X

ระยองต้นแบบโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน ลดปริมาณขยะ

จังหวัดระยองแถลงผลสำเร็จ การมีส่วนร่วมจัดการขยะ เป็นจังหวัดต้นแบบโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน ลดปริมาณขยะและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

วันที่ 6 พฤศจิกายน 62 ณ ห้องสร้อยเพชร 1 โรงแรมโกลเด้นซิตี้ ระยอง อ.เมือง จ.ระยอง นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ให้เกียรติเป็นประธานเปิด การแถลงสรุปผลงานครบ 1 ปีการขับเคลื่อนโครงการ ความร่วมมือของภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ในการจัดการพลาสติกและขยะในจังหวัดระยอง (โครงการ PPP Plastic) พร้อมมุ่งสร้างโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนของระยอง ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยมี นายสมชาย รุ่งเรือง ท้องถิ่นจังหวัดระยอง  นายภราดร จุลชาต ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นางปราณี  ภู่แพร ผู้จัดการฝ่ายหน่วยงานความยั่งยืนองค์กร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)  อาภา รติยานุวัฒน์ ผู้จัดการแผนกสื่อและรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)  นายนิพนธ์ จันทร์ทองใบ ผู้จัดการนิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล นายนารินทร์ วงศ์ธนาศิริกุล ผู้อำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และรัฐกิจสัมพันธ์ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง

นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า ระยองเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทั้งทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การผ่องเที่ยว และการเกษตรของประเทศ ส่งผลให้มีการขยายตัวของประชาชนตลอดจนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น จังหวัดตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของจังหวัดอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหาขยะมูลฝอย ด้วยความมุ่งมั่นและความร่วมมือของทุกภาคส่วน”โครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน พื้นที่นำร่อง จังหวัดระยอง หรือ โครงการ PPP Plastic ซึ่งได้ลุงนามความร่วมมือเมื่อวันที่ 18  ธันวาคม 2561 มีการดำเนินการและขับเคลื่อนอย่างจริงจังและต่อเนื่องเกือบ 1ปี ที่ผ่านมา ภายใต้การนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้เพื่อลดปริมาณขยะและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยครอบคลุมการบริหารจัดการแบบบูรณาการของทุกภาคส่วน รวมทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การทิ้งขยะ การลดและการคัดแยกขยะ การจัดทำระบบการแยกขยะและนำกลับมาใช้ประโยชน์ และการลดและการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single use plastic) ด้วยความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำร่อง 19แห่ง ส่วนราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และจะช่วยทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้จังหวัดระยองเป็นจังหวัดตันแบบโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนให้แก่หลายๆ พื้นที่ สามารถถ่ายทอด แบ่งปันให้แก่จังหวัดอื่น เพื่อการเรียนรู้และเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงสร้างสรรค์ อย่างเป็นระลอกคลื่นที่ขยายตัวออกไป

 นายภราดร จุลชาต ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จังหวัดระยองเป็นจังหวัดนำร่องการดำเนินโครงการ PPP Plastic ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ทุก ภาคส่วนได้ร่วมกันดำเนินการจัดการปัญหาขยะและส่งเสริมให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ได้พัฒนา ความรู้และพฤติกรรมการใช้พลาสติกอย่างรับผิดชอบ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกในทะเลไทยลง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ50 ภายในปี 2570 หรืออีก 8 ปีข้างหน้า ซึ่งคณะทำงานโครงการ PPP Plastic ได้ผนึกกำลังการทำงานจากทุกภาคส่วนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระยอง 19 องค์กรเป็นต้นแบบดำเนินการในปี 2562 เพื่อการจัดการขยะทั่วไปและขยะพลาสติกตามแนวทางของเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ การจัดทำฐานข้อมูลของการจัดกาขยะแต่ละประเภทอย่างเป็นระบบ โดยมีการรายงานผลอย่างต่อเนื่องทุกๆ 2 เดือนจาก 19 องค์กรปกครองส่วนองค์ถิ่นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการบริหารจัดการขยะในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะปริมาณของพลาสติกประเภทต่างๆจากครัวเรือนที่ยังไม่เคยมีการเก็บข้อมูลมาก่อน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถคัดแยกขยะพลาสติกสะอาดข้าระบบรีไซเคิล ตั้งแต่เดือนมกราคม – กรกฎาคม 2562 ได้ประมาณ 220 ตันซึ่งมีปริมาณการดำเนินการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมการจัดเก็บขยะรีไซเคิลข้าสู่ระบบ โดยเฉพาะถุงพลาสติกเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่หลายชุมชน เช่น ชุมชนบ้านเอื้ออาทรระยอง (วังว้า) เทศบาลตำบลเมืองแกลง ที่สามารถขยายธุรกิจของธนาคารขยะรีไซเคิล ชุมชน เรื่องการจัดเก็บพลาสติกเพิ่ม โดยสร้างรายได้เพิ่มกว่า 10,000 บาทต่อเดือน

นายสมชาย รุ่งเรือง ท้องถิ่นจังหวัดระยอง กล่าวว่า สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดระยอง สนับสนุนการดำเนินโครงการ PPP Plastic เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการขยะภายในองค์กรภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชนและภาคประชาสังคม ให้มีประสิทธิภาพ โดยนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรในการผลิตและบริโภคเกิดประโยชน์เพิ่มขึ้นมีประสิทธิภพสูงสุด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยระยะแรก ดำเนินการในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำร่องจำนวน 19 แห่ง และจะขยายผลให้ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดระยองในลำดับต่อไป  นอกจากนี้ ได้จัดให้มีโครงการประกวดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามนโยบายของกระทวงมหาดไทยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและจังหวัดระยอง เพื่อเป็นการกระตุ้นและขับเคลื่อนการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นหน่วยงานในระดับพื้นที่ ที่ใกล้ชิดประชาชน จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการประกวดการจัดการยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2562 (จำนวน 12 แห่ง) โครงการ 1 จังหวัด 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 โครงการตันแบบเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาส มหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก (จำนวน 8 แห่ง) โครงการคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่นประจำปี พศ. 2562 (จำนวน12 แห่ง)การดำเนินการเหล่านี้เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่าย ที่ช่วยกันขับเคลื่อนให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงการจัดการขยะในทุกระดับ หากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เมื่อร่วมมือกันดำเนินการความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน บนฐานของการที่ประชาชนมีความรู้และตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการเป็นผู้ใช้ทรัพยากรอย่างคุณค่าและคุ้มค่าตามโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเหล่านี้สามารถที่จะแบ่งปันและขยายไปสู่จังหวัดอื่นๆ ในอนาคตต่อไป

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน