-19 ให้ดื่มน้ำหวานแทน หากมีอาการมากให้รีบไปพบแพทย์ ถ้าทิ้งไว้จะทำให้มือสั่น เกิดภาพหลอน อันตรายถึงชีวิต

รศ.นพ.สุรพล วีระศิริ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้สัมภาษณ์ถึงมาตราการของ จ.ขอนแก่น ที่ให้งดจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จนถึงวันที่ 30 เม.ย.ว่า อาจจะมีผลกระทบต่อผู้ที่ติดเหล้าหรือลงแดงว่า การ “ลงแดง” หมายถึงการขาดเหล้า สำหรับคนที่ดื่มจนติด หากคนที่ดื่มเป็นครั้งคราว ไม่ได้ดื่ม ไม่เป็นไร แต่คนที่ดื่มจนติด ไม่ได้ดื่มจะเกิดอาการลงแดง

การที่จะรู้ว่าบุคคลนั้นติดหรือไม่ อาจจะถามว่าดื่มทุกวันหรือไม่ ถ้าไม่ดื่มจะมีอาการอย่างไร เช่นคลื่นไส้อาเจียน แต่พอดื่มเหล้าแล้วอาการก็หายไป ถ้าเป็นเช่นนั้น คนนี้ติดสุราแน่นอน และบางคนอาการเห็นเด่นชัดมาก เช่น มือสั่น เซ็นชื่อไม่ได้ จับช้อนหรือจานไม่ได้เพราะสั่น คนกลุ่มนี้ถ้าไม่ดื่มก็จะเกิดอาการขาดเหล้าหรือ “อาการลงแดง”

รศ.นพ.สุรพล กล่าวว่า การขาดเหล้าโดยทั่วไป หากเป็นไม่มากก็จะหายเองได้ แต่รายที่ติดเหล้าอย่างหนัก กินเยอะและนานด้วย บางรายจะเกิดอาการสับสน หลงๆ ลืมๆ จำญาติพี่น้องไม่ได้ จำเวลาหรือสถานที่ไม่ได้ และอาการจะขึ้นๆ ลงๆ บางครั้งดีเป็นปกติ บางครั้งสับสน เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย

“รายที่อาการหนักจะเห็นภาพหลอน บางรายไม่ได้ดื่มจะเกิดอาการชัก หากดื่มนานเกินไป เกิดการสำลัก อาจเสียชีวิตได้ เป็นอาการที่พบได้บ่อย”

ตนอยากจะให้ใช้โอกาสนี้หยุดดื่มให้ได้ โดยการหยุดแบบนุ่มนวล ด้วยการรับประทานยาที่จะทำให้อาการขาดเหล้าเกิดอาการน้อยที่สุด ไม่สับสนวุ่นวาย คนที่คิดว่า ตนเองติดเหล้าควรที่จะต้องไปพบแพทย์  เพราะอาการขาดเหล้ารุนแรงเป็นภาวะที่จะต้องรีบรักษา ในกรณีที่ดื่มหนักนานจนติด มองเผินๆ มักจะมีอาการ เช่น บวมแดง และฉุ  คนที่ติดเหล้าและไม่ได้ดื่มภายใน 72 ชั่วโมง จะเกิดอาการขึ้น จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ทานยาหยุดอาการขาดเหล้า ถ้าครบกำหนดมาตรการวันที่ 30 เม.ย.แล้วหยุดได้ อยากขอให้หยุดไปเลย โดยอาการจะเกิดช่วงแรกแต่หลังจากนั้นจะดีขึ้น

สำหรับคนไข้ขอนแก่นที่มาตรวจที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ พบว่า ตัวเลขน้อยกว่าความเป็นจริง แม้จะมีเรื่องตื่นกลัวและเครียดมากขึ้น แต่คนไปโรงพยาบาลลดลง และหากมีอาการไม่รุนแรงมาก หมอก็จะให้เลี่ยงไปโรงพยาบาล คนไข้หลายคนบอกว่า หยุดดื่มแล้วจะเกิดอาการสับสน

รศ.นพ.สุรพล กล่าวอีกว่า ทางที่ดีต้องไปพบแพทย์ เพื่อลดอาการสับสนหรือกระวนกระวายมากเกินไป ดูง่ายๆ ในช่วงเข้าพรรษา ปีใหม่ หรือสงกรานต์ ถ้าใครกินจนติดแต่ถูกห้าม ทำให้ดื่มเหล้าได้น้อยลงก็จะเกิดอาการเช่นกัน เบื้องต้นแนะนำให้ดื่มน้ำหวาน  แต่หากอาการยังเป็นมาก พูดแล้วหลงๆ งง ไม่เข้าใจ จำคนในครอบครัวไม่ได้ ต้องพาไปโรงพยาบาล คนที่อาการหนักมักเห็นภาพหลอน อยู่บ้านปีนออกหน้าต่าง มีอาการกลัวแล้ววิ่งหนี อาจทำให้เกิดรถชนอันตรายได้ ญาติจะ ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

ทีมข่าว77ขอนแก่น

ทีมข่าว77ขอนแก่น

ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดขอนแก่น